15 สัตว์แปลกแห่งใต้ท้องทะเล
มหาสมุทรเป็นพื้นที่ที่กว้างที่สุดบนโลก และยังมีพื้นที่อีกมากมายในมหาสมุทรที่ยังไม่ได้รับการสำรวจ รวมถึงมีสัตว์ทะเลแปลกๆที่เรายังไม่ค่อยได้พบเห็น ซึ่งบางชนิดยังกับหลุดออกมาจากเทพนิยาย หรือแม้กระทั่งยังกับมาจากต่างดาวกันเลยที่เดียว เราจะพาท่านไปพบกลับ " 15 สัตว์แปลกแห่งใต้ท้องทะเล "
ปลาบาร์เรลอาย
เป็นปลาน้ำลึกที่อาศัยอยู่ในท้องทะเลลึก 400-2,500 เมตร ในมหาสมุทรแอตแลนติก แปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย มีขนาดลำตัวเล็กที่ประมาณ 6 นิ้วเท่านั้น ส่วนลักษณะเด่นของปลาชนิดนี้ ก็เป็นเหมือนที่เรียกกัน นั่นคือส่วนหัวของมันจะใส มองเห็นอวัยวะภายในใต้อย่างชัดเจน ส่วนลำตัวของมันนั้น จะเป็นสีดำทึบ และลักษณะเด่นที่แปลกอีกอย่างหนึ่ง ก็คือมันจะมีดวงตาที่ใหญ่อยู่ภายในหัวของมัน ซึ่งดวงตานี้ จะมีแนววิสัยมองขึ้นไปด้านบนตามธรรมชาติ เพื่อใช้สำรวจเหยื่อที่อยู่ด้านบน โดยนักวิทยาศาสตร์พบว่า มันเป็นปลาที่มีสายตาดีมาก มันสามารถโฟกัสภาพเพื่อจับเหยื่อได้จากในระยะไกล แต่ถึงแม้จะมีวิสัยการมองเห็นตรงขึ้นไปด้านบนอย่างนั้น ดวงตาของมันก็ยังสามารถกลอกมามองข้างหน้าได้เช่นกัน นอกจากนี้ มันยังมีจมูกรับกลิ่น 2 จุดอยู่เหนือปาก ซึ่งมองแวบแรกอาจทำให้เข้าใจผิดว่านั่นคือดวงตาของมันได้ นับว่าเป็นความมหัศจรรย์แห่งธรรมชาติจริง ๆ
ปลาน้ำแข็งจระเข้
ปลาน้ำแข็งจระเข้ นี้มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channichthyidae ปลาน้ำแข็งจระเข้ หรือ ปลาเลือดขาว เป็นปลาที่อาศัยอยู่ ในน้ำเย็น ในบริเวณ แอนตาร์คติก้า(Antarctica) และ ทางใต้ของอเมริกาใต้ ขณะนี้มีการค้นพบและรู้จักอยู่ 15 สายพันธุ์
มังกรทะเลใบหญ้า
มังกรทะเลใบหญ้า (อังกฤษ: Common seadragon, Weedy seadragon; ชื่อวิทยาศาสตร์: Phyllopteryx taeniolatus) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาจิ้มฟันจระเข้และม้าน้ำ (Syngnathidae) เดิมเคยจัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Phyllopteryx แต่ในปัจจุบันได้มีการจำแนกออกเป็นชนิดใหม่ มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับมังกรทะเลใบไม้ ซึ่งเป็นปลาชนิดที่ใกล้เคียงมากที่สุด เพียงแต่มังกรทะเลใบหญ้ามีระยางค์ต่าง ๆ น้อยกว่า มีความยาวเต็มที่ได้ถึง 45 เซนติเมตร แต่ขนาดโดยทั่วไปประมาณ 30 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์เฉพาะตอนใต้ของออสเตรเลียเท่านั้น และเกาะทัสมาเนีย เหมือนกับมังกรทะเลใบไม้ โดยอาศัยอยู่ตามกองหินและแนวปะการัง หรือกอสาหร่าย พบได้ในระดับความลึกถึง 50 เมตร เป็นปลาที่มีพฤติกรรมการขยายพันธุ์เช่นเดียวกับปลาชนิดอื่นในวงศ์เดียวกัน