จังหวัดที่"ผังเมือง"สวยที่สุดในประเทศไทย
ประเทศไทยที่มีผังเมืองสวยที่สุดของประเทศไทย
มองไกลๆ นึกว่าผังเมืองของต่างประเทศ
'การวางผังเมือง' ถือเป็นเรื่องจำเป็นขั้นแรก
สำหรับการสร้างเมืองใหม่ให้มีความพร้อมสำหรับการพัฒนาต่อ
เมืองที่สร้างบนระบบผังเมืองที่ดี จะมีศักยภาพสูงในการจัดการกับเรื่องต่างๆ
ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต การวางผังเมืองยังทำให้ดูเป็นระเบียบ เป็นสัดเป็นส่วน
ทำให้ประชาชนมีความปลอดภัยเพิ่มขึ้น การจัดการขยะทำได้ง่ายขึ้น
ระบบสาธารณูปโภค ก็จะสามารถบำรุงดุแลรักษาได้ง่ายยิ่งขึ้นอีกด้วย
น่าเสียดายที่พื้นที่ของประเทศไทยส่วนใหญ่
ไม่ได้ถูกออกแบบเรื่องของผังเมืองมาตั้งแต่แรก
ทำให้เมื่อเมืองมีการขยายตัวขึ้น ปัญหาที่เกิดตามมาจงยากที่จะแก้ไข
แต่ก็มีอยุ่หลายจังหวัดเช่นกัน ที่ระบบผังเมืองถูกออกแบบมาอย่างดี
ทำให้การบริหารจัดการเมืองทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เทศบาลนครยะลา'จังหวัดยะลา
ที่ได้รับเสียงชื่นชมว่าเป็น 'ผังเมืองที่สวยที่สุดในไทย'
ถูกวางแผนการสร้างขึ้นตั้งแต่ก่อนปี 2490
ในสมัยนายกเทศมนตรีคนแรกของเมืองยะลา
โดยออกแบบในรูปวงเวียน แบ่งกลุ่มสิ่งก่อสร้างออกเป็นชั้นๆ
ออกนอกวงมาเรื่อยๆ
แบบเป็นสัดส่วนชัดเจน ทั้งหน่วยงานราชการ บ้านพักข้าราชการ
โรงพยาบาล โรงเรียนสวนสาธารณะ ย่านการค้า
และเขตที่พักอาศัย
ภายในพื้นที่ขนาด 19 ตารางกิโลเมตรของเขตเทศบาล
โครงสร้างของเมืองยะลาแบบวงเวียนนี้ คล้ายกับที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
มีถนนเส้นรองถึง 400 เส้น ถูกตัดให้มุ่งหน้าสู่ใจกลางเมือง ที่บริเวณศาลหลักเมือง
เส้นสายถนนในลักษณะใยแมงมุมนี้ ช่วยลดปัญหารถติด
และทำให้ทัศนียภาพของเมืองสวยสะอาดตามาก
ไม่ว่าจะมองจากระดับสายตาหรือเป็นมุมมองจากมุมสูง
โดยผังเมืองนี้ตั้งอยู่ใจกลางเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ซึ่งมีถนนกว่า 400 สาย ตัดเชื่อมต่อกันเหมือนใยแมงมุม
มีวงเวียนซ้อนกัน 3 วง คล้ายกรุงปารีสฝรั่งเศส และแบ่งพื้นที่เป็นโซนนิ่ง
ชัดเจน ซึ่ง 3 วงที่ว่าได้ถูกแบ่งออกเป็นสถานที่สำคัญต่าง ๆ ดังนี้
ชั้นที่ 1 วงในสุด เป็นหน่วยงานราชการต่าง ๆ เช่น ศาลากลาง จังหวัด สำนักงานเกษตรจังหวัด สำนักงานที่ดิน และสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เป็นต้น
ชั้นที่ 2 เป็นบ้านพักข้าราชการ
ชั้นที่ 3 วงเวียนสุดท้าย เป็นที่ตั้งของโรงพยาบาล โรงเรียน สถาบันการศึกษา สวนสาธารณะ ย่านการค้า และที่อยู่อาศัยของประชาชน
เราจะเห็นได้ว่าการผังเมืองแบบนี้มีประโยชน์ต่อการจัดสิ่งอำนวยความสะดวก และการเดินทางถึงกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวคือ การตัดถนนต่าง ๆ ภายในเมืองยึดหลักเกณฑ์ที่ว่า ควรแบ่งตัดซอยให้หลังบ้านชนกันแต่ห่าง 4 เมตร เพื่อเป็นที่วางขยะ ถังขยะและสะดวกต่อการดับเพลิง การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม หรือการวางสาธารณูปโภคและสาธารณูปการให้ครอบคลุมทั้งเมือง เป็นต้น