แชร์เทคนิคเอาชีวิตรอดช่วงสิ้นเดือน
สำหรับใครที่ไม่ได้วางแผนการใช้เงินให้ดี มักจะประสบกับปัญหาเงินไม่พอใช้ในช่วงสิ้นเดือน ซึ่งเทคนิคเอาชีวิตรอดในช่วงสิ้นเดือนจะช่วยให้ทุกคนสามารถผ่านปัญหานี้ไปได้
หลายคนคงเคยได้ยินประโยคที่ว่า “สิ้นเดือนเหมือนสิ้นใจ” มากันบ้าง ซึ่งประโยคที่อาจฟังแล้วดูตลกนี้ได้มีความเศร้าปะปนอยู่ด้วย เพราะได้สะท้อนให้เห็นว่าในช่วงสิ้นเดือนของใครหลาย ๆ คน มักจะประสบกับปัญหาทางด้านเงิน พยายามใช้เงินอย่างรอบคอบเพื่อให้เหลือจนถึงวันเงินเดือนออก ซึ่งปัญหาเหล่านี้ก็จะวนมาใหม่อยู่เรื่อย ๆ ในทุก ๆ เดือน ในบทความนี้จะมาแชร์เทคนิคการบริหารเงินเพื่อเอาชีวิตรอดในช่วงสิ้นเดือน และหลีกหนีจากปัญหาสิ้นเดือนเหมือนสิ้นใจที่ใคร ๆ ชอบพูดกัน
เมื่อรายได้หดหาย เงินในกระเป๋ามีจำกัด การใช้จ่ายย่อมต้องรัดกุม แต่การควบคุมค่าใช้จ่ายอาจเป็นเรื่องยากสำหรับบางคน การวางแผนการใช้เงินจึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้เราผ่านช่วงสิ้นเดือนที่ยากลำบากนี้ไปได้
แผนการใช้เงินเปรียบเสมือนงบประมาณส่วนตัวที่ช่วยให้เราติดตามและควบคุมการใช้จ่ายในแต่ละช่วงเวลา โดยส่วนใหญ่จะทำตามช่วงเวลาของรายรับ เช่น รายเดือน รายสัปดาห์
การทำแผนการใช้เงินอาจดูเป็นเรื่องยุ่งยาก แต่ในสถานการณ์ที่รายได้จำกัด แผนการใช้เงินจะกลายเป็นตัวช่วยสำคัญที่ช่วยให้เราบริหารจัดการเงินจนถึงช่วงสิ้นเดือนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เคล็ดลับการบริหารเงินเพื่อเอาชีวิตรอดในช่วงสิ้นเดือน
การทำแผนการใช้เงินเป็นเคล็ดลับหนึ่งในการบริหารเงินหรือรายรับที่ได้ในแต่ละเดือนให้สามารถเก็บออมและใช้จ่ายได้อย่างเหมาะสม ส่งผลให้สามารถดำรงชีวิตได้ตามปกติแม้จะอยู่ในช่วงสิ้นเดือนก็ตาม โดยในบทความนี้ได้รวบรวมเคล็ดลับการทำแผนการใช้เงินเพื่อบริหารเงินที่ได้รับในแต่ละเดือนได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งจะมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ทำบัญชีรายรับรายจ่าย
เคล็ดลับแรกในการบริหารเงินคือ การทำบัญชีรายรับรายจ่าย เป็นวิธีที่เบสิคและส่วนใหญ่ได้รับการปลูกฝังมาตั้งแต่เด็ก ๆ ว่า เราควรทำบันทึกรายรับรายจ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน เพื่อจะได้สามารถตรวจสอบพฤติกรรมการใช้เงินของเราได้ในแต่ละวัน และควบคุมการใช้เงินที่เกินเลยไปจนไปกระทบกับเงินส่วนอื่น ๆ ที่ได้มีการแบ่งเอาไว้ เชื่อหรือไม่ว่าวิธีที่ดูง่าย ๆ แบบนี้ แต่กลับทำให้เราสามารถบริหารเงินจนมีชีวิตรอดในช่วงสิ้นเดือนได้
