ประวัติความเป็นมาของโหมะน์ฮี่นก้า หรือ หม่อฮิงคา ขนมจีนพม่าเลิศรสประจำชาติพม่า
ประวัติความเป็นมาของโหมะน์ฮี่นก้า หรือ หม่อฮิงคา ขนมจีนพม่าเลิศรสประจำชาติพม่า
ประวัติความเป็นมาของโหมะน์ฮี่นก้า หรือ หม่อฮิงคา ขนมจีนพม่าเลิศรสประจำชาติพม่า
โหมะน์ฮี่นก้า หรือ หม่อฮิงคา (พม่า: မုန့်ဟင်းခါး, เอ็มแอลซีทีเอส: mun.hang:hka:, ออกเสียง: [mo̰ʊ̯ɰ̃.hɪ́ɰ̃.ɡá]) เป็นขนมจีนแบบพม่า กินกับน้ำยาปลาซึ่งเป็นอาหารประจำชาติของพม่า
สามารถหารับประทานได้ทั่วประเทศ นิยมรับประทานเป็นอาหารเช้าในเมืองใหญ่มีขายเป็นอาหารริมถนน นิยมกินเป็นอาหารเช้า ในปัจจุบันมีขายในรูปกึ่งสำเร็จรูป
โหมะน์ฮี่นก้า
โหมะน์ฮี่นก้าและเครื่องเครา
มื้ออาหารเช้า
แหล่งกำเนิดพม่า
ส่วนผสมหลัก
ปลาดุก ขนมจีน น้ำปลา กะปิ ข่า หยวกกล้วย ตะไคร้ หัวหอม กระเทียม แป้งถั่วหัวช้าง
ตำราอาหาร: โหมะน์ฮี่นก้า
สื่อ: โหมะน์ฮี่นก้า
ประวัติ
มีการสันนิษฐานว่าโหมะน์ฮี่นก้าน่าจะเกิดขึ้นในช่วงปยูของพม่าซึ่งได้รับอิทธิพลจากจีนและอินเดีย โหมะน์ฮี่นก้าเริ่มเป็นที่มีอิทธิพลในอาหารไทย
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แป้งราคาถูกจากสหรัฐอเมริกาได้เข้ามาสู่ตลาดไทย และขณะเดียวกับที่สหรัฐไทยเดิมล่มสลายลง กองทัพพายัพของไทยได้กลับมาจากการรบที่ประเทศพม่า ทหารไทยได้คุ้นเคยกับอาหารพม่ามาก่อนทำให้ได้มีการคิดดัดแปลงรวมกับขนมจีนน้ำเงี้ยวให้มีรสชาติคล้ายโหมะน์ฮี่นก้าเข้าไปด้วย
การปรุง
โหมะน์ฮี่นก้าในแต่ละพื้นที่ของพม่ามีความแตกต่างกัน เช่นในยะไข่จะใส่กะปิมาก น้ำน้อย แต่สูตรมาตรฐานมาจากพม่าภาคใต้ซึ่งเป็นบริเวณที่หาปลาสดได้ง่าย เครื่องปรุงหลักได้แก่แป้งถั่วหัวช้างหรือข้าวคั่วบด กระเทียม หัวหอม ตะไคร้ หยวกกล้วย ขิง กะปิ น้ำปลา และปลาดุก
ต้มรวมกันให้เดือด กินกับขนมจีน ปรุงรสเพิ่มด้วยน้ำปลา มะนาวหั่น หอมเจียว ผักชี พริก และของทอดกรอบ เช่น ถั่วหัวช้าง (ပဲကြော်, pè gyaw), ถั่วเขียว (ဘယာကြော်, baya gyaw) หรือปาท่องโก๋หั่น (အီကြာကွေး) หรืออาจเป็นไข่ต้ม
อ้างอิงจาก: th.m.wikipedia.org/wiki/,Myanmar Food, Mohingar