การรีไฟแนนซ์บ้านทำอย่างไรได้บ้าง เคล็ดลับการผ่อนบ้านให้ถูกลง
เศรษฐกิจในช่วงนี้กำลังฟื้นตัว สำหรับคนมีบ้านที่ต้องติดตามข่าวสารเรื่องดอกเบี้ยเป็นประจำคงรู้กันแล้ว ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการออกมาประกาศขึ้นดอกเบี้ยเรียบร้อย ถือเป็นข่าวที่ไม่ค่อยดีสักเท่าไหร่สำหรับคนที่กำลังผ่อนบ้านอยู่ เพราะมันจะทำให้ภาระหนี้สินบ้านของเราเพิ่มขึ้นตามไปด้วย การรีไฟแนนซ์บ้านจึงเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ช่วยให้เราสามารถผ่านพ้นวิกฤตดอกเบี้ยพุ่งสูงได้ ผมเลยจะพาทุกคนมาดูกันว่าการรี ไฟแนนซ์ คืออะไร มีวิธีการยังไง และเราสามารถทำได้หรือไม่
การรีไฟแนนซ์บ้านคืออะไร
การรีไฟแนนซ์บ้านเป็นเรื่องที่ไม่ได้ยุ่งยากอย่างที่เพื่อน ๆ หลายคนคิด แถมมันยังเป็นตัวช่วยชั้นดีที่ทำให้เราผ่อนบ้านสบายขึ้นกว่าเดิม นั่นก็เป็นเพราะว่ารีไฟแนนซ์บ้าน คือ การที่เราไปขอสินเชื่อบ้านของเรากับธนาคารใหม่นั่นเอง
การที่เราไปขอสินเชื่อบ้านกับธนาคารใหม่จะช่วยลดภาระหนี้สินที่มีอยู่ และช่วยให้ภาระดอกเบี้ยของเราลดน้อยลงกว่าเดิมอีกด้วย เพราะธนาคารที่ให้บริการรีไฟแนนซ์บ้านย่อมมีโปรโมชันที่น่าดึงดูดไปให้เราไปสมัคร ไม่ว่าจะเป็นดอกเบี้ยต่ำลงกว่าเดิม สามารถยืดระยะเวลาในการผ่อนชำระออกไปได้ สามารถขอสินเชื่อในวงเงินตามราคาประเมินเพื่อเอาเงินส่วนต่างไปใช้ หรือจะขอวงเงินเทียบเท่ากับหนี้สินที่เหลืออยู่ก็ได้เหมือนกัน
การรีไฟแนนซ์มีข้อดีอะไร
คำถามชวนสงสัยมากที่สุด ที่เชื่อว่าหลายคนอยากรู้ก็คือการรีไฟแนนซ์บ้าน ดีไหม เพราะการขอสินเชื่อกับธนาคารใหม่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายถึงขนาดนั้น ยกเว้นว่าทุกคนใช้บริการกับ Refinn บอกเลยว่าสะดวกสบายสุด ๆ เท่ากับว่าเราได้ลดดอกเบี้ยโดยที่แทบจะไม่ต้องดำเนินการอะไรเองเลยด้วยซ้ำไป เหตุผลต่อมาที่จะทำให้หลายคนตัดสินใจว่าควรใช้วิธีการรีไฟแนนซ์บ้านดีหรือไม่ ก็คือมันคุ้มค่ามากพอหรือเปล่า เราเลยจะพาทุกคนไปดูข้อดีของการรีไฟแนนซ์กัน
1.ช่วยลดภาระดอกเบี้ย
เป็นเหตุผลหลักที่ทำให้หลายคนตัดสินใจอยากรีไฟแนนซ์บ้าน เพราะมันช่วยให้เราสามารถลดภาระดอกเบี้ยบ้านได้มากขึ้นกว่าเดิมนั่นเอง ในช่วงแรกเราอาจรู้สึกว่าดอกเบี้ยก็ไม่ได้แพงขนาดนั้น เพราะสินเชื่อบ้านส่วนใหญ่ 1-3 ปีแรกมักเป็นอัตราดอกเบี้ยต่ำ แถมยังเป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่อีกต่างหาก แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่ก้าวเข้าสู่ปีที่ 4 เมื่อนั้นความเป็นจริงก็จะปรากฏตรงหน้าของเรา มันคงดีกว่าถ้าเราเปลี่ยนไปกู้กับเจ้าหนี้รายอื่นที่ดอกเบี้ยถูกกว่า เพราะมันช่วยให้เราสามารถปิดหนี้ได้เร็วขึ้น แถมยังช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายอีกต่างหาก
