รู้หรือไม่ ชาวเซียปัสในเม็กซิโกดื่มโค้กแทนน้ำเปล่า
ใครเห็นกระทู้นี้คงมีเอะใจกันบ้างว่าทำไมชาวเซียปัสถึงได้ดื่มโค้กแทนน้ำเปล่า
คงไม่มีใครในโลกที่ดื่มโค้ก หรือ โคคา - โคล่า ( Coca - Cola ) มากไปกว่า 'ชาวเซียปัส' รัฐทางตอนใต้สุดและยากจนที่สุดของเม็กซิโกแล้วล่ะ
จากการศึกษาในปี 2019 โดยศูนย์วิจัยหลายสาขาวิชาชีพเชียปัสและชายแดนใต้ ( Cimsur ) ผู้ชาย ผู้หญิงและเด็กทุกคนในเซียปัส ดื่มน้ำอัดลมชนิดที่เฉลี่ย 285 - 3,250 มิลลิลิตรต่อปี คิดเป็นเกือบ 16 ลิตรต่อคนต่อสัปดาห์ หรือราว 2.2 ลิตรต่อวัน
ถ้าอ้างอิงข้อมูลจากหน่วยงานความปลอดภัยด้านอาหารแห่งสหภาพยุโรป ( European Food Safety Authorit : EFSA ) คนเราควรดื่มของเหลวเฉลี่ยแล้วราวๆ วันละ 2 ลิตร ที่กล่าวว่าเป็นของเหลว เพราะสิ่งที่ดื่มนี้สามารถเป็นได้ทั้งน้ำเปล่า หรือแม้กระทั้งน้ำหวานในชิ้นผลไม้ก็ได้
และคนเซียปัสก็เลือกดื่ม 'โคคา - โคล่า' ที่เปี่ยมไปด้วยน้ำตาลและคาเฟอีนเป็นดั่ง 'น้ำดื่ม' ในหนึ่งวัน!!
การศึกษาของ Cimsur พบว่า คนทั่วโลกดื่มน้ำอัดลมเฉลี่ยอยู่ที่ 25 ลิตร ซึ่งเมื่อเทียบกับปริมาณโคล่าที่คนเซียปัสดื่มแล้ว คิดเป็นเพียง 3 เปอร์เซ็นเท่านั้น พูดง่ายๆ คือในขณะที่คนทั่วโลก 'ดื่ม' แต่คนเซียปัสเหมือน 'สูบ' ฌคล่าอย่างไรอย่างนั้น
มาร์กอส อารานา (Marcos Arana ) นักวิจัยจากสถาบันวิทยาศาสตร์การแพทย์และโภชนาการแห่งชาติ อธิบายว่าเซียปัสเป็น 'ศูนย์กลาง' ของการบริโภคน้ำอัดลมมากที่สุดในเม็กซิโก โดยเฉพราะในภูมิภาคลอส อัลตอส ซึ่งผู้อาศัยส่วนใหญ่เป็นชนพื้นเมือง ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเมืองและหมู่บ้านในชนบท
โคคา - โคล่า มีโรงงานบรรจุขวดใน ซาน คริสโตบัส เด ลาส กาซาส ( San Cristóbal de las Casa ) และถือเป็น 'ยอดราชา' ในตลอดน้ำอัดลมของภูมิภาคนี้ อ้างอิงจาการศึกษาของ Cimsur เหตุผลที่ โคคา - โคล่า ได้รับความนิยมอย่างมากในเซียปัส เป็นทั้งเพราะการตลาดที่เน้นโปรโมตด้วยภาษาพื้นเมือง ( ส่วนใหญ่เป็นภาษามายัน ) และเพราะความขาดแคลนน้ำสะอาดเพื่อบริโภค
ในปี 2018 หนังสือพิมพ์ The New York Times รายงานว่า หลาย หมู่บ้านในซาน คริสโตบัส เด ลาส กาซาส มีน้ำประปาใช้เพียงไม่กี่ครั้งต่อสัปดาห์และหลายครัวเรือนถูกบังคับให้ซื้อน้ำเพิ่มจากรถบรรทุกน้ำมัน
"ดังนั้น ผู้อาศัยจำนวนมากจึงดื่ม โคคา - โคล่า ซึ่งหาได้ง่ายกว่าน้ำขวด และมีราคาถูกเกือบเท่ากัน" รางงานกล่าว
ในทำนองเดียวกัน อารานาบอกกับ BBC Mundo ว่า "โคคา - โคล่า เป็นผลิตภัณฑ์ที่เข้าถึงได้ง่ายสุดในลอส อัตตอส เราต้องเดินไกลกว่านี้เพื่อซื้อตอร์ตรยาหรืออย่างอื่น" ดขากล่าว "คนขายมันเยอะเกินไปแถมไม่มีการควบคุม แถมยังลดราคาขายกันได้เยอะถึง 30 เปอร์เซ็น
ในปี 2559 มีการค้นพบว่า 3 เปอร์เซ็นต์ ของทารกในเซียปัสได้รับ โคคา - โคล่า จากมารดา ทั้งๆ ที่พวกเขาควรได้ดื่มน้ำนมแม่เท่านั้น
ไม่น่าแปลกใจเลยที่โรคเบาหวานจะเป็นปัญหาใหญ่ในเซียปัส โดย The New York Times รายงานว่า ในรัฐแห่งนี้จะมีผู้ป่วยโรคเบาหวานเเละเสียชีวิตด้วยโรคนี้เพิ่มขึ้นมากกว่า 3,000 คนทุกๆปี
ไฆเม ปาจ ปลิเอโก ( Jaime Page Pliego ) นักวิจัยของ Cimsur บอกกับ BBC Mundo ว่า เขาเคยได้ยินคนจากเมืองเตเนฮาปา ( Tenejapa ) บอกว่าที่นั่นไม่เคยมีปัญหาโรคเบาหวานและโรคหัวใจเลยจนมีการสร้างถนนซึ่งมันนำน้ำหวานและอาหารขยะเข้าไปที่นั้นง่ายขึ้น
น้ำอัดลมโดยเฉพราะอย่างยิ่ง โคคา - โคล่า ยังเข้ามามีบทบาทในศาสนาของชาวมายันพื้นเมืองในเซียปัส โดยกลายเป็น 'ของไหว้เจ้า' ประกอบพิธีทางศาสนาของชนพื้นเมืองขางกลุ่มด้วย โดยเฉพราะอย่างยิ่งในพิธีกรรมการรักษา
ปัจจุบัน ชาวเมืองเตเนฮาปาเหนือมีธรรมเนียมที่จะต้องดื่มโคล่า 2 - 3 ลิตรระหว่างพักรับประทานอาหารกลางวันหลังจากทำงานในทุ่งนาไปแล้วหลายคนตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า "ผมชอบดื่มโคล่า มันช่วยให้ผมอิ่มท้อง เวลาไม่ได้ดื่มก็จะรู้สึกอยาก ผมหยุดดื่มมันไม่ได้"
ไฆเมกล่าวว่า นี่เป็นเรื่องน่าเศร้ามากๆ เพราะแม้แต่คนที่เป็นเบาหวานยังเคยยอมรับว่าตัวเองยังดื่มโคล่าอยู่ต่อไป พวกเขาไม่สามารถจินตาการถึงชีวิตโดยปราศจากน้ำอัดลมได้เลอย