หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

มหาวิทยาลัยมหิดลพบอีกคุณสมบัติอันน่ามหัศจรรย์ของ "มอสส์ทองแดง" มอสส์หายาก สามารถใช้ในการบำบัดโลหะหนักได้

โพสท์โดย Man

มหาวิทยาลัยมหิดลพบอีกคุณสมบัติอันน่ามหัศจรรย์ของ "มอสส์ทองแดง" มอสส์หายาก สามารถใช้ในการบำบัดโลหะหนักได้

ข่าวดีสำหรับประเทศไทยนะครับที่สามารถค้นพบ "มอสส์ทองแดง" มอสส์หายาก สามารถใช้ในการบำบัดโลหะหนักได้ ซึ่งเหมาะในการนำมาใช้เป็นพืชบำบัดโลหะหนัก และดัชนีชีวภาพได้

มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ พบอีกคุณสมบัติอันน่ามหัศจรรย์ของ "มอสส์ทองแดง" (Rare copper moss; Scopelophila cataractae) ซึ่งเป็นชนิดมอสส์หายาก สามารถใช้ในการบำบัดโลหะหนักได้

รองศาสตราจารย์ ดร.วีระเดช มีอินเกิด อาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเกษตรและสิ่งแวดล้อม โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวถึงการค้นพบพืชจิ๋ว "มอสส์ทองแดง" ที่สามารถใช้ในการบำบัดโลหะหนัก

จนได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติหลายครั้งในเวลาต่อมาว่า โดยได้ค้นพบขณะลงพื้นที่ภาคสนามบริเวณน้ำตก - ลำธาร วัดผาลาด ดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมนักวิจัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำโดย อาจารย์ ดร.นรินทร์ พรินทรากุล

รองศาสตราจารย์ ดร.วีระเดช มีอินเกิด เล่าว่า ได้เก็บตัวอย่างมอสส์ทองแดง มาศึกษาต่อในห้องปฏิบัติการเพื่อดูโครงสร้าง และโอกาสการนำไปใช้ประโยชน์ โดยพบว่ามอสส์ทองแดง แม้จะจัดเป็น “พืชจิ๋ว” แต่ก็มีความทนทาน ปรับตัวได้ และสามารถใช้บำบัดโลหะหนักชนิดต่างๆ อาทิ ทองแดง และแคดเมียม เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้เป็นดัชนีชีวภาพเพื่อประเมินผลกระทบมลภาวะที่เกิดขึ้นจากมนุษย์

เนื่องด้วยมอสส์ทองแดง มีโครงสร้างที่ไร้ผนังเคลือบเซลล์ จึงทำให้สามารถดูดดึงเอาโลหะหนัก และสะสมเข้าไปเก็บไว้ในเซลล์ได้เป็นจำนวนมากถึงประมาณ 1 หมื่นมิลลิกรัมต่อ 1 กิโลกรัม (มิลลิกรัม/กิโลกรัม) ซึ่งถือว่ามีศักยภาพสูงกว่าพืชที่มีขนาดใหญ่กว่า

โดยทีมวิจัยยังดำเนินงานวิจัยเพื่อตรวจสอบศักยภาพของมอสส์อีกหลายชนิด ในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่ตาว อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ซึ่งมีรายงานการปนเปื้อนแคดเมียม และสังกะสี เป็นระยะเวลาหลายสิบปี จากการสำรวจ ยังพบมอสส์ชนิด Bryum coronatum ที่สะสมปริมาณสังกะสีในเนื้อเยื่อมากกว่า 300,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และ Philonotis thwitessii สะสมปริมาณแคดเมียมถึง 50 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ซึ่งเหมาะในการนำมาใช้เป็นพืชบำบัดโลหะหนัก และดัชนีชีวภาพได้

ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยมหิดล โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ จึงได้จัดบริการวิชาการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ประชาชนชาวนครสวรรค์ และผู้สนใจ ให้ได้เรียนรู้ถึงวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อขยายพันธุ์ "พืชจิ๋ว" เพื่อสร้างรายได้ และความยั่งยืนให้แก่ชุมชน

โพสท์โดย: Man
อ้างอิงจาก: วารสารวิชาการนานาชาติ,mahidol.ac.th
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
Man's profile


โพสท์โดย: Man
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
5 VOTES (5/5 จาก 1 คน)
VOTED: Lady Gagun
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
"ผู้บริหารมาม่าไขปริศนา ยอดขายพุ่งเพราะเศรษฐกิจแย่ หรือแค่คิดไปเอง?"6 วิธีเติมพลังใจในวันศุกร์ เพื่อเตรียมพร้อมรับวันหยุดสุดสัปดาห์เปิดตัวตำรวจสาว นางฟ้าผู้พิสูจน์หลักฐาน สวยและเก่ง ช่วยคลี่คลายคดีแอมไซยาไนด์แอฟ ทักษอร และ นนกุล คู่รักสุดอบอุ่น รับบทช่างภาพคู่ เฝ้ากองเชียร์ น้องปีใหม่ โชว์ความสามารถบนเวที
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
'ไทเลอร์ ติณณภพ' ลูกชาย 'ธานินทร์' ดาวเด่นยุค 80 สู่พระเอกยุคใหม่"วิธีใช้รีโมทแอร์ในโหมดต่าง ๆ เพื่อประหยัดค่าไฟฟ้า
กระทู้อื่นๆในบอร์ด รวมสาระบทความแบ่งปั่นกัน
สาเหตุของการฝันร้าย และ วิธีแก้ไขไม่ให้ฝันร้าย10 ข้อผิดพลาดเรื่องรถ เมื่อพาสาวออกเดทCraco เมืองโบราณที่ถูกภัยพิบัติถล่มเมืองซ้ำๆจนกลายเป็นเมืองร้างประวัติที่มาของขนมชั้น ขนมโบราณที่มีความสำคัญในงานพิธีมงคลต่างๆ
ตั้งกระทู้ใหม่