ระดับการเรียนรู้ 6 ขั้นของทฤษฏีบลูม
Bloom's taxonomy
ทฤษฏีการเรียนรู้ของบลูม (Bloom's Taxonomy) เป็นทฤษฏีการเรียนรู้เชิงจิตวิทยาของนักจิตวิทยาการศึกษาชื่อดัง โดยผู้เขียนได้เริ่มเขียนเกี่ยวกับความรู้ด้านระดับการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยกัน 6 ระดับขั้น ซึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายของแวดวงครูมาอย่างยาวนาน และมีการนำไปประยุกต์ใช้ในชั้นเรียนเพื่อให้เกิดผลลัพธ์แก่ผู้เรียน
โดยผู้เขียนขอเกริ่นนำไปเกี่ยวกับงานของครูหรืองานที่ต้องมีการชี้วัดและประเมินผล ที่ทุกท่าต้องรู้จักที่เรียกว่า KPI (Key Performance Indicator) ซึ่งค่าทั้งสาม หากกล่าวโดยง่าย ก็คือ แบบแผนกระบวนวิธีการจัดการในชั้นเรียนตามลำดับดังนี้ เป้าหมายในการเรียน กระบวนการจัดการ และผลชี้วัดที่เกิดขึ้น โดยในทฤษฏีของบลูมจะกล่าวในส่วนของการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เกิดขึ้นจากกระบวนการจัดการการเรียน ดังนี้
ทฤษฏีของบลูม แบ่งออกเป็น 6 ลำดับขั้น ขอกล่าวและยกตัวอย่างโดยง่ายเพื่อให้สามารถติดตามเรื่องราวและติดตามได้
1. ขั้นตอนการจดจำ (Remember) : โดยขั้นตอนนี้สามารถเกิดขึ้นได้ ผ่านระบบประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของผู้เรียน ไม่ว่าจะเป็นการฟัง พูดอ่าน และเขียน แล้วแต่ขีดความสามารถในการจดจำของผู้เรียนแต่ละคน เช่น หากคุณครูเขียน 1+1 = 2 นักเรียนจะเริ่มจดจำว่า เลข 1 และ เลข 1 เมื่อนำมาบวกกันจะเป็น เลข 2 เป็นต้น
2. ขั้นตอนการเข้าใจ (Understand) : ในการทำความรู้ ความเข้าใจ เช่น เมื่อคุณครูทำการยกตัวอย่าง โดยนำสิ่งของมาให้นักเรียนเห็นภาพจริง เช่น แอปเปิ้ล 1 ผล เมื่อนำมารวมกับแอปเปิ้ลอีก 1 ผล จะได้แอปเปิ้ล 2 ผล เป็นต้น นักเรียนจะเริ่มเข้าใจมากขึ้นกว่าการจดจำตัวเลขในขั้นตอนแรก
3. ขั้นตอนการนำไปใช้ (Apply) : ผู้เรียนสามารถนำเอาความรู้ไปประยุกต์ใช้ด้วยตนเองได้ เช่น นักเรียนหยิบเอากล้วยมา 1 ผล รวมกับกล้วยอีก 1 ผล แล้วบอกว่ารวมกันเป็น กล้วย 2 ผล เป็นต้น
4. ขั้นตอนการวิเคราะห์ผล (Analysis) : เมื่อผู้เรียนสามารถผ่านกระบวนการเรียนรู้เริ่มต้น ก็สามารถนำเข้าสู่การวิเคราะห์ผล เช่น การอ่านโจทย์ปัญหาที่ต้องติดตามเรื่องราว แล้วคิดวิเคราะห์เพื่อติดตามผล หาคำตอบวิเคราะห์ ดังนี้ คุณพ่อให้ดินสอ 1 ด้าม คุณแม่ให้สมุด 1 เล่ม รวมมีเครื่องเขียนทั้งหมด 2 ชิ้น เป็นต้น
5. ขั้นตอนการประเมินค่า (Evaluate) : เมื่อสามารถวิเคราะ์ผลได้ ก็ต้องมีในส่วนที่ประเมินผล เช่น การวิเคราะห์ความถูกผิดของข้อมูลที่ได้รับ หรือหากพูดให้ง่ายกว่านั้น ก็คือ ตรวจสอบความถูกต้องของคำตอบได้ เช่น ขั้นตอนการตรวจสสอบคำตอบ เป็นต้น
6. ขั้นตอนการสังเคราะห์ (Create) : ขั้นตอนขั้นสูงสุดของการเรียนรู้ คือ ขั้นตอนการคิดค้นสิ่้งใหม่ หรือ ต่อยอดความรู้เดิม หากพูดถึงขั้นตอนเกี่ยวกับผู้เรียน ก็คล้ายๆกับการทำโปรเจคจบของนักเรียนที่ต้องคิด และสร้างด้วยตนเอง เพื่อประมวลความรู้ในขั้นตอนทั้ง 6 ขั้นตอน
โดยวิธีการคิดของทฤษฏีของบลูมนั้น หากจะนำมาประยุกต์ใช้ ก็สามารถทำตามลำดับขั้น หรือ เริ่มจากยอดปีรามิด ขั้นตอนใดก่อนก็ได้ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในวิธีการที่แตกต่าง ตามความเหมาะสมของการเรียนรู้ของผู้เรียนได้
ขอบคุณรูปภาพจาก : ช่องยูทูปสถานีการเรียนรู้
รูปภาพ : ช่องยูทูปสถานีการเรียนรู้