ป่าในประเทศไทยที่พบนกเงือกได้มากที่สุด
นกเงือก เป็นสัตว์ป่าสงวนที่ใกล้สูญพันธุ์ ซึ่งในประเทศไทยสามารถพบนกเงือกได้ประมาณ 13 ชนิด อาศัยอยู่ในป่าดงดิบของประเทศไทยที่มีทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์
นกเงือกเป็นนกขนาดใหญ่ อยู่ในวงศ์ Bucerotidae มีต้นกำเนิดมานานกว่า 45 ล้านปี ลักษณะของนกเงือกจะมีงอยปากที่หนา มีโหนกบนหัว พบได้ทั่วโลกกว่า 55 ชนิด นกเงือกจะทำรังอยู่โพรงไม้ตามต้นไม้ใหญ่
ป่าที่มีนกเงือกอาศัยอยู่ เป็นตัวชี้วัดถึงความอุดมสมบูรณ์ของป่านั้น เนื่องจากนกเงือกเป็นนกขนาดใหญ่ กินทั้งผลไม้และสัตว์เป็นอาหาร ป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์จะเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของนกเงือกและสัตว์ป่านานาชนิด
สำหรับป่าในประเทศไทยที่พบนกเงือกได้มากที่สุด คือ
1.เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา เป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของภาคใต้ตอนล่าง ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดยะลา และนราธิวาส เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าหลากหลายชนิด รวมถึงนกเงือก 9 ชนิด ได้แก่ นกเงือกปากย่น นกเงือกชนหิน นกแก๊ก นกกก นกเงือกหัวหงอก นกเงือกปากดำ นกเงือกหัวแรด นกเงือกดำ นกเงือกกรามช้าง
2.อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดนครนายก และจังหวัดสระบุรี ซึ่งนกเงือกที่พบในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่มีทั้งหมด 4 ชนิด ได้แก่ เงือกกรามช้าง นกกก นกแก๊ก นกเงือกสีน้ำตาลคอขาว
นอกจากนี้ยังสามารถพบนกเงือกได้ในป่าอื่นๆ ของประเทศไทย เช่น ป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบแล้ง ป่าดงดิบชื้น ป่าดงดิบเขา แต่เหลือจำนวนลดน้อยลง และกำลังใกล้สูญพันธุ์
อ้างอิงจาก: ข้อมูล/ภาพ วิกิพีเดีย,pixabay.com