Share Facebook LINE Twitter
หน้าแรก เว็บบอร์ด Chat ตรวจหวย ควิซ คำนวณ Pageแชร์ลิ้ง
หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

"พืชเศรษฐกิจ 5 ชนิด" ที่ทนแล้ง ปลูกขายได้ราคาดีมีรายได้ยั่งยืนในอนาคต

เนื้อหาโดย LSalween2024

ตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคมของทุกปี หลาย ๆภูมิภาคในประเทศไทยจะเริ่มเข้าสู่ฤดูแล้ง ฝนก็จะน้อยลงไปและหายไปในที่สุดช่วงฤดูแล้ง เกษตรกรที่ปลูกพืชไม่ว่าจะเป็นพืชระยะสั้นหรือพืชที่ระยะยาวที่ต้องอาศัยการเป็นหลัก ในการดูแลพืชผลจนกว่าจะได้เก็บผลผลิตรับประทานหรือขาย ซึ่งนอกจากการเตรียมพื้นที่เพาะปลูกและแหล่งน้ำแล้ว สิ่งสำคัญอีกอย่างคือ ต้องศึกษาว่าพืชพืชชนิดที่จะปลูกนั้น ต้องปลูกในพื้นที่แบบไหน ชอบน้ำมากน้อยหรือไม่ ต้องดูแลอย่างไร วันนี้ผู้เขียนจะมาแนะนำพืชเศรษกิจ  5 ชนิดที่ทนแล้ง ขายได้ราคาดี ปลูกแล้วมีรายได้ยั่งยืนในอนาคต มีอะไรบ้างนั้น ตามอ่านจากบทความนี้ได้เลยครับ

ชนิดที่ 1 "ต้นสะเดา" เป็นพืชหรือไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ที่มีอายุยืนยาว 50-60 ปี เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่แห้งแล้ง ทนทานต่อความแห้งแล้งได้ดี สามารถที่จะปลูกได้ทุกสภาพพื้นที่ แต่ส่วนมากจะเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่แห้งแล้ง ที่ไม่เป็นพื้นที่น้ำขังหรือฝนตกชุก โดยเฉพาะพื้นที่ที่แห้งแล้งนั้นสะเดาจะเจริญเติบโตได้ดีมาก แต่ในปีแรกสำหรับการปลูกสะเดานั้นจะต้องหมั่นดูแลรดน้ำเพื่อให้เขาได้มีชีวิตรอดสำหรับให้รากได้หากินเพื่อการเจริญเติบโตและปลูกติด ส่วนปีต่อ ๆ ไปนั้น แทบจะไม่ต้องดูแล เพียงแต่คอยรดน้ำเป็นช่วง ๆ ก็สามารถรอดเติบโตได้ สำหรับการเก็บผลผลิตสะเดานั้น มีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือแบบที่ 1 การเก็บยอดและดอกขาย ซึ่งสามารถเก็บยอดได้ตั้งแต่สะเดาเริ่มเข้าสู่ปีที่ 2-3 เป็นต้นไป ก็สามารถที่จะเก็บยอดหรือสะเดาขายได้ (สะเดาพันธุ์ทวาย ออกดอกปีละ 2 ครั้ง) แบบที่ 2 การตอนกิ่งขาย ซึ่งสามารถตอนกิ่งได้ตั้งปีที่  3 เป็นต้นไป ช่วงที่เหมาะสำหรับการตอนกิ่งจะเป็นช่วงหน้าฝน ซึ่งรากจะติดได้ง่าย จึงเหมาะสำหรับการขยายพันธุ์และทำกิ่งตอนขาย