โดยการทำบัญชีรายรับรายจ่ายในปัจจุบันนั้นจะง่ายและสะดวกสบายกว่าเมื่อก่อนมาก ที่จะต้องมานั่งจดรายรับรายจ่ายในแต่ละวันบนสมุดและคำนวณเงินส่วนที่เหลือในแต่ละวันเพื่อทบไว้เป็นเงินเก็บออม ซึ่งเครื่องมือที่นิยมใช้บันทึกรายรับรายจ่ายในปัจจุบันก็จะมีตั้งแต่แอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือหรือบางคนอาจจะถนัดเป็นการใช้โปรแกรมอย่าง Excel ในการบันทึกข้อมูลก็สามารถเลือกใช้ได้ตามที่ถนัด
เมื่อมีการจดบันทึกรายรับรายจ่ายไปเรื่อย ๆ จนเป็นนิสัยก็จะทำให้เรารู้พฤติกรรมการใช้เงินของตัวเองและสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด ทีนี้ก็จะสามารถบริหารการใช้เงินในแต่ละเดือนได้จนถึงช่วงสิ้นเดือนแล้ว
2. เริ่มต้นออมเงินอย่างเป็นระบบ
เคล็ดลับถัดมาที่ช่วยในการบริหารเงินคือ การเริ่มต้นออมเงินอย่างเป็นระบบ ที่เปรียบเสมือนการสร้างรากฐานที่มั่นคงสู่ความมั่งคั่งทางการเงิน ช่วยให้เรามีเงินสำรองเผื่อไว้ใช่สำหรับเหตุการณ์ฉุกเฉิน มีเงินใช้จนถึงสิ้นเดือน และใช้ชีวิตได้อย่างสบายใจ
โดยขั้นตอนสู่การออมเงินอย่างเป็นระบบจะมีอยู่ด้วยกัน 5 ขั้นตอนดังนี้
- ตั้งเป้าหมาย: ต้องกำหนดเป้าหมายในการออมเงินให้ชัดเจน ว่าต้องการออมเงินเพื่ออะไรหรือต้องการแบ่งสัดส่วนของค่าใช้จ่ายต่าง ๆ และเงินออมเท่าไรบ้าง เพื่อให้มีเงินใช้จ่ายได้จนถึงช่วงสิ้นเดือนและมีเงินเก็บสำรองเผื่อในกรณีฉุกเฉิน อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นให้มีวินัยทางการเงินที่ดีอีกด้วย
- วางแผนการออมเงิน: กำหนดจำนวนเงินที่ต้องการออมในแต่ละเดือน เพื่อหาวิธีเก็บเงินอย่างสม่ำเสมอเช่น การออมแบบหักเงินเดือนเข้าบัญชีออมทรัพย์ การโอนเงินไปยังฝากยังบัญชีฝากประจำ หรือการตั้งเป้าเก็บเงินรายวันเพื่อให้มีเงินสำรองไว้ใช้ในช่วงสิ้นเดือน เป็นต้น
- เริ่มต้นออมเงิน: ลงมือออมเงินตามแผนที่วางไว้ โดยจะเริ่มต้นด้วยจำนวนเงินน้อย ๆ ก็ได้ แต่สิ่งที่สำคัญคือวินัยและความสม่ำเสมอในการออมเงิน
- ติดตามผลลัพธ์จากการออมเงิน: ตรวจสอบผลการออมเงินเป็นประจำ และคอยปรับแผนการออมให้เหมาะสมตามความจำเป็น หรือเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้อย่างมีเงินใช้จ่ายจนถึงสิ้นเดือนเป็นต้น
- หาวิธีเพิ่มรายได้: การตั้งเป้าหมายเพื่อการออมเงินอย่างเป็นระบบ ถ้าหากพบว่ามีรายจ่ายต่อเดือนที่ค่อนข้างสูงอย่างที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็จำเป็นจะต้องหารายได้เพิ่มเติมเพื่อให้มีเงินออมหรือค่าใช้จ่ายที่เพียงพอในแต่ละเดือน
3. ลดการใช้เงินนอกบ้าน
