หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

รัฐ เอกชน ประชาสังคม รวมพลังเปลี่ยนโลกได้อย่างยั่งยืน

โพสท์โดย anordinaryman

ช่วงหลายปีที่ผ่านมาประเด็นการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) กลายเป็นวาระแห่งชาติ โดยมีภาคเอกชนเป็นผู้นำในการขับเคลื่อน เริ่มจากการสร้างความตระหนักรู้ให้สังคมได้เข้าใจร่วมกันว่า โลกกำลังเดินหน้าไปบนแนวทางนี้อย่างไม่มีทางถอยกลับ

 

ในการเสวนาหัวข้อ "ปรับตัวอย่างไร ให้อยู่รอดอย่างยั่งยืน" ของงานมหกรรมด้านความยั่งยืน (SX 2023) เมื่อต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ผู้บริหารองค์กรชั้นนำของไทย ที่อยู่ในกลุ่มผู้ขับเคลื่อนแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน ได้แก่ คุณรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน), คุณศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด และ คุณฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ได้ร่วมกันถ่ายทอดประสบการณ์ ตั้งแต่ช่วงปรับองค์กรเข้าสู่แนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน จนถึงปัจจุบันที่เรียกได้ว่าอยู่ในช่วงของการเซ็ตตัว ที่พร้อมไปต่ออย่างหันหลังกลับไม่ได้ เพราะโลกต้องเดินไปบนมิติของความยั่งยืนอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง เป็นยุคที่ต้องไปด้วยกันทั้งซัพพลายเชน ไม่ใช่การไปคนเดียวหรือโตคนเดียวแบบยุคก่อน ซึ่งมิติของความยั่งยืนจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมายแบบ cross industry consolidation โดยเป็นการพัฒนาขีดความสามารถร่วมกันตลอดห่วงโซ่อุปทาน ดังนั้น การแชร์ข้อมูลครั้งนี้ จึงถือเป็นการเพิ่มความมั่นใจให้กับองค์กรอื่น ๆ ในภาคธุรกิจ ให้ต้องกล้าที่จะเร่งขยับตัว เพื่อให้รอดและรุ่งไปด้วยกันให้เร็วที่สุด

 

ผนึกกำลังทุกภาคส่วน รัฐต้องเป็นผู้นำ

 

ซีอีโอของทั้ง 3 องค์กร มีความเห็นสอดคล้องกันในหลายประเด็น โดยเฉพาะประเด็นที่มองว่า ภาครัฐต้องเป็นผู้นำ เพราะ “ความยั่งยืน” เป็นเรื่องใหญ่ มีผลกระทบในวงกว้างต่อทุกภาคส่วน ดังนั้น ภาครัฐจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้ามามีส่วนร่วม ที่สำคัญต้องเล่นบทผู้นำ เพราะหลายเรื่องต้องเปลี่ยนแปลง จึงต้องการให้รัฐกำหนดเป็นนโยบายและวางแนวทาง เพื่อให้ภาคส่วนอื่น ๆ รวมทั้งภาคประชาสังคม ต้องเดินตามไปในทิศทางเดียวกัน ในรูปแบบของการทำงานเป็นทีม

 

“เรื่องความยั่งยืน รัฐไม่เข้ามามีส่วนร่วมไม่ได้ ยืนเชียร์อยู่เฉย ๆ ก็ไม่ได้ เพราะเรื่องนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่มาก เปรียบเทียบกับเมื่อก่อนที่เป็นการผลิตแบบเส้นตรง (Linear) ผลิต-ขาย-ใช้-ทิ้ง ต่อมาให้เปลี่ยนเป็นไม่ทิ้ง แต่ให้นำมารีไซเคิลใหม่ ก็ต้องมีการปรับตัว หลายเรื่องที่ต้องทำ ต้องเปลี่ยนแปลงที่นโยบาย ทุกฝ่ายต้องทำงานเป็นทีม ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม” คุณรุ่งโรจน์ กล่าว

 

