แหล่งน้ำมันนำเข้าของประเทศไทย
แหล่งน้ำมันนำเข้าของไทย
ประเทศไทยมีการนำเข้าน้ำมัน ทั้งน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูป โดยนำเข้าน้ำมันดิบมากกว่า เพื่อนำมากลั่นเป็นน้ำมันสำเร็จรูป
แหล่งนำเข้าหลัก
- ตะวันออกกลาง ได้แก่ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซาอุดีอาระเบีย กาตาร์ และคูเวต
- ตะวันออกไกล ได้แก่ มาเลเซีย เวียดนาม และอินโดนีเซีย
- แหล่งอื่นๆ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา แองโกลา สหพันธรัฐรัสเซีย และอื่นๆ
ในปี 2566 ประเทศไทยมีปริมาณนำเข้าน้ำมันดิบเฉลี่ย 929,112 บาร์เรลต่อวัน โดยแบ่งเป็นการจัดหาจาก
- แหล่งตะวันออกกลาง 57% (สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, ซาอุดีอาระเบีย, กาตาร์, คูเวต และบางประเทศในแถบตะวันออกกลาง)
- แหล่งตะวันออกไกล (มาเลเซีย, เวียดนาม และอินโดนีเซีย)
- แหล่งอื่นๆ (สหรัฐอเมริกา, แองโกลา, สหพันธรัฐรัสเซีย และอื่นๆ)
การนำเข้าน้ำมันดิบของไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากความต้องการใช้น้ำมันในประเทศที่สูงขึ้น ประกอบกับการผลิตน้ำมันดิบภายในประเทศมีปริมาณน้อยและไม่เพียงพอต่อความต้องการ
แหล่งน้ำมันในประเทศมีเยอะ แต่ทำไมผลิตน้ำมันใช้เองได้น้อย?
ถึงแม้ประเทศไทยจะมีแหล่งน้ำมันในประเทศที่สามารถผลิตน้ำมันเองได้ แต่หลายคนอาจจะไม่รู้ว่าน้ำมันดิบที่ขุดขึ้นมานั้น ต้องผ่านการกลั่นกรองน้ำมันออกมาก่อนที่จะสามารถนำไปใช้งานได้ น้ำมันดิบบางสถานที่ขุดเจาะจะมีค่าโลหะหนักที่ปนเปื้อนสูงมาก โรงงานกลั่นของไทยเรายังไม่สามารถกลั่นมาใช้ได้ทั้งหมด ทำให้ผลิตได้ไม่เพียงพอต่อการใช้งาน
น้ำมันไทยทำไมต้องส่งออกทั้ง ๆ ที่นำมาใช้ได้?
1. น้ำมันดิบไม่เหมาะสมกับเทคโนโลยีของโรงกลั่น เช่น มีสารโลหะหนักสูง
2. น้ำมันดิบที่ผลิตได้ในประเทศมีลักษณะเบา เมื่อนำมากลั่นแล้วมีลักษณะไม่เหมาะกับความต้องการใช้ของคนในประเทศ ก็เลยต้องส่งออกสู่ประเทศอื่นๆ ข้อดีของการส่งออกคือการเพิ่มมูลค่าให้น้ำมันส่วนเกิน และทำให้ประเทศมีรายได้จากการส่งออกน้ำมัน และภาครัฐก็ได้จัดเก็บค่าภาษีนำไปหมุนเวียนในการบริหารภาคส่วนอื่น ๆ ในประเทศนั่นเอง