จังหวัดที่มีการประกาศจัดตั้ง อุทยานแห่งชาติแห่งแรกของไทย
แม้ประเทศไทยจะถือเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีป่าไม้มาก
แต่ในช่วงหลายสิบปีให้หลัง พบว่าพื้นที่ป่าถูกรุกล้ำ ถูกทำลาย
หรือเสื่องสภาพลงไปมาก สิ่งจะส่งผลกระทบไปยังส่วนอื่นๆ
จึงมีการประกาศจัดตั้ง 'อุทยานแห่งชาติ' ขึ้นมา
อุทยานแห่งชาติ (national park) คือ อุทยาน (park)
ที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการสงวนรักษา มักเป็นแหล่งสงวนที่ดินทางธรรมชาติ
ที่ดินกึ่งธรรมชาติ หรือที่ดินที่สร้างขึ้น ตามประกาศหรืออยู่ในความครอบครองของรัฐเอกราช
แม้ประเทศแต่ละแห่งจะนิยามอุทยานแห่งชาติของตนไว้ต่างกัน แต่มีแนวคิดร่วมกัน
คือ การสงวนรักษา "ธรรมชาติแบบป่า" (wild nature) ไว้เพื่อคนรุ่นหลัง
และเพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งความภาคภูมิของชาติ
โดยอุทยานแห่งชาติที่ถูกประกาศจัดตั้งเป็นลำดับแรก ได้แก่
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ (Khao Yai National Park)
มีเนื้อที่ปกคลุม 2,215.42 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบแล้ง
ป่าดงดิบชื้น ป่าดิบเขา ทุ่งหญ้า และป่ารุ่นสอง ป่าดงดิบชื้น ลักษณะป่าชนิดนี้
เป็นป่าที่อยู่ในระดับความสูง 400-1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง มีพืชพรรณ 3,000 ชนิด,
มีผีเสื้ออยู่กว่า 189 ชนิด, นกป่ามากมายกว่า 350 ชนิดและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 71 ชนิด
ถือเป็นเขตป่าที่กว้างใหญ่และอุดมสมบูรณ์มากอีกที่หนึ่งของไทย
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ถูกประกาศจัดตั้งเมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ.2505
มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ใน 4 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา (อำเภอปากช่อง และวังน้ำเขียว)
จังหวัดปราจีนบุรี (อำเภอเมือง นาดี กบินทร์บุรี และประจันตคาม)
จังหวัดนครนายก (อำเภอเมือง ปากพลี และอำเภอบ้านนา)
และจังหวัดสระบุรี (อำเภอแก่งคอย และอำเภอมวกเหล็ก)
จึงถือว่า 4 จังหวัดนี้
เป็นจังหวัดแรก(ร่วมกัน)ที่มีอุทยานแห่งชาติ