ในส่วนของภาคธุรกิจนั้น ทุกคนมีโจทย์เดียวกัน มีปัญหาเหมือนกัน โดยเฉพาะเมื่อเพิ่มมิติของความยั่งยืนเข้าไปในธุรกิจแล้ว จะพบกับความท้ายทายทางด้านต้นทุนการเงิน ซึ่งเป็นมิติที่ไม่สัมพันธ์กัน จึงทำให้หลายองค์กรต้องชะงัก ไม่สามารถไปต่อได้ จุดนี้เองที่องค์กรขนาดใหญ่ที่มีประสบการณ์มาแล้ว สามารถแนะนำแนวทางให้องค์กรอื่น ๆ ที่กำลังขยับตัวได้เดินต่อไปได้ ซึ่งทำให้เห็นว่า การผนึกกำลังกันจะเป็นพลังมหาศาลที่จะช่วยขับเคลื่อนภาคธุรกิจให้รอดไปด้วยกัน เพราะบริษัทขนาดใหญ่ต้องเชื่อมโยงกับซัพพลายเออร์ที่เป็นบริษัทขนาดเล็กลงมา ดังนั้น ทั้งองคาพยพจึงต้องปรับตัวไปด้วยกัน ไม่เช่นนั้นผลกระทบจะตามมามากมายต่อทั้งซัพพลายเชน เป็นจุดที่บริษัททุกขนาดต้องจับมือไปด้วยกัน ทิ้งใครไว้ข้างหลังไม่ได้เลย

 

คนรุ่นเก่าต้องถอย ให้คนรุ่นใหม่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง

 

นอกจากนี้ ทุกคนยังเห็นร่วมกันว่า ภารกิจด้านความยั่งยืน จำเป็นที่จะต้องให้คนรุ่นใหม่เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานและการตัดสินใจ จะทำให้การทำงานไปข้างหน้าได้ง่ายขึ้น เพราะอนาคตเป็นของพวกเขา โดยผู้นำรุ่นเก่าต้องปรับตัวไปเป็น Facilitator หรือผู้สนับสนุนแทน ซึ่งกระบวนการด้านความยั่งยืนเป็นเรื่องใหม่ ที่เข้าใจยากและทำยาก จึงต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนรู้ ไปสู่รูปแบบของ Project-Based Learning ซึ่งเป็นวิธีที่ถูกจริตคนรุ่นใหม่

 

“ในยุคอุตสาหกรรม 2.0 ผู้นำองค์กรเป็นผู้สร้างการเปลี่ยนแปลง แต่ในโลกยุคต่อไป ผู้นำเหล่านี้จะกลายเป็นผู้สนับสนุน และคนรุ่นใหม่จะเป็นผู้สร้างการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น เนื้อหาเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่มีถึง  17 เป้าหมาย (Sustainable Development Goals - SDGs) ควรจะถูกบรรจุเข้าไปในระบบการศึกษาของทั้งโลก นอกจากนี้ กระบวนการเรียนการสอน ควรปรับเปลี่ยนรูปแบบ ไปเป็นการเรียนรู้จากการลงมือทำ (Action-based Learning หรือ Project-based  Learning) จากปัญหาต่าง ๆ ที่มีมากมาย ซึ่งทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้และจับต้องได้ เพราะเด็กจะรับรู้จากการสอนได้แค่ 20% อีก 80% จะรับรู้ได้จาก Action-based”  คุณศุภชัย กล่าว

 

ย้ำการทำงานเป็นทีม ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

 

สาระสำคัญของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) สามารถสรุปสั้น ๆ ได้ว่า “ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” ดังนั้น การจะบรรลุเป้าหมายนี้ จึงต้องให้ความสำคัญกับการสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วน โดยภาครัฐต้องวางเป้าหมายด้านความยั่งยืนที่ชัดเจนโปร่งใส เปิดเผยข้อมูลนำเสนอต่อสาธารณะ และมีตัวชี้วัดที่ตรวจสอบได้ เพื่อให้ภาคส่วนอื่น ๆ ที่เหลือรู้ว่าต้องไปต่ออย่างไร

 

“ที่ผ่านมา ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน จะเป็นแบบ PPP หรือ Public-Private Partnership แต่ปัจจุบันต้องเพิ่มเป็น PPPP คือ Public-Private-People Partnership ซึ่งผมเชื่อว่า Partnership Model จะเป็นตัวพลิกกระดานในการดำเนินธุรกิจ โดยจากนี้ไปอีกประมาณ 2 ปี (2025) จะเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบอีกมากมาย” คุณฐาปน กล่าว

 

