แหล่งขุดค้นทางโบราณคดีมนุษย์ปักกิ่ง โจวโข่วเตี้ยน วิถีดำรงชีวิตของมนุษย์ปักกิ่ง
แหล่งขุดค้นทางโบราณคดีมนุษย์ปักกิ่ง โจวโข่วเตี้ยน วิถีดำรงชีวิตของมนุษย์ปักกิ่ง
มนุษย์ปักกิ่งเป็นมนุษย์โบราณอีกสายพันธุ์ที่มีเกิดขึ้นบนโลกนี้ขุดพบเจอในประเทศจีนและแหล่งขุดพบก็ได้กลายเป็นมรดกโลกไปแล้วที่ชื่อว่าแหล่งขุดค้นทางโบราณคดีมนุษย์ปักกิ่ง โจวโข่วเตี้ยน
ทำไมมนุษย์ปักกิ่งเวลาเรามองแล้วหรือจากจินตนาการแล้วทำไมหน้ามันเหมือนลิงก็ไม่รู้....นะ...บ้างก็บอกว่ามนุษย์สืบเชื้อสายมาจากลิงไม่รู้ว่ามันจะเป็นจริงหรือเปล่า...แต่ยังไงๆมนุษย์ก็ยังไม่มีหางแล้วทำไมลิงมันถึงยังมีหางอยู่
ตกลงมนุษย์ปัจจุบันนี้สืบเชื้อสายหรือวิวัฒนาการมาจากมาอะไรกันแน่
แหล่งขุดค้นทางโบราณคดีมนุษย์ปักกิ่ง โจวโข่วเตี้ยน (จีนตัวย่อ: 周口店北京人遗址; จีนตัวเต็ม: 周口店北京人遺跡, โจวโข่วเตี้ยนเป่ยจิงเหรินอี๋จี่) คือแหล่งมรดกโลกที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงปักกิ่ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
เป็นแหล่งขุดค้นพบกระดูกของมนุษย์ปักกิ่ง ซึ่งมีชีวิตอยู่ประมาณ 200,000 ถึง 750,000 ปีก่อน
ค้นพบครั้งแรกเมื่อราวปี พ.ศ. 2464 - 2466 (ค.ศ. 1921 - 1923) โดยนักธรณีวิทยาชาวสวีเดน โยฮัน กันเนอร์ อันเดอส์สัน (Johan Gunnar Andersson)
แหล่งขุดค้นทางโบราณคดีมนุษย์ปักกิ่ง โจวโข่วเตี้ยน *
แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
มนุษย์ปักกิ่ง จัดอยู่ในยุคหินเก่า มีลักษณะเตี้ย หน้าสั้น หน้าผากต่ำ แบน คิ้วหนายื่นออก ปากยื่น คางสั้น จมูกแบน มนุษย์ปักกิ่งจะเสียชีวิตก่อนอายุ 14 ปี การเลี้ยงชีพของมนุษย์ปักกิ่งคือ การล่าสัตว์ การออกหาอาหารกันเป็นกลุ่ม ๆ
วิถีดำรงชีวิตของมนุษย์ปักกิ่ง มนุษย์ปักกิ่ง อาศัยอยู่ที่บริเวณภูเขาหลงกู่ซาน ในเขตโจวโข่วเตี้ยน เมื่อประมาณ 500,000 ปีก่อน มนุษย์ปักกิ่งสามารถเดินและยืนตัวตรงได้ พวกเขาอาศัยอยู่ในถ้ำธรรมชาติ ดำรงชีวิตด้วยการล่าสัตว์และหาผลไม้เป็นหลักยังไม่รู้จักการตัดเย็บเสื้อผ้าและการสร้างบ้าน มนุษย์ปักกิ่งสามารถใช้ไฟที่มาจากธรรมชาติได้ และได้นำไฟไปใช้ในถ้ำและคอยเติมฟืนเพื่อไม่ให้ไฟดับอีกด้วย
เครื่องมือหินของมนุษย์ปักกิ่ง มนุษย์ปักกิ่งจะสกัดแผ่นหินชิ้นใหญ่ให้กลาบเป็นเครื่องมือหิน มีเครื่องมือหินสองลักษณะคือ ลักษณะแบนเรียบ และลักษณะสามเหลี่ยมแหลมคม
ลักษณะแบนเรียบ มีความแหลมคมใช้ในการตัดไม้
ลักษณะสามเหลี่ยมแหลมคม ใช้ในการหั่นเนื้อสัตว์และขุดรากไม้
แหล่งขุดค้นทางโบราณคดีมนุษย์ปักกิ่ง โจวโข่วเตี้ยนได้ลงทะเบียนเป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 30 เมื่อปี พ.ศ. 2530 ที่กรุงวิลนีอุส ประเทศลิทัวเนีย ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังนี้
(iii) - เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
(vi) - มีความคิดหรือความเชื่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ หรือมีความโดดเด่นยิ่งในประวัติศาสตร์
อ้างอิงจาก: th.m.wikipedia.org/wiki/,worldcat.org/th/title/