2.ได้เงินส่วนต่างเอาไปใช้
การรีไฟแนนซ์สามารถเลือกได้ว่าจะขอสินเชื่อด้วยวงเงินเท่าไหร่ สำหรับใครที่อยากปิดหนี้เร็วก็ขอสินเชื่อตามจำนวนหนี้สินที่เหลืออยู่ได้เลย แต่สำหรับใครที่อยากได้เงินมาลงทุนหรือเก็บสำรองยามฉุกเฉิน เราก็สามารถขอสินเชื่อแบบเต็มวงเงินได้เหมือนกัน เราก็จะได้เงินส่วนต่างก็นี้ไปใช้ตามอเนกประสงค์ได้เลย
3.ช่วยเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน
ถ้าภาระดอกเบี้ยลดลง ภาระค่างวดแต่ละเดือนน้อยลงกว่าเดิม หรือเราผ่อนชำระได้ยาวนานมากขึ้นกว่าเดิมไปอีก มันก็จะช่วยให้เรามีสภาพคล่องทางการเงิน ไม่ต้องตึงมือทุกสิ้นเดือนเวลาจ่ายค่าบ้านอีกต่อไป มีเงินเก็บไว้กินไว้ใช้ หรือจะนำเอาไปลงทุนเพื่อให้งอกเงยขึ้นมาก็ยังได้
4.ช่วยให้ปิดหนี้เร็วขึ้น
สำหรับใครที่อยากจะปิดหนี้เร็วขึ้นบอกเลยว่าต้องห้ามพลาด เพียงแค่เราขอสินเชื่อกับธนาคารแห่งใหม่เท่ากับหนี้สินที่เหลืออยู่ ไม่ต้องยืดระยะเวลาการผ่อนชำระออกไป หวังผลเพียงแค่ดอกเบี้ยที่น้อยลงกว่าเดิม ก็จะช่วยให้เราสามารถปิดหนี้ได้เร็วมากขึ้นหลายปีเลยทีเดียว
การรีไฟแนนซ์ควรทำเมื่อไหร่ แล้วทำกับธนาคารเดิมได้ไหม
สำหรับใครที่สนใจอยากใช้วิธีการรีไฟแนนซ์บ้านเพื่อลดภาระดอกเบี้ย โดยปกติแล้วก่อนที่จะสามารถรีไฟแนนซ์ได้ เราต้องดูก่อนด้วยว่าสัญญาการขอสินเชื่อบ้านกับธนาคารแรกหมดอายุไปหรือยัง ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วก็จะกำหนดไว้ที่ 3 ปี
ถ้าเราอยากจะรีไฟแนนซ์ก่อนที่สัญญาจะหมดอายุลง ความจริงก็สามารถทำได้ แต่ว่าเราจะต้องเสียค่าธรรมเนียม เพราะฉะนั้นถ้าในช่วง 3 ปีแรกเรายังได้ดอกเบี้ยคงที่อยู่ ค่อยไปรีไฟแนนซ์หลังจากนั้นก็ได้ เขาจะช่วยให้เราประหยัดค่าธรรมเนียมได้มากขึ้นกว่าเดิม
