ปริศนา..ที่ยังหาคำตอบไม่ได้ Globster กล็อบสเตอร์ มวลอินทรีย์ลึกลับที่ไม่สามารถอธิบายได้ว่ามันคืออะไรกันแน่
🐺Globster กล็อบ สเตอร์ (Globster) เป็นมวลอินทรีย์ลึกลับที่ไม่สามารถอธิบายได้ว่ามันคืออะไรกันแน่
กล็อบสเตอร์ (อังกฤษ: Globster) หรือ บล็อบ (Blob) เป็นซากวัตถุซึ่งถูกซัดขึ้นมาตามชายฝั่งของมหาสมุทรหรือแหล่งน้ำอื่น ยากที่จะระบุประเภทได้ว่าเป็นของสัตว์ชนิดใด คำนี้ถูกใช้เป็นครั้งแรกโดยอีวาน ที. แซนเดอสัน ในปี ค.ศ. 1962 เพื่อใช้เรียกซากลึกลับที่เกยฝั่งทะเลด้านตะวันตกของรัฐแทสเมเนียในปี ค.ศ. 1960 ซึ่งซากนี้ ไม่มีดวงตา ไม่มีส่วนหัว และโครงสร้างของกระดูกไม่ชัดเจน (แต่บางคนบอกว่ามีตา มีหัวและโครงหมด) จุดเด่นมีขน” และ “มีเส้นใย” หนังเหนียวมากจนเฉือนแทบไม่เข้า และเมื่อนำเนื้อเยื่อไปตรวจสอบพบว่ามันประกอบด้วยคอลาเจนเป็นส่วนใหญ่
ซึ่งผู้เชี่ยวชาญมักจะตั้งมันว่า “กล็อบสเตอร์” (Globster) เอาไว้ก่อน
มันมักปรากฏตัวออกมาโดยการเกยตื้นตามชายทะเลหรือมหาสมุทร โดยลักษณะของมันจะเป็นก้อนๆ ไม่มีตา,
ไม่มีหัว และโครงสร้างของกระดูกไม่ชัดเจน
(แต่บางคนบอกว่ามีตา,มีหัวและโครงหมด) จุดเด่นมีขน” และ “มีเส้นใย”
หนังเหนียวมากจนเฉือนแทบไม่เข้า และเมื่อนำเนื้อเยื่อไปตรวจสอบพบว่ามันประกอบด้วยคอลาเจนเป็นส่วนใหญ่
ซึ่งแต่ละชิ้นมีขนาดใหญ่โตมากๆ น้ำหนักเป็นตัน และส่งกลิ่นเหม็นเน่า บางชิ้นพบว่ามีรอยการกัดกินของปลาฉลามขนาดใหญ่
หรือรอยฉีดขาดจากการต่อสู้กับปลาหมึกยักษ์ จากการวิเคราะห์เนื้อเยื่อนักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถตอบได้ว่า มันเป็นสัตว์อะไร
มีคนให้สันนิษฐานว่าเปลวปลาหมึกยักษ์นั้นอาจเป็นปลาหมึกยักษ์ และมันเปลวของปลาวาฬนั้น ปรากฏว่ามันไม่ใช้ปลาหมึก
และกระนั้นเคยมีคนทดลองมันโดยเปรียบเทียบเนื้อเยื่อของปลาหมึกและเนื้อเยื่อ ของเปลวปลาวาฬ พบว่าการเรียงตัวของคอลลาเจนนั้นต่างกันโดยสิ้นเชิงสำหรับกรณี
กล็อบสเตอร์ที่ดังๆ ก็เช่น
St. Augustine Monster (1896),
Dunk Island Carcass (1948),
Melbourne-Hobart Carcass (1958),Tasmanian Globster (1960),
New Zealand Globster (1968),
Tasmanian Globster 2 (1970) เป็นต้น
Bridgewater Triangle
👉ซากซึ่งถูกซัดเกยฝั่งใกล้เมืองเซนต์ออกุสติน ฟลอริด้า ในปี ค.ศ. 1896
ลักษณะของกล็อบสเตอร์มักจะผิดจากลักษณะที่คนทั่วไปคุ้นเคยมากและมักทำให้เป็นข้อถกเถียงแม้ว่านักวิทยาศาสตร์จะสามารถระบุประเภทได้แล้ว กล็อบสเตอร์บางซากจะมีครีบ หนวดระยาง หรือกระดูกที่ทำให้สามารถคาดเดาประเภทได้ แต่บางครั้งก็ไม่มีลักษณะซึ่งไม่สามารถระบุได้เลย กล็อบสเตอร์มักถูกเชื่อมโยงเข้ากับสัตว์ประหลาดในมหาสมุทรจึงเป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาสัตว์ลึกลับสนใจกันมาก
กล็อบสเตอร์จำนวนมากได้รับการระบุว่าเป็นซากของหมึกยักษ์ แต่ต่อมาก็ได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นซากของวาฬหรือปลาฉลามขนาดใหญ่ และบางครั้งก็เป็นชั้นไขมันที่หลุดออกจากซากของวาฬที่กำลังเน่า บางซากก็ได้รับการระบุว่าเป็นซากของเพลสิโอซอร์ที่ต่อมาก็กลับเป็นซากของปลาฉลามอาบแดด แต่ก็มีกล็อบสเตอร์ที่ไม่สามารถระบุประเภทได้ต่อมาถึงปัจจุบันอยู่ด้วย ซึ่งกล็อบสเตอร์บางซากก็ได้เน่าเปื่อยจนไม่อาจพิสูจน์หรือใช้เป็นหลักฐานในการพบสัตว์สายพันธุ์ใหม่ได้
นักวิทยาศาสตร์ชาวแคนาดาได้ทำการตรวจสอบดีเอ็นเอของนิวฟาวแลนด์บล็อบและสามารถระบุได้ว่าเป็นเนื้อเยื่อของวาฬสเปิร์ม ซึ่งรายงานการวิจัยได้ระบุถึงความใกล้เคียงกันของนิวฟาวแลนด์บล็อบและกล็อบสเตอร์อื่นๆ ทำให้เชื่อได้ว่าน่าจะมีต้นกำเนิดเดียวกัน
กล็อบสเตอร์ซากแรกที่มีรายงานการพบอย่างละเอียดก็คือ สัตว์ประหลาดแห่งเซนต์ออกุสติน ซึ่งพบที่ชายฝั่งใกล้กับเมืองเซนต์ออกุสติน รัฐฟลอริดา ในปีค.ศ. 1896 โดยเมื่อแรกพบนั้นเชื่อว่าเป็นซากของหมึกยักษ์ แต่ต่อมาสามารถยืนยันได้แน่ชัดว่าเป็นซากของวาฬ ปัจจุบันยังมีตัวอย่างเนื้อเยื่อเก็บรักษาไว้ที่สถาบันสมิธโซเนียน
อ้างอิงจาก:th.m.wikipedia.org/wiki/, devilmanman.blogspot