"มหาวิทยาลัย"🏫แห่งเดียวในประเทศไทย🇹🇭 ที่เปิด (คณะแพทย์ศาสตร์)🩻🩺 2 คณะในมหาลัยเดียวกัน?🔬🏤📊📈🔎
ในทุกๆสถาบันการศึกษาหรือ "มหาวิทยาลัย" ในประเทศไทย โดยส่วนมากจะพบการเปิดการเรียนการสอนในระดับ ปริญญาตรีขึ้นไปจะมีคณะต่างๆนาๆ เท่าที่ทุกคนพอรู้อยู่แล้วว่าต้องมีอยู่แค่คณะเดียวก็พอ แล้วมาแยกสาขาอีกทีตามที่เข้าใจกัน แต่..มี "มหาลัยแห่งหนึ่งที่เปิดการเรียนการสอนอยู่ ๒ คณะ นั้นก็คือ "มหาวิทยาลัยมหิดล" ที่เปิด (คณะแพทย์ศาสตร์) อยู่ ๒ คณะด้วยกันนั้นเอง
เหตุผลหรือสาเหตุก็คือ : ผมคงต้องย้อนตั้งแต่การก่อตั้งมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์เลยมั้งครับ ตอนนั้นมีการแยกคณะสายแพทย์ออกจากจุฬาฯ คือ คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล คณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ ไปตั้งเป็นมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (พ.ศ.๒๔๘๖) ซึ่งมุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตทางการแพทย์เป็นหลัก ทำให้มีเพียงมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์เท่านั้นที่จะผลิตบัณฑิตสายแพทย์ออกมา
ต่อจากนั้นมาด้วยความต้องการแพทย์ของประเทศไทย มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ศิริราชเพียงแห่งเดียวไม่สามารถผลิตแพทย์ออกมาได้มากพอ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ในฐานะมหาวิทยาลัยที่มีหน้าที่หลักผลิตบัณฑิตสายการแพทย์ ก็ต้องเพิ่มสถานที่ในการผลิตแพทย์ออกมาให้มากขึ้น ทำให้ตอนนั้น นอกจากจะมีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลแล้ว ยังมีคณะแพทยศาสตร์ในสังกัดมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์อีกถึง ๓ แห่ง คือ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ (พ.ศ.๒๔๙๐) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ (พ.ศ.๒๔๙๗) และคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี (พ.ศ.๒๕๐๘)
และเมื่อมหาวิทยาลัยอื่น ๆ เริ่มมีความพร้อมและมีความต้องการผลิตบัณฑิตแพทย์เอง จึงได้มีการโอนคณะแพทยศาสตร์ไปยังมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เช่น โอนคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ ไปสังกัดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (พ.ศ.๒๕๐๘) และโอนคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ไปสังกัดจุฬาฯ (พ.ศ.๒๕๑๐) คิดว่าด้วยทำเลที่ตั้งคงเหมาะสมที่จะโอนไปให้มหาวิทยาลัยดังกล่าวบริหารมากกว่าและคงมีเหตุผลอื่น ๆ ด้วย การผลิตแพทย์จึงไม่จำกัดอยู่ที่มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์อีกต่อไป ส่วนคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีคิดว่า น่าจะไม่มีเหตุในการโอนไปให้ที่อื่นทำให้มหาวิทยาลัยมหิดลมีคณะแพทยศาสตร์สังกัดอยู่ ๒ แห่งในปัจจุบัน นั้นเองครับ...🔬🩻📡📊📈
: เรียบเรียงเนื้อหา : Yoyoc4000it. 📝😎
: ฝากกดไลค์ 👆👍กดแชร์ให้ผมด้วยนะครับ : ขอบคุณครับ.🙏😎💞