เพื่อน ๆ หลายคนคงสงสัยว่าถ้าอย่างนั้นเรารี ไฟแนนซ์ บ้าน ธนาคาร เดิมได้ไหม เพราะถ้ามันสามารถทำได้ เราก็ไม่ต้องเตรียมตัวและเอกสารให้วุ่นวายยุ่งยาก แต่ในความเป็นจริงแล้วปกติไม่ค่อยมีใครจะทำกันสักเท่าไหร่ ที่สำคัญมันไม่ได้เรียกว่าการรีไฟแนนซ์ แต่จะเรียกว่ารีเทนชัน เป็นการที่เราไปเจรจากับธนาคารแห่งเดิมของเราว่าขอปรับลดอัตราดอกเบี้ยบ้านได้ไหม วิธีการนี้จะได้ผลดีก็ต่อเมื่อเราขอสินเชื่อบ้านด้วยดอกเบี้ยที่ราคาประหยัดอยู่แล้ว ถึงจะปรับเป็นดอกเบี้ยลอยตัวแล้วก็ตาม และธนาคารยื่นข้อเสนอที่น่าสนใจมากพอ เพราะโดยปกติแล้ววิธีการนี้ส่วนใหญ่ดอกเบี้ยที่ออกมาก็ยังคงสูงกว่าการรีไฟแนนซ์อยู่ดี
การรีไฟแนนซ์บ้านมีขั้นตอนอะไรบ้าง
สำหรับมือใหม่เพิ่งซื้อบ้าน อาจมองว่าการรีไฟแนนซ์บ้านจะต้องมีขั้นตอนที่ยุ่งยากแน่นอน เพราะเมื่อลองศึกษาว่าการรีไฟแนนซ์บ้าน ทําอย่างไร เราก็จะเห็นขั้น ตอน การ รี ไฟแนนซ์ บ้านมากมายเต็มไปหมดจนชวนปวดหัว แต่ปัญหานี้จะหมดไปถ้าเพื่อน ๆ เลือกใช้บริการกับทาง Refinn เพราะเราจะเป็นผู้ดำเนินการทุกอย่างให้กับทุกคนเอง โดยขั้นตอนหลัก ๆ มีดังนี้
1.ตรวจสอบสัญญาฉบับเก่า
ก่อนที่จะตัดสินใจว่าจะรีไฟแนนซ์ดีไหม อันดับแรก เราขอแนะนำให้เพื่อน ๆ หยิบสัญญาสินเชื่อบ้านกับธนาคารแห่งแรกขึ้นมาอ่านให้ดีก่อน ดูว่าเรายังเหลือระยะเวลาก่อนหมดอายุสัญญามากน้อยแค่ไหน หรือเราผ่อนจนครบอายุสัญญาแล้ว สามารถรีไฟแนนซ์ได้เลยทันทีโดยไม่ต้องเสียค่าเบี้ยปรับ เงินที่เหลืออยู่เท่าไหร่ อัตราดอกเบี้ยมากน้อยแค่ไหน และระยะเวลาผ่อนชำระเหลืออีกนานไหม มันจะช่วยให้เราสามารถตัดสินใจได้ว่าจะมีไฟแนนซ์ดีหรือไม่ และการรีไฟแนนซ์จะคุ้มค่ากับการเสียเวลาของเราหรือเปล่า
- เลือกธนาคาร
รีไฟแนนซ์บ้านธนาคารไหนดีเป็นคำถามต่อมาที่เราต้องพิจารณาให้ดี เพราะเราจะได้เงื่อนไขตามความต้องการไหม ก็ขึ้นอยู่กับว่าเราเลือกธนาคารที่ตอบโจทย์ความต้องการของเรามากน้อยแค่ไหน ให้เราอ้างอิงจากดอกเบี้ยและระยะเวลาในการผ่อนชำระ ให้คำนวณดูว่าคุ้มค่ามากกว่าจริงหรือเปล่า เป็นขั้นตอนที่อาจจะต้องใช้เวลา เพราะบางทีบางช่วงเวลาอาจไม่มีโปรโมชันที่น่าสนใจ แต่ถ้าเราเราไปอีกสักพักนึงธนาคารก็จะออกโปรใหม่ ๆ มาที่อาจตอบโจทย์ความต้องการของเราเหมือนกัน
- เตรียมเอกสาร
หลังจากที่เราได้ธนาคารแห่งใหม่ที่เราพึงพอใจเรียบร้อยแล้ว ต่อมาก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการเตรียมเอกสาร สามารถเตรียมเอกสารตามที่เราแนะนำในหัวข้อถัดไปได้เลย เราขอแนะนำว่าเตรียมให้ครบ ตรวจสอบเอกสารให้ถูกต้องทั้งหมด เพราะนอกจากมันจะช่วยให้การดำเนินการของธนาคารรวดเร็วและง่ายดายมากขึ้น ยังเป็นการเพิ่มความน่าเชื่อถือของเราอีกด้วย
2.ยื่นขอรีไฟแนนซ์บ้าน
