ศิลปการเล่นเงา (Shadow Play) หนึ่งเดียวในภาคใต้
ศิลปการเล่นเงา (Shadow Play) หนึ่งเดียวในภาคใต้ที่สืบต่อ กันมาช้านาน
แม้ว่าปัจจุบัน การเล่นหนังตะลุงจะเสื่อมความนิยมของคนดูลงไปบ้าง แต่ก็ยังมีการเล่นหนังตะลุงอยู่ตามงานเทศกาลต่าง ๆ ศิลปการเล่นหนังตะลุงคือ การเล่าเรื่อง ผสมผสานกับเงาของรูปหนัง ตะลุงผ่านผ้าขาวบางประกอบดนตรีหนังตะลุงเป็นการละเล่นพื้นเมืองที่สำคัญของภาคใต้ ตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน
และได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง นอกจากจะให้ความบันเทิงแล้ว ยังได้สอดแทรกการศึกษา คติธรรม จริยธรรม จากเหตุการณ์ข่าวสาร การเมือง ยังมีการแต่งเรื่อง ผูกคำกลอน คิดบทสนทนาสดๆ อยู่ตลอดเวลา
โดยนายหนังจะแสดงความสามารถที่ถือเป็นอัจฉริยะส่วนตัวของนายหนังบวกกับการฝึกฝนจนมีความชำนาญ จึงสามารถแสดงหนังตะลุงให้ประทับใจผู้ชมได้ ความเป็นมาของหนังตะลุงเป็นสิ่งที่ไม่มีหลักฐานชัดเจน จากหลักฐานที่มีการบันทึก หนังตะลุงเป็นการละเล่นที่เพิ่งมีการประดิษฐ์ขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยชาวบ้านที่บ้านควนพร้าว จังหวัดพัทลุง ได้เลียนแบบมาจากหนังของชวาเปลี่ยนเป็นการแสดงเรื่องไทยๆ
และมีการแสดงถวายหน้าพระที่นั่งเป็นครั้งแรกในสมัยรัชการที่ 5 ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ก็เป็นที่รู้จักกันในนามของหนังพัทลุงหรือหนังตะลุง