คือ ตัวผู้เป็นฝ่ายอุ้มท้อง ตัวเมียจะวางไข่ได้ครั้งละประมาณ 1,200 ฟอง ในหน้าท้องของตัวผู้ ไข่ใช้เวลาประมาณหนึ่งเดือนถึงจะฟักเป็นตัว ตัวอ่อนเมื่อฟักออกมาแล้วจะกินอาหารได้เลยทันทีและว่ายน้ำเป็นอิสระได้เอง ปัจจุบันมีการเลี้ยงแสดงไว้ตามพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำต่าง ๆ ทั่วโลกประมาณ 50 แห่ง เช่น พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำจอร์เจีย ซึ่งมีความพยายามในการเพาะขยายพันธุ์อยู่
มังกรทะเลใบไม้
มังกรทะเลใบไม้ (อังกฤษ: Leafy seadragon) เป็นปลาทะเลกระดูกแข็งชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Phycodurus eques อยู่ในวงศ์ Syngnathidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกันกับม้าน้ำ โดยถือเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Phycodurus พบทางตอนใต้และตะวันตกของทวีปออสเตรเลีย ถือเป็นปลาเฉพาะถิ่น มักอาศัยอยู่ในกระแสน้ำอุ่นในความลึกตั้งแต่ 3-50 เมตร มีจุดเด่นตรงที่มีครีบต่าง ๆ ลักษณะคล้ายใบไม้หรือสาหร่ายทะเล ทำให้ได้ชื่อว่าเป็นปลาที่มีความสวยงามที่สุดในโลก ซึ่งครีบเหล่านี้ไม่ได้มีไว้ว่ายน้ำแต่ใช้สำหรับอำพรางตัวจากศัตรูและยังใช้หาอาหารอีกด้วย มังกรทะเลใบไม้ใช้ครีบอกในการว่ายน้ำ ซึ่งครีบอกนั้นมีลักษณะใสโปร่งแสง และมองเห็นได้ยากมากเมื่อเวลาปลาเคลื่อนไหว ทำให้มังกรทะเลใบไม้ดูแลยากเมื่อแฝงตัวไปในหมู่สาหร่ายทะเล มีปากที่เหมือนท่อยื่นยาวออกมา ตอนปลายมีที่เปิด กินอาหารจำพวกแพลงก์ตอน, กุ้งและครัสเทเชียนขนาดเล็ก ๆ มีความยาวเต็มที่ได้ประมาณ 35 เซนติเมตร การผสมพันธุ์และวางไข่ เนื่องจากมังกรทะเลใบไม้ไม่มีถุงหน้าท้องเหมือนม้าน้ำ แต่ตัวเมียมีไข่ติดอยู่กับใกล้ส่วนหางซึ่งเต็มไปด้วยเส้นเลือดที่มีอยู่มากมายซึ่งพัฒนาขึ้นมาเฉพาะตัวผู้ในช่วงผสมพันธุ์เท่านั้น เมื่อผสมพันธุ์กันตัวเมียจะวางไข่บริเวณหางของตัวผู้ซึ่งจะม้วนงอเข้า ปริมาณไข่ราว 100-200 ฟอง หรือเต็มที่ 250 ฟอง ซึ่งช่วงการผสมพันธุ์วางไข่นั้นจะอยู่ระหว่างเดือนสิงหาคม-มีนาคม ของปีถัดไป ไข่ที่ยึดติดกับส่วนหางของตัวผู้จะได้รับออกซิเจนจากเส้นเลือดของหาง โดยใช้เวลาฟักเป็นตัวราว 4-6 สัปดาห์ เมื่อฟักออกเป็นตัวแล้วปลาตัวผู้จะไม่ดูแลไข่ โดยตัวอ่อนจะใช้เวลาประมาณหนึ่งปีที่จะโตเต็มจนถึงขนาด 20 เซนติเมตร และใช้เวลา 2 ปี ที่จะโตเต็มที่ เมื่อยังเป็นวัยอ่อนลำตัวจะใส ไม่มีสี มีอายุขัยประมาณ 6 ปี แต่ก็มีบางตัวที่นักวิทยาศาสตร์ศึกษาพบว่ามีอายุมากถึง 9 ปี นอกจากนี้แล้วผู้ที่ศึกษามังกรทะเลใบไม้พบว่าตำหนิหรือสีแต้มต่าง ๆ ของแต่ละตัวจะเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว และสิ่งเหล่านี้ส่งผ่านกันได้ตามพันธุกรรม