นอกจากนี้ ยังมีการเปรียบเทียบการปรับตัวให้อยู่รอดอย่างยั่งยืนของภาคธุรกิจ ใน 3 สถานการณ์ คือ “วิง-ซ่อน-สู้ โดย “วิ่ง” สะท้อนสถานการณ์ที่ภาคธุรกิจถูกกระทบจากการเปลี่ยนแปลง ทำให้ต้องตื่นตัว ตื่นรู้ สามารถมองเห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และมีความเข้าใจถึงเมกกะเทรนด์ว่าไปในทิศทางไหน “ซ่อน” สะท้อนถึงความมีสติ มีความคิดวิเคราะห์ที่เป็นระบบ ครบถ้วน รู้ว่าเรื่องความยั่งยืนเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ และ “สู้” สะท้อนถึงการปรับตัว ว่าจะสู้แบบไหน จะปรับตัวอย่างไร ซึ่งการปรับตัวย่อมดีกว่าการอยู่เฉย ๆ โดยที่ไม่ทำอะไรเลย เพราะถ้าปรับตัวแล้ว ก็จะมีโอกาสรอดและอาจจะรุ่งได้ด้วย

 

ประเทศไทยจะต้องบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนภายในปีค.ศ. 2030 (พ.ศ. 2573) โดยก้าวพ้นกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลางขึ้นสู่ประเทศที่มีรายได้สูง มีการพัฒนาที่ครอบคลุม ยั่งยืน และมีภูมิคุ้มกันต่อวิกฤตต่าง ๆ ภายใต้กรอบความร่วมมือของทุกภาคส่วนในสังคม ตามหลักการของสหประชาชาติที่จะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ที่ผ่านมาจนถึงวันนี้ ทุกฝ่ายเกิดความตระหนักรู้ มีสัญญาณของความพร้อมในการเรียนรู้ ที่จะนำไปสู่การลงมือทำอย่างจริงจังมากขึ้น ซึ่งการเริ่มขยับโดยองค์กรขนาดใหญ่ ที่ผนึกกำลังกันเอาจริงเอาจัง ปรับเปลี่ยนองค์กรให้เห็นผลระดับหนึ่งก่อน แล้วช่วยกันผลักดัน ส่งเสริมองค์กรอื่น ๆ ในซัพพลายเชน ให้ค่อย ๆ ปรับตัวเปลี่ยนแปลงตาม ทำให้รู้สึกถึงความเป็นไปได้ ที่จะบรรลุเป้าประสงค์ที่วางไว้ ซึ่งจากนี้หากภาครัฐเร่งเครื่องด้านนโยบายให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น ความสำเร็จของไทยก็ไม่ใช่เรื่องยากเลย

โพสท์โดย: anordinaryman
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
anordinaryman's profile


โพสท์โดย: anordinaryman
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
5 VOTES (5/5 จาก 1 คน)
VOTED: yensabai
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
เขมรหัวใส! แอบอ้างฝีมือคนไทยด้วยการเอาภาพไปแปะธงเพื่ออวดชาวเขมรด้วยกันเอง?เขมรเอาจริงเผยท่า "หมัดตั๊กแตนพิฆาต" ใช้ฉกเข่า-ตัดเอ็นขา มวยไทยพิการเป็นแถวๆ..อ.รับรองชันจนได้ฉายา " สะพานรถไฟเหาะ "ตำนาน!!! Mongolian Death Worm(หนอนมรณะมองโกเลีย)ฝรั่งยังผวาความศักดิ์สิทธิ์ "วัดพระแก้ว " ของไทยพลิกชีวิตเด็กโดนบูลลี่..รวยเป็นเศรษฐีเพราะขนมถังแตกมิตรภาพต่างศาสนา..เมื่อสาวมุสลิมมางานบวชเพื่อนสนิทนักท่องเที่ยวขับรถลงหาดอีกแล้ว!เมื่อหนุ่มแต่งหน้าไม่เป็น..แต่อยากตามเทรนด์กับเขาดูบ้าง
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
พลิกชีวิตเด็กโดนบูลลี่..รวยเป็นเศรษฐีเพราะขนมถังแตกเขมรหัวใส! แอบอ้างฝีมือคนไทยด้วยการเอาภาพไปแปะธงเพื่ออวดชาวเขมรด้วยกันเอง?ตำรวจดักจับคารู หลังนักโทษร่วมกัน ขุดรูแหกคุก!!ตำนาน!!! Mongolian Death Worm(หนอนมรณะมองโกเลีย)
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
อยากเรียกแมวให้เข้าหา " ให้กระพริบตาช้าๆ "เจนนี่ " แมวพยากรณ์ " แห่งเรือไททานิกอาณานิคมผึ้งล่มสลาย เป็นวันที่ไม่มีโลกต่อไปsacred: ศักดิ์สิทธิ์
ตั้งกระทู้ใหม่