สะพานข้ามแม่น้ำที่มีความกว้างมากที่สุดในประเทศไทย
สะพานคู่ขนานสะพานพระราม 9
🌁
เป็นสะพานถนนประเภทสะพานขึงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาในกรุงเทพมหานคร ในเส้นทางของทางพิเศษสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกตะวันตก ดูแลโดยการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เป็นสะพานขึงเสาคู่แห่งแรกของประเทศไทย คู่ขนานด้านท้ายน้ำของสะพาน พระราม 9 มีขนาด 8 ช่องจราจร ความกว้างประมาณ 42 เมตร ถือเป็นสะพานข้ามแม่น้ำที่มีความกว้างมากที่สุดในประเทศไทย เพื่อใช้ทดแทนสะพาน
พระราม 9ที่จะมีการปิดปรับปรุง
สะพานคู่ขนานสะพานพระราม 9 ออกแบบโดยบริษัท เอพซิลอน จำกัด เป็นสะพานประเภทสะพานขึงเสาคู่ (Double-Pylon Cable-Stayed Bridge) แห่งแรกของประเทศไทย ตามแนวคู่ขนานทางด้านท้ายน้ำของสะพานพระราม 9 มีขนาด 8 ช่องจราจร (แบ่งเป็นขาเข้าเมืองและขาออกเมืองฝั่งละ 4 ช่องจราจร) และมีความกว้างวัดจากขอบสะพานทั้ง 2ฝั่งได้ประมาณ 42 เมตร ซึ่งถือว่าเป็นสะพานข้ามแม่น้ำที่มีความกว้างมากที่สุดในประเทศไทย ตัวสะพานจะเริ่มยกระดับจากระดับชั้นที่ 2 ซึ่งสูงจากระดับพื้นดินประมาณ 10 เมตร ทำให้ผู้ใช้ทางสามารถวิ่งขึ้นและลงสะพานได้สะดวกมากขึ้น เพื่อลดการชะลอตัวสะสมในช่วงขาขึ้นสะพาน ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับสะพานพระราม 9 โดยท้องสะพานมีความสูงเหนือระดับน้ำทะเลอยู่ 41 เมตร และเสาขึงมีความสูง 87 เมตร ซึ่งเท่ากับสะพานพระราม 9 เดิม ส่วนช่วงกลางสะพานยาว 450 เมตร และตัวสะพานยาว 780 เมตร มีจุดเริ่มต้นบริเวณเชิงลาดสะพานพระราม 9 ฝั่งธนบุรี ในพื้นที่แขวงราษฎร์บูรณะ เขตราษฎร์บูรณะ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปเชื่อมต่อกับทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร และบรรจบกับทางแยกต่างระดับบางโคล่ ในพื้นที่แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา เชื่อมต่อกับทางพิเศษศรีรัชและทางพิเศษเฉลิมมหานครโดยตรง รวมระยะทางทั้งโครงการจำนวน 2 กิโลเมตร โดยมีการออกแบบตัวสะพานให้สอดคล้องและไม่โดดเด่นกว่าสะพานพระราม 9 เดิม นอกจากนี้ การทางพิเศษแห่งประเทศไทยยังจำลองสะพานเต็มรูปแบบเพื่อทดสอบความแข็งแรงของสะพานต่อแรงลม ซึ่งจากผลการทดสอบ พบว่า สามารถรองรับแรงลมได้มากถึง 270 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือเทียบเท่าความแรงของพายุทอร์นาโด สะพานแห่งนี้จึงมีความมั่นคงและแข็งแรงอย่างมากในการรองรับเหตุแผ่นดินไหวหรือพายุ
📷
Cakery Master