ชนิดที่ 2" ต้นไผ่" จัดว่าเป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่ทนทานต่อสภาพแห้งแล้ง ปลูกง่ายตายยาก สามารถปลูกได้ทุกสภาพพื้นที่ ซึ่งประโยชน์ของไผ่หลัก ๆ ที่ทราบกันดีคือการเก็บหน่อมารับประทานหรือการปลูกไผ่หน่อเชิงพาณิชย์หรือทำหน่อขาย ก็ถือว่ามีหลากหลายสายพันธุ์ให้เลือกปลูก ไม่ว่าจะเป็นไผ่กิมซุง ไผ่บงหวาน ไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้งที่สามารถกินดิบได้ด้วย นอกจากนั้นแล้วประโยชน์นอกจากหน่อแล้ว ก็ยังสามารถมาทำเป็นรั้ว เฟอร์นิเจอร์หรือแม้กระทั่งการนำมาเผาถ่าน ก็ให้พลังงานได้ดีไม่แพ้ไม้เนื้อแข็งชนิดอื่น ๆ ซึ่งการปลูกไผ่นั้น ปีแรกก็ต้องเอาใจใส่หมั่นรดน้ำ เพื่อให้รอดและรากชอนไชหากินเองได้ หากผ่านปีแรกไปแล้วก็ไม่ต้องดูแลเอาใจใส่มาก แต่สำหรับไผ่กินหน่อ เช่น ไผ่กิมซุงหรือไผ่บงหวานนั้น ต้องหมั่นใส่น้ำเติมความชื้น เพื่อให้มีผลผลิตเก็บหน่อได้ตลอดปีนั่นเอง ปัจจุบันนอกจากการทำหน่อขายแล้ว การตอนกิ่งและการชำกิ่งพันธุ์ ก็ถือเป็นการเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่งให้กับเกษตรกรผู้ปลูกไผ่ขาย

ชนิดที่ 3 "ต้นมะขาม" ก็จัดว่าเป็นพืชที่ทนต่อความแห้งแล้งได้ดีมาก ๆ และมีอายุยืนยาวเป็นร้อย ๆ ปี โดยในการปลุกมะขามนั้น จะต้องหมั่นดูแลรดน้ำในปีแรกเหมือนกับพืชทนแล้งชนิดอื่น ซึ่งมะขามนั้นเจริญเติบโตได้ดีทุกภูมิภาค แต่ภูมิภาคที่ให้ผลผลิตได้ดีคือพื้นที่ที่ปลูกในภาคเหนือและภาคกลาง โดยมะขามนั้น สามารถเก็บผลผลิตฝักได้ตั้งแต่ปีที่  3 เป็นต้นไป และสามารถให้ผลผลิตได้อย่างเต็มที่ตั้งแต่ปีที่ 5 เป็นต้นไป ซึ่งเป็นช่วงที่ต้นมะขามเจริญเติบเต็มที่ผลผลิตจึงออกมาได้มาก ซึ่งมะขามนั้นนอกจากการเก็บผลผลิตจากฝักแล้ว ก็สามารถทำพันธุ์ขายโดยการตอนกิ่งขายหรือหากต้นมะขามมีอายุมากเกินไปแล้ว ก็สามารถนำต้นมาแปรรูปเป็นไม้แผ่นทำฝาบ้านหรือแม้กระทั่งทำเขียงขาย ซึ่งทั้งหมดนี้ถือเป็นการเพิ่มรายได้อีกทางให้กับเกษตรกรผู้ปลูกต้นมะขามนั่นเอง

ชนิดที่ "ต้นมะเม่าหรือหมากเม่า" ซึ่งจัดเป็นพืชทนแล้งอีกชนิดหนึ่งที่มีอายุยืนยาว เหมาะสำหรับการปลูกในพื้นที่แห้งแล้งจะเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่ไม่มีน้ำขังและฝนตกชุก เช่น พื้นที่ภาคเหนือ ภาคอีสานและภาคกลาง โดยในช่วงปีแรก ๆ ต้องหมั่นดูแลให้สามารถรอดพ้นผ่านช่วงแล้ง แต่พอเข้าสู่ฤดูฝนก็จะทำให้เจริญเติบได้ดี สำหรับมะเม่านั้น สามารถเก็บผลผลิตได้ตั้งแต่ต้นเริ่มเข้าสู่ปีที่2-3 เป็นต้นไป โดยในปัจจุบันนอกจากเก็บผลมารับประทานแล้ว ผลมะเม่ายังสามารถหมักเป็นไวน์รสชาติดีและทำเป็นน้ำผลไม้เพื่อสุขภาพ และต้นมะเม่านอกจากเก็บผลขายแล้ว ยังสามารถตอนกิ่งหรือเพาะเมล็ด เพื่อขยายพันธุ์ขายได้อีกทางด้วยเช่นกัน