หมีน้ำ
หมีน้ำ (Water bear) หรือชื่อสามัญว่า ทาร์ดิกราดา (อังกฤษ: Tardigrada) หรือ ทาร์ดิเกรด (Tardigrade) เป็นไฟลัมหนึ่งของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tardigrada "หมีน้ำ" นั้นมาจากท่าทางการเดินของพวกมัน หมีน้ำมีรูปร่างเหมือนหนอนตัวอ้วน ๆ มีรูปร่างเป็นปล้อง มีขนาดเล็กจนแทบมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น เมื่อโตเต็มที่มีขนาดเพียง 1.5 มิลลิเมตร ส่วนตัวที่เล็กที่สุดมีขนาดเพียง 0.1 มิลลิเมตร ส่วนในช่วงตัวอ่อนมีขนาดเพียง 0.05 มิลลิเมตร มีขา 8 ขา มีเล็บที่แหลมคม มีสีสันแตกต่างหลากหลายออกไป ทั้งสีแดง, ขาว, ส้ม, เหลือง, เขียว, ม่วง และดำ เชื่อว่ามีมากกว่า 1,000 สปีชีส์ โดยมากเป็นพวกกินพืช ส่วนน้อยกินแบคทีเรีย และกินสัตว์ และสามารถพบได้ทั่วโลก
แตงกวาทะเล
แตงกวาทะเล (อังกฤษ: Sea Pickle) เป็นกลุ่มของสัตว์ขนาดเล็กซึ่งอยู่กับที่และเปล่งแสงได้ พบอาศัยอยู่ใต้น้ำ การเกิดตามธรรมชาติ แตงกวาทะเลนั้นสามารถเกิดได้ตามพื้นพิ้วใต้มหาสมุทรอุ่น และรวมไปถึงบทยอดของบล็อกปะการังในแนวปะการัง ซึ่งในแต่ละ chunk จะมีโอกาส 1⁄6 ที่จะเกิดแตงกวาทะเลเป็นกลุ่มๆ ซึ่งสามารถพบได้ที่ 1-4 อันต่อกลุ่ม
ดาวขนนก
ดาวทะเล หรือ ปลาดาว เป็นสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลัง ที่อยู่ในชั้น Asteroidea ลักษณะทั่วไป มีลำตัวแยกเป็นห้าแฉกคล้ายรูปดาวเรียกว่า แขน ส่วนกลาง มีลักษณะเป็นจานกลม ด้านหลังมีตุ่มหินปูน ขนาดเล็กกระจายอยู่ทั่วไป มีปากอยู่ด้านล่างบริเวณ จุดกึ่งกลางของ ลำตัว ใต้แขนแต่ละข้างมีหนวดสั้น ๆ เรียงตามส่วนยาว ของแขนเป็นคู่ ๆ มีลักษณะเป็นกล้ามเนื้อที่เหนียวและแข็งแรงเรียกว่า โปเดีย ใช้สำหรับยึดเกาะกับเคลื่อนที่ มีสีต่าง ๆ ออกไป ทั้ง ขาว, ชมพู, แดง, ดำ, ม่วง หรือน้ำเงิน เป็นต้น พบอยู่ตามชายฝั่งทะเล โขดหิน และบางส่วนอาจพบได้ถึงพื้นทะเลลึก กินหอยสองฝา โดยเฉพาะ หอยนางรม, กุ้ง, ปู หนอน และ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอื่น ๆ เช่น ฟองน้ำหรือปะการัง เป็นอาหาร
ดาวตะกร้า
ดาวตะกร้า (อังกฤษ: Basket star) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในทะเลจำพวกหนึ่ง จัดอยู่ในอันดับดาวเปราะ เป็นสัตว์ทะเลที่มีวิวัฒนาการน้อยที่สุดในกลุ่มสัตว์ไฟลัมเอไคโนดอร์มาทา(Echinodermata) มีลักษณะคล้ายดาวเปราะ ทั่วไปอาศัยอยู่ตามพื้นทะเล มีแขนหลายแขน มีอายุยืนเต็มที่ได้ถึง 35 ปี และมีน้ำหนัก 5 กิโลกรัม เหมือนกับสัตว์จำพวกอื่นในไฟลัมเดียวกัน คือ แลกเปลี่ยนแก๊สและระบบไหลเวียนโลหิตตามท่อลำเลียง เป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในไฟลัมเอไคโนดอร์มาทา ซึ่งชนิดที่ใหญ่ที่สุด คือ Gorgonocephalus stimpsoni มีความยาวได้ถึง 70 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำตัว 14 เซนติเมตร
