99% ไม่มีใครรู้ที่ประเทศไทย "คาเวียร์สีดำ" เมนูสุดแพง ไม่ได้มาจากทะเล แต่มาจากยอดดอยแห่งนี้ "ดอยดำ อำเภอเวียงแหง"
คาเวียร์สีดำ
ไข่ปลา “คาเวียร์” ถูกจัดว่าเป็นหนึ่งในอาหารที่แพงที่สุดในโลก และน้อยคนนักที่จะรู้ว่าไข่ปลาคาเวียร์นั้นมาจากปลาอะไร คาเวียร์เป็นคำที่มาจากมาจาภาษา เปอร์เซีย ซึ่งมีความหมายว่า “ไข่ปลาที่ปรุงรส" ประเภทของไข่คาเวียร์จะมีความหลายหลาย ตามชนิดและสายพันธุ์ของไข่ปลาที่นำมาทำ ซึ่งหลักๆ จะเป็นปลาสเตอร์เจียน
วัฒนธรรมการรับประทานไข่คาเวียร์เริ่มต้นขึ้นที่ประเทศรัสเซีย ซึ่งเป็นประเทศต้นกำเนิดของไข่คาเวียร์ของโลก เริ่มต้นรับประทานกันในราชวงศ์ มหาเศรษฐีเพราะเชื่อว่าเป็นสิ่งมงคล ต่อมาเริ่มแพร่ไปในราชวงศ์ในประเทศอังกฤษในรูปแบบ ของขวัญ เครื่องบรรณาการและขยายต่อไปในแถบอเมริกา และเอเชีย แหล่งผลิตไข่คาเวียร์หลักๆ ของโลกในปัจจุบัน มีเพียงไม่กี่ประเทศที่สามารถผลิตคาเวียร์ได้ เพราะปลาสเตอร์เจี้ยนเป็นปลาที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษทั้งเรื่องของภูมิอากาศ และอุณภูมิน้ำ ซึ่งปัจจุบันในแหล่งธรรมชาติปลาชนิดนี้ถูกจัดว่าเป็นสัตว์ที่ใกล้ศูนย์พันธุ์เต็มที
ด้วยสายพระเนตรอันยาวไกล
ต้องเล่าย้อนไปว่า ประเทศไทยได้มีการเพาะเลี้ยงปลาสเตอร์เจียนในประเทศไทย ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อปี 2548 สมเด็จพระนางเจ้า สิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 มีพระราชดำริ ให้กรมประมงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการหาแนวทางเลี้ยงปลาสเตอร์เจียนบนพื้นที่สูง ภายในโครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ ตามพระราชดำริ ดอยดำ อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนและชาวเขามีอาชีพเลี้ยงสัตว์น้ำ ที่เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศบนเขาที่หนาวเย็น โดยการเลี้ยงใช้เวลา 8 ปี ถึงเริ่มมีผลผลิต (ไข่ปลา) ส่วนวิธีเลี้ยงมีข้อจำกัดในเรื่องของอุณหภูมิน้ำเท่านั้น เพราะปลาต้องอยู่ในน้ำอุณหภูมิประมาณ 12-24 องศาเซลเซียส คาดว่าอีก 3-4 ปีจะมีพ่อแม่พันธุ์พร้อมให้ลูกรุ่น 1 ได้ ปัจจุบันไข่ปลาคาเวียร์ ดอยดำ จะจำหน่ายผ่านมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ มีขนาด 25, 50 และ 100 กรัม (มีจำหน่ายตามฤดูกาลของผลผลิต)
โครงการในพระราชดำริ บ้านเล็กในป่าใหญ่
เป็นเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง ครอบคลุมพื้นที่ 16,850 ไร่ ภูมิประเทศ เป็นภูเขาสลับหุบห้วย สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางระหว่าง 1,200-1,300 เมตร จุดสูงสุดอยู่ที่ยอดดอยดำ มีอุณหภูมิหนาวเย็นตลอดทั้งปี เฉลี่ยประมาณ 19 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝน 1,854 มิลลิเมตรต่อปี ห่างจากจังหวัดเชียงใหม่ประมาณ 170 กิโลเมตร มีแหล่งน้ำที่สามารถใช้พัฒนาเพื่ออุปโภคบริโภคของเกษตรกรจากห้วย สาขาจำนวน 5 ห้วย และจากลำน้ำแม่หาด ซึ่งเป็นสายหลักไหลผ่านตอนกลางของพื้นที่โครงการ จึงเหมาะสมสำหรับการเพาะพันธ์ุปลาสเตอเจียน
นอกจากปลาสเตอเจียนแล้ว ที่นี่ก็ยังมีการเพาะเลี้ยงปลาเรนโบว์เทราต์อีกด้วย
สำหรับปลาเรนโบว์เทราต์นั้น ได้นำเข้ามาเลี้ยงในประเทศไทยเมื่อปี 2512 ปัจจุบันสามารถเลี้ยงและขยายพันธุ์ได้ในประเทศไทย ซึ่งในโครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ตามพระราชดำริดอยดำ ประสบผลสำเร็จสามารถวางไข่ได้ดี เจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 7-8 เดือน ก็สามารถนำไปประกอบเป็นอาหารได้ และสามารถเลี้ยงได้ตลอดทั้งปี ขณะที่ต่างประเทศต้องใช้เวลาเลี้ยงนานถึง 1 ปีครึ่ง ปลาเรนโบว์เทราต์เป็นปลาน้ำจืดที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 สูงมากกว่าปลาน้ำจืดชนิดอื่น และอาจจะมากกว่าปลาทะเลหลายชนิด เป็นกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัวสายยาวซึ่งปกติจะพบในพืชและสัตว์บางชนิด แต่คนเราไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นมาเองได้ จึงเป็นกรดไขมันที่มีความจำเป็นต่อการบริโภค เป็นปลาที่มีคุณภาพทั้งความแน่น สะอาด รสหวานนิ่ม มีก้างไม่มาก ปรุงเป็นอาหารได้หลากหลายชนิด
และเนื่องจากอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี ผู้ที่ได้ขึ้นมาเที่ยวชมธรรมชาติของดอยดำแห่งนี้ ก็จะได้สัมผัสกับอากาศที่เย็นสบาย และชมความสวยงามของใบเมเปิลเปลี่ยนสี
สวยงามมาก
เมเปิลเปลี่ยนสีในฤดูหนาว
โอกาสหน้า จะพาไปเที่ยวชมธรรมชาติในอำเภอเวียงแหง อีกนะคะ...โปรดติดตามกันด้วยค่ะ....
อ้างอิงจาก: โครงการในพระราชดำริบ้านเล็กในป่าใหญ่