เกิดมาเพิ่งเคยเห็นไข่สุดแปลกของ "หมึกไดมอนด์" ที่จังหวัดสตูล
เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งเรื่องราวที่ชาวเน็ตจำนวนมากกำลังให้ความสนใจ สำหรับชมภาพไข่สุดแปลกของหมึกไดมอนด์ เมื่อหลายวันที่ผ่านมา สำนักข่าว GreenXpress รายงานว่าชาวประมงใน จ.สตูล พบหมึกขนาดใหญ่ซึ่งต่อมาเผยว่าเป็นสิ่งมีชีวิตที่ชื่อว่า ‘หมึกไดมอนด์’ (Diamindback Squid) โดยเป็นหมึกที่อยู่ในน่านน้ำเขตร้อนและอบอุ่นลึกระดับ 200 เมตร
เจ้าของเรือประมงให้ข้อมูลกับ GreenXpress เพิ่มเติมว่าช่วงที่ผ่านมามีการพบบ่อยมากขึ้น โดยติดอวนรอบละ 2-3 ตัว และหนักได้มากถึง 20 กิโลกรัม ซึ่งอันที่จริงแล้วหมีกไดมอนด์ค่อนข้างเป็นหมึกที่หาได้ยาก ยังไม่แน่ใจว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้พบหมึกตัวนี้มากขึ้น
ความพิเศษเฉพาะ
นักวิทยาศาสตร์ระบุว่าหมึกไดมอนด์ (ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Thysanoteuthis rhombus) เป็นหมึกสายพันธุ์เดียวที่จับคู่เดียวตลอดชีวิต พวกมันมีรูปร่างไปทางแนวสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน โดยมีหนวด 2 เส้นใหญ่และมีหนวดเส้นที่สั้นกว่าอีก 4 เส้น
อายุเฉลี่ยนั้นไม่ถึง 1 ปีเต็ม เพศผู้จะมีอายุราว 170-200 วันเท่านั้น ขณะที่ตัวเมียก็มีอายุ 230-250 วันเช่นกัน เมื่อจับคู่กันแล้ว ตัวผู้และตัวเมียจะอยู่ด้วยกันจนตาย พวกมันจะว่างไข่ในน้ำกินเวลา 2-3 เดือนในเขตร้อน ขณะที่เขตอบอุ่นจะว่างเฉพาะช่วงฤดูร้อนหรือต้นฤดูใบไม้ร่วงเท่านั้น
ตัวเมียจะหลั่งสารคล้ายเจลออกมาเพื่อทำให้เป็นโครงสร้างวางไข่ จากนั้นท่อนำไข่ของตัวจะปล่อยไข่พร้อมกับเส้นใยเมือกออกมา บางครั้งอาจยาวได้ถึง 2 เมตรและมีไข่มากถึง 40,000 ฟอง
ดร. Blake Spady ผู้เชี่ยวชาญด้านหมึกจากมหาวิทยาลัยเจมส์คุก กล่าวว่าแม้หมึกส่วนใหญ่จะวางไข่ตามโครงสร้างต่าง ๆ ในธรรมชาติ แต่หมึกสายพันธุ์นี้จะวางไข่และปล่อยให้ลอยได้อย่างอิสระ ซึ่งไข่จะถูกพัดเข้าฝั่งและทำให้ถูกพบเห็นได้
ทาง GreenXpress ใหข้อมูลเพิ่มเติมว่า ผศ.ดร. จรวย สุขแสงจันทร์ ผู้เชี่ยวชาญหมึกทะเล จากภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง ม.เกษตรศาสตร์ ระบุว่าบางครั้งหมึกก็หลงเข้ามาในเขตน้ำตื้นได้ เพราะหมึกไม่รู้ระดับความลึก แต่รับรู้ตามอุณหภูมิ
เมื่อเกิดปรากฎการณ์กระแสน้ำเย็นเข้ามาแทนที่ในอันดามัน (IOD, Indian Ocean Diploes) หมึกจึงหนีน้ำเย็นขึ้นมาหาน้ำที่อุ่นกว่าได้