แมงป่องทะเล
ยูริปเทอริด (อังกฤษ: Eurypterids) มักเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า แมงป่องทะเล (อังกฤษ: sea scorpion) เป็นกลุ่มของสัตว์ขาปล้องที่สูญพันธุ์ไปแล้ว อยู่ในอันดับ Eurypterida ยูริปเทอริดที่เก่าแก่ที่สุดที่รู้จักกันในช่วงดาร์ริวิเลียนของยุคออร์โดวิเชียนเมื่อ 467.3 ล้านปีก่อน คาดว่าสิ่งมีชีวิตกลุ่มนี้ปรากฏตัวครั้งแรกในยุคออร์โดวิเชียนตอนต้นหรือยุคแคมเบรียนตอนปลาย เนื่องจากจำนวนสปีชีส์ประมาณ 250 สปีชีส์ Eurypterida เป็นอันดับของเชลิเซอราตาในพาลีโอโซอิกที่มีความหลากหลายมากที่สุด หลังจากการปรากฏตัวของพวกมันในยุคออร์โดวิเชียน ยูริปเทอริดกลายเป็นส่วนประกอบหลักของสัตว์ทะเลในยุคไซลูเรียน ซึ่งเป็นยุคที่มีสปีชีส์ส่วนใหญ่ของยูริปเทอริดอยู่ สกุล Eurypterus ของยูริปเทอริดในยุคไซลูเรียนมีสัดส่วนมากกว่า 90% ของยูริปเทอริดทั้งหมดเท่าที่รู้จัก แม้ว่าสัตว์กลุ่มยังคงมีความหลากหลายในช่วงยุคดีโวเนียน แต่ยูริปเทอริดก็ได้รับผลกระทบอย่างมากจากเหตุการณ์การสูญพันธุ์ยุคดีโวเนียนตอนปลาย พวกมันลดจำนวนและความหลากหลายลงจนกระทั่งสูญพันธุ์ในช่วงเหตุการณ์การสูญพันธุ์ยุคเพอร์เมียน–ไทรแอสซิก (หรือก่อนหน้านั้นนี้ไม่นาน) เมื่อ 251.9 ล้านปีก่อน
แบล็ค สวอลโลว์
ปลาแบล็คสวอลโล (อังกฤษ: Black swallower) เป็นสายพันธุ์ปลาทะเลลึกในตระกูล Chiasmodontidae เป็นที่รู้จักด้วยความสามารถของมันที่สามารถกลืนปลาที่มีขนาดใหญ่กว่าตัวเองได้ มันมีการแพร่กระจายไปทั่วโลกในเขตร้อนและเขตหุบเขาใต้ทะเลลึกภูเขาใต้ทะเลที่มีความลึก 700-2,745 เมตร (2,297-9,006 ฟุต)[1] เป็นปลาทะเลลึกที่แพร่พันธุ์ได้แพร่หลายมาก
หนอนบอบบิท
Eunice aphroditois หรือ หนอนบ๊อบบิท ถูกจัดให้อยู่ในประเภทของไส้เดือนทะเล กินสัตว์ทะเลเกือบทุกชนิดเป็นอาหาร สามารถพบได้ในเขตทะเลน้ำอุ่น โดยเจ้าหนอนบ็อบบิทจะอาศัยอยู่ในระดับความลึกตั้งแต่ 150 เมตรลงไป หนอนบ็อบบิทนั้นสามารถโตเต็มที่ได้ยาวเกือบ 3 เมตร
ปลาบร็อบ
บล็อบฟิช (อังกฤษ: blobfish) เป็นปลาในวงศ์ Psychrolutes marcidus[1] อาศัยในน้ำลึกนอกชายฝั่งออสเตรเลียแผ่นดินใหญ่และในรัฐแทสเมเนีย ซึ่งทำให้มีอีกชื่อหนึ่งว่า "ปลาทะเลน้ำลึก" (deep sea fish) บล็อบฟิชสามารถพบเจอได้ในก้นทะเลซึ่งมีความกดอากาศมากกว่าระดับทะเลทั่วไปอย่างมากและปกติจะทำให้ประสิทธิภาพของกระเพาะปลาลดต่ำลง แต่บล็อบฟิชมีหนังเป็นแพวุ้นหุ้มหนาแน่นยิ่งกว่าท้องน้ำ จึงลอยตัวอยู่เหนือพื้นทะเลได้โดยไม่หมดกำลัง