ลูกหยีประโยชน์จากของทานเล่น
ลูกหยี เป็นผลไม้พื้นเมืองของทางภาคใต้ชนิดหนึ่ง ทางภาคอีสานก็พอมีให้เห็นบ้าง เรียกว่า บักเค็ง
ต้นหยี ชอบขึ้นในที่ดอน ป่า หรือเชิงเขา ลักษณะเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ เฉพาะกิ่งใบจะมีใบเป็นชุดกิ่งละ 5-7 ใบ ลักษณะคล้ายใบพิกุล ยาวประมาณ 15 เซนติเมตร กว้าง 5 เซนติเมตร อายุยืนเป็นร้อยปี
ลูกหยีกว่าจะออกผลให้เราได้ลิ้มรสต้องรอจนกว่าต้นหยีมีอายุ 30 ปีเป็นอย่างน้อย เมื่อให้ผลและถูกเก็บเกี่ยวแล้วจะหยุดให้ผลไปปีหนึ่ง เพราะการเก็บเกี่ยวผลต้องใช้วิธีรานกิ่งลงมา เนื่่องจากต้นมีขนาดสูงใหญ่ กว่าจะแตกกิ่งใหม่และให้ผลอีกจึงต้องใช้เวลาถึงเป็นปีสองปี
การเก็บลูกหยี เมื่อรานกิ่งลงมาแล้ว เด็ดผลออกจากก้าน จากนั้นจึงเอาไปผึ่งแดดให้แห้ง แล้วเอาใส่กระสอบ ฝัดให้เปลือกสีดำกะเทาะออก ใช้กระด้งฝัดเอาเปลือกดำออกจนเหลือแต่เนื้อในสีน้ำตาล นำไปตากแดดอีกครั้งหนึ่ง แต่ถ้าจะรับประทานสดก็เพียงแต่แกะเปลือกสีดำออกก็รับประทานได้แล้ว
ลูกหยี นอกจากจะช่วยบรรเทา อาการไอและอาการเจ็บคอได้แล้ว ยังสามารถนำมา กินเพื่อแก้อาการของหวัดได้อีกด้วย ทั้งนี้ก็เพราะว่าในลูกหยีนั้นอุดมไปด้วยสารอาหารและก็ วิตามินที่มีสรรพคุณ มากมาย รวมทั้งกรดอินทรีย์และ วิตามินซี ที่จะช่วยเพิ่ม ภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย จึงช่วยบรรเทาอาการหวัดได้ดีและป้องกันไข้หวัดได้ด้วย
ผลของลูกหยีรับประทานได้เมื่อสุก ลักษณะผลเป็นพวง ผลดิบมีสีเขียว เมื่อสุกเปลือกจะมีสีดำ เนื้อในเป็นสีน้ำตาลรสหวานอมเปรี้ยว แต่นิยมเอามาปรุงรสมากกว่าจะรับประทานสด ๆ ซึ่งทำได้หลายอย่าง เช่น กวน ฉาบน้ำตาล หรือทรงเครื่อง
ลูกหยี สามารถเอามา รับประทาน สำหรับ บรรเทาอาการเจ็บคอหรือรักษาไอได้ดีมาก บรรเทาอาการไข้หวัด แก้โรคผิดหนัง รักษาแผล บางท่านที่มีลูกอ่อนก็จะนำรากของต้นหยีมาทำยา เพื่อกระตุ้นการไหลของนมแม่ เปลือกนอกใช้แก้อาการท้องร่วง และยอดอ่อนก็สามารถใช้เป็นยาระบายอ่อน ๆ ได้อีกด้วย
LOMA 🐬🐬