"วิทยุ"เครื่องแรกของโลก
วิทยุเครื่องแรกของโลกถูกคิดค้นขึ้นโดยนักประดิษฐ์ชาวอิตาลีชื่อว่า กูลิเอลโม มาร์โคนี (Guglielmo Marconi) เป็นครั้งแรกในปีที่ทวีปอเมริกา โดยเครื่องนี้สามารถรับ-ส่งสัญญาณคลื่นวิทยุโทรเลขได้ไกลถึง 2000 ไมล์ข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก ซึ่งในสมัยนั้นนับว่าเป็นระยะทางที่ไม่น่าเชื่อได้ในโลกที่ยังไม่มีการเชื่อมต่อไร้สายอยู่เลย เมื่อเสร็จสิ้นการประดิษฐ์นี้ เขาได้ยื่นขอจดทะเบียนเป็นเจ้าของสิทธิบัตร ทำให้เครื่องนี้กลายเป็น วิทยุเครื่องแรกของโลก ที่ถือกำเนิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 19
ในยุคแรก ๆ ของการพัฒนาทางเทคโนโลยีวิทยุ การรับ-ส่งสัญญาณวิทยุยังไม่สามารถส่งสัญญานเสียงพูดได้ เป็นช่วงเวลาที่ท้าทายและต้องการความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาเทคโนโลยีในด้านนี้ ภายหลังนี้ได้รับการพัฒนาโดยศาตราจารย์ เรจินัลต์ เอ. เพสเสนเดน (Riginald A. Fessenden) และ ลี เดอ ฟอเรส (Lee de Forest) ซึ่งทำให้เกิดการพัฒนาทางด้านการสื่อสารที่น่าทึ่งในอดีต
การพัฒนานี้ทำให้วิทยุสามารถส่งสัญญาณเสียงพูดไปยังเครื่องรับได้ โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพลังงานจากอุปกรณ์ภายนอก แต่ในระยะต้น ๆ การส่งสัญญาณยังขึ้นอยู่กับพลังงานของอุปกรณ์ที่ใช้ส่งคลื่น ถึงยังงั้น ความสามารถในการสื่อสารทางไกลโดยใช้เสียงได้ถูกเปิดโอกาสขึ้นมาในระยะทางหลายร้อยไมล์ ทำให้สามารถสื่อสารกันได้ในระยะทางที่ไกลมาก นี้เป็นสิ่งที่น่าทึ่งในยุคนั้น
ต่อมาได้กำเนิดเทคโนโลยีที่เรียกว่า แอมปลิฟายเออร์ (Amplifier) เป็นเทคโนโลยีในการขยายสัญณาณ ทำให้สามารถส่งคลื่นวิทยุได้ไปไกลมากขึ้น ทำให้การสื่อสารด้วยวิทยุนั้นสมบูรณ์ขึ้นเรียกได้ว่าปฏิวัติวงการสื่อสารในยุคนั้นเลยทีเดียว หลังจากที่สามารถส่งสัญณาณเสียง และขยายสัญณาณได้ไกลมาขึ้น ก็ได้มี สถานีวิทยุกระจายเสียงที่ได้ออกอากาศครั้งแรกของโลก ที่เริ่มออกอากาศเป็นรายการประจำให้กับคนทั่วไปได้รับฟัง มีชื่อว่า สถานี KCBS ในซานฟรานซิโก สหรัฐอเมริกา
ในยุคที่ผ่านมา วิทยุได้รับความนิยมอย่างมากเนื่องจากเป็นเครื่องมือที่มีความสามารถให้ความบันเทิงที่หลากหลาย ซึ่งรวมถึงบทละครวิทยุที่น่าสนใจ และการเล่นดนตรีสดผ่านช่องสัญญาณวิทยุเพื่อให้ผู้ฟังทั่วไปได้รับความบันเทิงอย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้เพิ่มเติมเต็ม ๆ ก็ยังมีความสามารถในการสื่อสารข่าวสารของรัฐบาลอย่างรวดเร็ว ทำให้ประชาชนสามารถรับข้อมูลได้ทันทีแบบไม่มีความล่าช้า เปรียบเสมือนกับการรับข่าวสารจากหนังสือพิมพ์ที่มีความล่าช้ากว่าเสียงวิทยุในยามสงครามนั่นเอง โดยในช่วงเวลานั้น เทคโนโลยีในการบันทึกเสียงลงแผ่นเสียงยังไม่ได้รับการพัฒนาอย่างครบถ้วน เพราะฉะนั้น วิทยุกลายเป็นตัวกลางที่สำคัญในการสื่อสารและบันเทิงในสังคมของเราใน
ยุคนั้น
ในปัจจุบัน ธุรกิจวิทยุและกระจายเสียงกำลังเผชิญกับผลกระทบจากการพัฒนาเทคโนโลยีที่เร็วขึ้นทุกวัน พฤติกรรมของผู้บริโภคก็เปลี่ยนไปตามไปด้วย บางช่องวิทยุจึงต้องปิดตัวลงไปเนื่องจากสภาพการณ์นี้ ในขณะที่บางช่องอื่น ๆ ก็ปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ใหม่โดยการนำสื่อออนไลน์มาใช้เพื่อเข้าถึงผู้ฟัง จากเพียงช่องวิทยุที่ต้องอาศัยการกระจายคลื่นวิทยุอย่างเดียว วิทยุออนไลน์ทำให้เราเห็นได้ว่าไม่จำเป็นต้องพึ่งพาการออกอากาศผ่านคลื่นวิทยุแล้ว แต่สามารถออกอากาศผ่านอินเตอร์เน็ตเพื่อเข้าถึงผู้ฟังได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ในยุคที่ผู้บริโภคมีส่วนเลือกมากขึ้นในการรับสื่อผ่านหลายช่องทาง ธุรกิจวิทยุกระจายเสียงก็ต้องเผชิญหน้ากับคำถามที่ว่าจะคงอยู่ได้นานเพียงใด? อย่างไรก็ตาม ในด้านการสื่อสารผ่านวิทยุ เรื่องนี้ยังคงมีความสำคัญอยู่ ไม่ว่าจะเป็นในกลุ่มทหาร ตำรวจ หน่วยกู้ภัย หรือที่ใช้ในงานออแกไนซ์ต่างๆ"