อีกหนึ่งเคล็ดลับดี ๆ ที่ช่วยในการบริหารเงินคือ การลดการใช้เงินนอกบ้าน ในยุคที่เศรษฐกิจไม่ดีอีกทั้งเรื่องของเงินเฟ้อยังส่งผลต่อค่าครองชีพที่พุ่งสูงขึ้น การประกอบอาหารเพื่อรับประทานที่บ้านก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดค่าใช้จ่ายจากการรับประทานอาหารนอกบ้านได้ ไม่ว่าจะเป็นช่วงสิ้นเดือนหรือตลอดทั้งเดือนก็ตาม
4. เปิดบัญชีที่คุ้มค่า
การเลือกเปิดบัญชีที่คุ้มค่าก็เป็นอีกหนึ่งเคล็ดลับที่น่าสนใจสำหรับการบริหารเงิน โดยเลือกเปิดบัญชีฝากประจำหรือแบบสะสมทรัพย์ที่ได้อัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าการออมเงินในบัญชีออมทรัพย์ทั่วไป อีกทั้งการใช้บัญชีแบบฝากประจำยังช่วยสร้างวินัยในการออมที่ดีให้แก่เราอีกด้วย
ซึ่งการเลือกเปิดบัญชีควรเลือกประเภทที่เหมาะสมกับเป้าหมายในการออมเงิน โดยรายละเอียดประเภทของบัญชีจะมีดังนี้
- บัญชีออมทรัพย์ดอกเบี้ยสูง: เหมาะสำหรับการออมเงินระยะสั้น ซึ่งดอกเบี้ยจะสูงกว่าบัญชีออมทรัพย์ทั่วไป
- บัญชีเงินฝากประจำ: เหมาะสำหรับการเก็บเงินระยะยาว ดอกเบี้ยจะสูงกว่าบัญชีออมทรัพย์แต่จะถอนเงินได้ยากกว่า
- บัญชีออมทรัพย์ดิจิทัล: สามารถสมัครและใช้งานได้ผ่านทางแอปพลิเคชันมือถือ ซึ่งมักจะมีโปรโมชันและสิทธิพิเศษมากมายสำหรับผู้ใช้งานแอปพลิเคชัน
5. หยุดสร้างหนี้ไม่จำเป็น
เคล็ดลับสุดท้ายในการบริหารเงินคือ หยุดสร้างหนี้ที่ไม่จำเป็น การมีบัตรเครดิตคือปัญหาที่สร้างหนี้ให้แก่ผู้ใช้งานโดยที่ไม่รู้ตัว จนบางคนอาจมีปัญหาหนี้สินโดยไม่รู้ตัวจากการขาดความรอบคอบในการใช้บัตรเครดิตจนเกินกำลังผ่อนชำระของตัวเอง ซึ่งการวางแผนทางการเงินที่ดีควบคู่ไปกับการใช้บัตรเครดิตกับสินค้าหรือบริการที่ฟุ่มเฟือยจะทำให้ลดการสร้างหนี้ที่ไม่จำเป็นได้ ส่งผลให้มีเงินเก็บและมีเงินเพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายในช่วงสิ้นเดือน
สรุปการบริหารเงินในช่วงสิ้นเดือน
จะเห็นได้ว่าปัญหาการเงินช่วงสิ้นเดือนนั้น มักเกิดจากการใช้จ่ายไม่รอบคอบในช่วงต้นเดือนเลยส่งผลกระทบในช่วงสิ้นเดือน ซึ่งการใช้เคล็ดลับต่าง ๆ ในการบริหารเงินที่ได้รับในแต่ละเดือนรวมถึงการแบ่งเงินบางส่วนไว้ในเผื่อในกรณีฉุกเฉินจะช่วยให้เราสามารถแบ่งใช้เงินตลอดทั้งเดือนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สำหรับคนที่เงินเดือนออกสิ้นเดือนแล้วนอกเหนือจากการแบ่งส่วนการใช้เงินในแต่ละเดือนและการสร้างนิสัยการออมเงินแล้วอีกหนึ่งสิ่งที่ควรทำคือ การลดหนี้สินที่ไม่จำเป็น ที่นอกจากจะช่วยให้มีเงินเก็บมากยิ่งขึ้นแล้วยังช่วยลดความเครียดจากปัญหาหนี้สินอีกด้วย