เนื่องจากที่อยู่ของฝูงบล็อบฟิชนั้นเข้าถึงยาก น้อยคนจึงได้เห็นปลาเหล่านี้ ที่ผ่านมาบล็อบฟิชติดอวนลากของชาวประมงบ่อยครั้ง ทำให้หลายฝ่ายจึงกังวลกันว่า อวนลากกำลังคุกคามบล็อบฟิชที่ทะเลในออสเตรเลีย และทำให้จำนวนประชากรบล็อบฟิชลดลง เนื่องจากอวนลากทำให้บล็อบฟิชตาย หรืออาจจะช็อกระหว่างที่อวนกำลังลากมัน ทั้งนี้ ออสเตรเลียอาจเป็นบ้านหลังเดียวของบล็อบฟิชในเวลานี้
ปลานกฮูก
ปลานกฮูก เป็นปลาที่แปลกมาก ลำตัวมีสีเทาถึงน้ำตาลเหลือง มีจุดสีขาว ลักษณะเด่นที่สุดของมันคือครีบครีบอก ขนาดใหญ่เหมือนพัด และยังมีจุดสีน้ำเงินที่ฐานและรอบขอบครีบ เมื่อยืดออกจนสุดจะถึงหาง หนามสองสามอันแรกแยกออกจากส่วนอื่นของครีบ และสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ เมื่อปิดครีบครีบอก ปีกนกจะใช้กระดูกสันหลังส่วนหน้าเหล่านี้พร้อมกับครีบอุ้งเชิงกราน (ด้านล่าง) เพื่อรองรับตัวเองบนพื้นทะเลและ “เดิน” ไปรอบๆ ผู้ใหญ่สามารถเติบโตได้ถึง 20 นิ้ว (50.8 ซม.)
ปกติจะเห็นปลาตัวนี้นอนอยู่บนเตียงทะเล เมื่อตรวจสอบอย่างละเอียดแล้ว จะเห็นว่ามันไม่ได้วางท้องไว้บนพื้นทราย แต่จริงๆ แล้วครีบอกของมันรองรับตัวมันเองบนครีบอกขนาดใหญ่ ซึ่งมีรูปร่างทำให้ส่วนหน้ายกขึ้นได้ ครีบที่ปลาใช้ เดินบนเตียงทะเล การเดินนี้สามารถทำได้โดยใช้ปลายด้านหน้าด้านในรูปนิ้วของครีบอก แต่การทำเช่นนี้จะต้องปิดครีบ นี่คือที่มาของการบินในเกิร์นาร์ด เนื่องจากเมื่อครีบอกเปิดออก พวกมันจะกลายเป็นปีกจริง ๆ หรือยังคงดีกว่า เหมือนกับปีก เพราะมันไม่ทำงานเหมือนปีก
หมึกดัมโบ
หมึกดัมโบ (อังกฤษ: Grimpoteuthis) เป็นชื่ออย่างไม่เป็นทางการของสายพันธุ์ปลาหมึกที่เพิ่งได้รับการค้นพบ โดยอยู่ในสายพันธุ์หมึกร่ม หมึกดัมโบ ได้รับการกล่าวว่าเป็นปลาหมึกมีลักษณะคล้ายกับผีที่ปรากฏในเกมแพ็ก-แมน และบ้างก็ว่าคล้ายกับตัวละครชื่อเพิร์ล ที่ปรากฏในการ์ตูนเรื่องนีโม...ปลาเล็ก หัวใจโต๊...โต รวมถึงคล้ายกับตัวละครในการ์ตูนโปเกมอน มันจึงได้รับการเรียกชื่อเล่นว่า Adorabilis ซึ่งหมายถึง “น่ารักและน่าทะนุถนอม
ปลากบ
ปลากบ (อังกฤษ: frog fish) เป็นปลาในตะกูลปลาตกเบ็ดพบได้ทั่วไปในมหาสมุทรเขตร้อนยกเว้นทะเลเมดิเตอร์เรเนียน มันเป็นปลาที่มีรูปร่างลักษณะสั้นตัวหนาและมีครีบและสีตัวที่ใช้ในการพลางตัวได้ดีและบางชนิดสามารถเปลียนสีได้
ปกติอาศัยอยู่บริเวณพื้นทะเลที่มีสาหร่ายซาร์กัสซัม ทำให้มีอีกชื่อนึงว่าปลาซาร์กัสซัม พวกมันจะมีสิ่งมีชีวิตอื่นขึ้นตามลำตัวจึงทำให้สามารถพรางตัวได้ดี มันยังเคลื่อนที่ช้า ๆ หรือการล่อเหยือเพื่อจะได้พรางตัวได้อย่างแนบเนียนและเมื่อมีเหยือเข้ามาใกล้พวกมันก็จะพุ่งกระโจนเข้าหาเหยือและงับอย่างรวดเร็วโดยใช้เวลาเพียง 6มิลลิวินาทีเท่านั้น