ชนิดที่ 5 "ต้นมะม่วง" ถือเป็นไม้ผลที่ทนแล้งมาก ๆ สามารถปลูกและเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่แห้งแล้ง ปัจจุบันต้นมะม่วงนั้นมีหลากหลายสายพันธุ์ให้เกษตรกรได้เลือกปลูก ฉะนั้นต้องเลือกให้เหมาะกับพื้นที่และความต้องการบริโภคของคนในพื้นที่ ทั้งนี้เมื่อปลูกไปแล้วนอกจากจะทำให้มีต้นไม้ปลูกในพื้นที่แห้งแล้งเราแล้ว เรายังสามารถเก็บผลิตจำหน่ายเป็นรายได้ของเราได้ด้วย โดยมะม่วงก็เหมือนพืชทนแล้งชนิดอื่นที่ต้องหมั่นดูแลในช่วงปีแรกๆ แต่พอเริ่มเข้าสู่ปีที่ 3-4 ก็จะรอดและให้ผลผลิต ต่อจากนั้นแทบไม่ต้องได้ดูแลอะไรมาก เพียงแต่คอยรดน้ำเติมปุ๋ยให้เป็นบางครั้ง ก็จะสามารถเก็บกินยาวๆ 30-50 ปีเลยทีเดียว

นี่เป็นพืชเศรษกิจ  5 ชนิดที่ทนแล้ง ขายได้ราคาดี ปลูกแล้วมีรายได้ยั่งยืนในอนาคต ที่นำมาให้ทุกท่านได้ตัดสินใจ หากอยากจะปลูกต้นไม้ทนแล้งในพื้นที่ของตนเอง หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับทุกท่าน อ่านแล้ว อย่าลืม!!! กดไลท์ กดแชร์ บอกต่อให้กับท่านอื่น ๆ ได้ทราบด้วยนะครับ ขอบคุณครับ

 

เนื้อหาโดย:loylom:อ่านแล้ว อย่าลืม!!! กดไลท์ กดแชร์ ให้กำลังใจ ด้วยนะครับ

เนื้อหาโดย: loylom
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
LSalween2024's profile


โพสท์โดย: LSalween2024
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
5 VOTES (5/5 จาก 1 คน)
VOTED: แสร์
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
Sakamoto Days ตอนที่ 12 วันที่และเวลาออกฉายสิบเลขขายดี แม่จำเนียร งวด 1/4/68ประวัติศาสตร์แผ่นดินไหวในประเทศไทย5 อันดับ ตึกที่สูงที่สุดของประเทศไทยในปัจจุบัน!คลิปนาที "คนเช็ดกระจก" คอนโดหรู เผชิญแรงสั่นสะเทือน น้ำในสระข้างบนกระเพื่อมแรงใส่ตัว!ส่องเลขเด็ด!! มัดรวม 10อันดับ เลขเด็ดขายดี 1 เมษายน 2568
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
สิบเลขขายดี แม่จำเนียร งวด 1/4/68บอสณวัฒน์ คอนเฟิร์ม มิสแกรนด์ไทยแลนด์ 2025 ยังจัดตามกำหนดการเดิม เสาร์ 29 มี.ค.68 นี้เขย่าขวัญทั่วไทย! สรุปเหตุการณ์แผ่นดินไหวล่าสุด เกิดอะไรขึ้นบ้าง?
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
ประวัติศาสตร์แผ่นดินไหวในประเทศไทยความฉลาดทางอารมณ์มีผลดีอย่างไรเกาะรูปหัวใจสุดสวยกลางท้องทะเล"ควนยักษ์กมลา" สถานที่ลึกลับแห่งภูเก็ต สถานที่ๆเป็นตำนานเอาไว้กว่า 30 ปี
ตั้งกระทู้ใหม่
หน้าแรกเว็บบอร์ดหาเพื่อนChatหาเพื่อน Lineหาเพื่อน SkypePic PostตรวจหวยควิซคำนวณPageแชร์ลิ้ง
Postjung
เงื่อนไขการให้บริการ ติดต่อเว็บไซต์ แจ้งปัญหาการใช้งาน แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม ข่าวประชาสัมพันธ์ ลงโฆษณา
เว็บไซต์นี้ใช้ Cookie
เพื่อประสบการณ์ที่ดีและการใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ดูข้อมูลเพิ่มเติม อ่านนโยบายการใช้งาน
ตกลง