เมื่อกายพร้อม ใจพร้อม ทุกคนก็สามารถหยิบเอกสารเดินทางไปติดต่อกับธนาคารที่เราต้องการได้เลย หลังจากนั้นก็เพียงแค่รอเจ้าหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับเอกสารและเข้าสู่ขั้นตอนการพิจารณาเท่านั้น
3.ทำสัญญา
หลังจากที่ธนาคารแห่งใหม่อนุมัติสินเชื่อให้กับเราเรียบร้อยแล้ว ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการทำสัญญาที่เราต้องดูรายละเอียดให้ครบถ้วนเรียบร้อย เพื่อป้องกันไม่เกิดข้อผิดพลาดที่อาจตามมาในอนาคต หลังจากที่เราได้เงินแล้วก็แค่นำเอาเงินที่ได้ไปปิดหนี้กับธนาคารเก่า จากนั้นก็สามารถเริ่มผ่อนชำระกับธนาคารใหม่ได้เลย
เอกสารที่ใช้ในการรีไฟแนนซ์บ้าน
การรีไฟแนนซ์บ้านอาจเป็นเรื่องยุ่งยากในความคิดของเพื่อน ๆ หลายคน แต่ความจริงแล้ววิธี รี ไฟแนนซ์ บ้านไม่ได้ยากเย็นอะไรถึงขนาดนั้น สิ่งที่น่าปวดหัวมากที่สุดก็คงจะเป็นการเตรียมเอกสาร แต่ถ้าเราเตรียมให้พร้อมและครบถ้วน การดำเนินการตามขั้นตอนขอรีไฟแนนซ์ก็จะง่ายและรวดเร็วมากขึ้นกว่าเดิมไปด้วย โดยเอกสารที่เราจะต้องเตรียม มีดังนี้
- เอกสารส่วนบุคคล
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
- สำเนาใบทะเบียนบ้าน
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของคู่สมรส
- สำเนาทะเบียนบ้านของคู่สมรส
- เอกสารการเงิน
- สำหรับผู้มีรายได้ประจำหรือมีเงินเดือน
- สลิปเงินเดือนย้อนหลังตั้งแต่ 3 เดือน ถึง 6 เดือน แล้วแต่ธนาคารกำหนด
- หนังสือรับรองการทำงานที่ออกให้โดยนายจ้าง
- สำเนารับรองการหักภาษี 50 ทวิ
- สำหรับผู้ประกอบกิจการส่วนตัว
- สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนการค้า
- สำเนาบัญชีระบุรายชื่อผู้ถือหุ้น
- สำเนารายการเดินบัญชีย้อนหลังตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป
- สำเนาแบบแสดงภาษีซื้อและภาษีขาย ภ.พ.30
- เอกสารหลักประกันรีไฟแนนซ์
- สำเนาโฉนดที่ดิน หรือหนังสือกรรมสิทธิ์ เอกสารที่มีความเกี่ยวข้องและบ่งชี้ถึงหลักทรัพย์ค้ำประกัน
- สำเนาสัญญาซื้อขาย หรือสำเนาสัญญาให้ที่ดิน ทด.13 หรือทด.14 หรือสำเนาสัญญาซื้อขายห้องชุด
- สำเนาสัญญาเงินกู้จากธนาคารแห่งแรก
- สำเนาสัญญาการจำนองที่ดิน
- สำเนาใบเสร็จที่แสดงธุรกรรมเกี่ยวข้องกับบ้าน
- หากมีผู้กู้ร่วม มีการเปลี่ยนชื่อนามสกุล จะต้องใช้เอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง อย่างเช่นใบเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล และเอกสารประจำตัวบุคคล
