สิ้นสุดการรอคอย สงกรานต์ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมลำดับที่ 4 ของประเทศไทย โดย UNESCO
New inscription on the #IntangibleHeritage List: Songkran in Thailand, traditional Thai New Year festival, #Thailand 🇹🇭.
Congratulations!
https://on.unesco.org/18ICH #LivingHeritage
หลังจากที่ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นชาติสมาชิกภาคีใน Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage หรือ อนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้นี้ ถูกประกาศใช้โดย United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization หรือ องค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNESCO (ยูเนสโก) เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2559 และเป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการลำดับที่ 171 ในวันที่ 10 กันยายน พ.ศ.2559 และประเทศไทยของเราได้รับการรับรองมรดกภูมิปัญญทางวัฒนธรรมไปแล้ว 3 รายการ ได้แก่
การแสดงโขน
การนวดแผนไทย
การแสดงโนห์รา
ล่าสุดวันที่ 6 ธ.ค. 2023 เมื่อช่วงบ่าย 2 โมงที่ผ่านมา ตามเวลาประเทศไทย ในที่ประชุมใหญ่ขององค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก ที่จัดขึ้น ณ กรุงกาโบโรเน สาธารณรัฐบอตสวานา ได้มีการพิจารณาเพื่อรับรอง เทศกาลสงกรานต์ในประเทศไทย ประเพณีปีใหม่ไทย (Songkran in Thailand, traditional Thai New Year festival) เพื่อขึ้นทะเบียนเป็นตัวแทนรายการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ
และเทศกาลสงกรานต์ในประเทศไทย ประเพณีปีใหม่ไทย ก็ได้ผ่านการรับรองให้เป็น ตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมวลมนุษยชาติ อย่างเป็นทางการแล้ว
ในเวลาต่อมาใน X หรือ Twitter ของ UNESCO ก็ได้ประกาศแสดงความยินกับประเทศไทยอย่างเป็นทางการ
และในเว็บไซต์ Intangible Cultural Heritage ของ UNESCO ก็ได้เพิ่ม เทศกาลสงกรานต์ในประเทศไทย ประเพณีปีใหม่ไทย (Songkran in Thailand, traditional Thai New Year festival) เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมวลมนุษยชาติ ลำดับที่ 4 ของประเทศไทย
ในประเทศไทย คำว่า สงกรานต์ เป็นภาษาสันสกฤต อันหมายถึง การที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนผ่านไปยังกลุ่มดาวในราศีเมษ ซึ่งเป็นสัญญาณแรกของจักรราศี
เป็นสัญญาณของการเริ่มต้นปีใหม่ตามประเพณีดั้งเดิมของไทย ซึ่งจะเกิดขึ้นในช่วงกลางเดือนเมษายนหลังฤดูเก็บเกี่ยว
เป็นช่วงเวลาที่ผู้คนกลับมาอยู่รวมกันกับครอบครัว ทำการสักการะพระพุทธรูป พระสงฆ์ ตลอดจนบรรพบุรุษ ญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว และทำความเคารพญาติผู้ใหญ่ พ่อแม่ที่ยังมีชีวิตอยู่
การสรงน้ำพระ การทำบุญ การรดน้ำดำหัวญาติผู้ใหญ่จึงถือว่าเป็นประเพณีที่สำคัญในช่วงสงกรานต์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการชำระล้าง การแสดงความนับถือ และเจริญรุ่งเรืองในชีวิต
กิจกรรมสำคัญในเทศกาลนอกจากการเล่นสาดน้ำเพื่อดับร้อนแล้วก็ยังการสรงน้ำพระ การรดน้ำดำหัวญาติผู้ใหญ่ครอบครัว ซึ่งถือว่าเป็นการให้ความสำคัญกับครอบครัวและญาติพี่น้องเพื่อนฝูง
การจัดขบวนแห่นางสงกรานต์ การก่อเจดีย์ทราย การละเล่นพื้นบ้าน การแสดงต่าง ๆ และงานเลี้ยงที่จะจัดขึ้นอย่างเรียบง่ายในครอบครัว
ประเพณีสงกรานต์นี้ได้รับการสืบทอดผ่านการมีส่วนร่วมในงานเฉลิมฉลองของคนในสังคม
ทั้งการที่ผู้หลักผู้ใหญ่ถ่ายทอดประเพณีนี้ให้เด็ก ๆ ทราบผ่านการสั่งสอน พูดคุย บอกเล่าเรื่องเล่าตำนานของเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งทำกันในสังคมเป็นวงกว้างและครอบครัวอยู่เป็นประจำ
ทั้งสถาบันการศึกษา หน่วยงานราชการ สื่อมวลชน และโหรในไทยก็มีบทบาทสำคัญในการอนุรักษ์ การส่งเสริม และการถ่ายทอดความรู้และภูมิปัญญาทางด้านโหราศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสงกรานต์ในประชาชนรับรู้
เทศกาลสงกรานต์นี้ยังส่งเสริมความร่วมมือของคนในชุมชน ในเรื่องของความสามัคคีและการให้อภัย ซึ่งเชื่อกันว่าช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่ศักดิ์สิทธิ์ที่จะสามารถชำระล้างโชคร้ายให้ออกไปจากชีวิตและอธิษฐานขอให้มีความเจริญรุ่งเรืองในปีที่จะมาถึงได้ การให้อภัย การสามัคคีกันนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ความมงคลนั้นเกิดขึ้นมา
ทั้งการกลับมาอยู่ร่วมกันของสมาชิกในครอบครัว และการให้เกียรติบรรพบุรุษ ญาติพี่น้องที่ล่วงลับ และผู้สูงอายุในบ้าน
นอกจากนี้สงกรานต์ยังส่งเสริมให้ตระหนักถึงความสำคัญของผู้สูงอายุและสถาบันครอบครัว เพื่อช่วยต่อสู้กับความเงียบเหงาและความโดดเดี่ยวทางสังคม





