ประเพณีทอดกฐิน ประเพณีที่ทรงคุณค่า ควรแก่การอนุรักษ์
ประเพณีทอดกฐิน เป็นหนึ่งในพิธีทางศาสนาที่ยิ่งใหญ่ในประเทศไทย ซึ่งปกติผู้คนจะทำกันในช่วงหลังจากประพณีออกพรรษา ซึ่งจะประมาณเดือนตุลาคม ถึงเดือนพฤศจิกายน
ตามความเชื่อตั้งแต่สมัยโบราณ การทำบุญกฐิน เป็นบุญใหญ่แห่งพระพุทธศาสนา เป็นบุญที่จะอยู่กับเราอย่างยั่งยืน และมีอานิสงส์แห่งผลบุญอันแรงกล้า ชีวิตของเราจะพบแต่ความสุข ความเจริญรุ่งเรือง หลังจากได้ร่วมในประเพณีทอดกฐินนี้
ประเพณีทอดกฐินของแต่ละท้องถิ่นในประเทศไทยนั้น จะมีความเหมือนและความแตกต่างกันไป ที่เหมือนกัน คือ มีจุดมุ่งหมายในการสืบทอดและบำรุงพระพุทธศาสนาเช่นเดียวกัน ในส่วนที่ต่างกัน คือ ความแตกต่างในวิถีชีวิตและด้านวัฒนธรรม ของแต่ละท้องถิ่น ที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในประเพณี เช่น อาหาร มหรสพหรือการแสดงในงาน การประดับตกแต่งองค์กฐิน การแห่องค์กฐิน เป็นต้น
ประเพณีทอดกฐินที่นำมาเสนอในโพสนี้ เป็นประเพณีทอดกฐินของทางภาคใต้ ในจังหวัดพัทลุง
ในพิธีทอดกฐินนั้น ผู้คนจะถวายจีวรแก่พระภิกษุสงฆ์ในวัด
นอกจากจีวรแล้ว ผู้คนยังทำบุญด้วยการถวายเงินให้แก่วัดอีกด้วย ในการถวายเงินนั้น ผู้คนมักจะใช้ธนบัตรมาประดับตกแต่ง โดยสิ่งนี้ที่เราเรียกว่า “ต้นไม้เงิน”
“ต้นไม้เงิน” มีลักษณะและรูปทรงที่หลากหลาย มีความสวยงามตามแต่ความคิดสร้างสรรค์ของผู้คนในแต่ละชุมชน
นอกจากนี้ ยังมีการเฉลิมฉลองพิธีทอดกฐินด้วยการแสดงรำไทยแบบอ่อนช้อน งดงาม อีกด้วย
จะมีผู้คนมารวมตัวกันที่วัดเพื่อทอดกฐินกันเป็นจำนวนมาก
เงินส่วนหนึ่งที่วัดได้รับจะนำไปใช้จ่ายเพื่อสร้างพระอุโบสถหลังใหม่
ผู้โพสคิดว่า ประเพณีทอดกฐิน เป็นประเพณีที่ทรงคุณค่า ควรแก่การอนุรักษ์และสืบทอดให้คงอยู่คู่กับสังคมไทยตลอดไป