การรีไฟแนนซ์มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง
การรีไฟแนนซ์บ้านอาจช่วยให้เราประหยัดมากกว่าเดิมก็จริง แต่การทำธุรกรรมการเงินอย่างการ รี ไฟแนนซ์ก็มีค่าใช้จ่ายที่เราต้องเตรียมตัวด้วยเหมือนกัน ดังนี้
- เบี้ยปรับกรณีไถ่ถอนก่อนกำหนด
อย่างที่เราบอกไปข้างต้นว่าถ้าสัญญาเงินกู้อันเดิมของเรายังไม่หมดอายุลง หรือโดยส่วนใหญ่แล้วยังไม่เกิน 3 ปี ถ้าเราต้องการที่จะรีไฟแนนซ์ก่อน เราก็จะต้องเสียค่าปรับตั้งแต่ 0% ถึง 3% จากวงเงินกู้เดิม เงื่อนไขดังกล่าวจะถูกระบุเอาไว้ในสัญญาเงินกู้แล้ว ให้เราตรวจสอบดูก่อนว่าเราสามารถไถ่ถอนก่อนกำหนดโดยไม่เสียค่าเบี้ยปรับได้หรือยัง หรือถ้าหากต้องการไถ่ถอนก่อนกำหนด ก็ให้พิจารณาดูว่าค่าเบี้ยปรับที่เสียไปจะคุ้มค่ามากพอหรือไม่
- ค่าธรรมเนียมจดจำนอง
เป็นค่าธรรมเนียมที่เราต้องจ่ายให้กับกรมที่ดิน เป็นจำนวนเงิน 1% จากวงเงินกู้ใหม่
- ค่าประเมินราคาสินทรัพย์
กรมที่ดินจะมีค่าใช้จ่ายในการประเมินราคาสินทรัพย์ตั้งแต่ 0.25% ถึง 2% จากราคาประเมิน เริ่มต้นที่ประมาณ 1,500 บาทไปจนถึง 10,000 บาท
- ค่าธรรมเนียมการปล่อยเงินกู้
บางธนาคารอาจมีค่าธรรมเนียมดังกล่าวประมาณ 0% ถึง 3% จากวงเงินกู้ใหม่ แต่บางธนาคารก็อาจจะไม่มีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้เช่นกัน
- ค่าอากรแสตมป์
เป็นค่าใช้จ่ายที่จะช่วยให้การทำสัญญามีผลตามกฎหมาย เท่ากันทุกธนาคารนั่นก็คือ 0.05% จากวงเงินกู้ใหม่
- ค่าประกันอัคคีภัย
แต่ละธนาคารจะมีอัตราค่าประกันที่แตกต่างกัน เป็นการประกันกรณีเกิดเหตุอัคคีภัยจนทำให้ทรัพย์สินที่เราใช้ในการค้ำประกันเพื่อขอสินเชื่อได้รับความเสียหาย
สรุปการรีไฟแนนซ์บ้าน
สรุปแล้ว การรีไฟแนนซ์บ้านเป็นหนึ่งในวิธีการที่ช่วยลดภาระเรื่องหนี้สินบ้านได้เป็นอย่างดี ช่วยลดทั้งดอกเบี้ย ภาระค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน เพราะเราสามารถยืดระยะเวลาการผ่อนชำระออกไปได้ แถมยังอาจได้ส่วนต่างเอามาใช้จ่ายหรือลงทุนอีกด้วย
สำหรับเพื่อน ๆ คนไหนที่ไม่อยากปวดเศียรเวียนเกล้ากับการเลือกโปรโมชันของแต่ละธนาคารที่มีเยอะแยะเต็มไปหมด Refinn เขาก็ได้รวบรวมข้อมูลทุกสิ่งที่ทุกคนต้องการเอาไว้เรียบร้อยแล้ว สามารถเข้าไปหาข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจ หรือบริการอื่น ๆ เพิ่มเติม ได้ที่www.refinn.com