จังหวัดเดียวที่ขึ้นต้นด้วย ศ อดีตเคยจนที่สุดในประเทศไทย
จังหวัดศรีสะเกษ (Sisaket Province)
ประกอบด้วยประชากรหลายกลุ่มชนชาติพันธุ์
ได้แก่ เขมร กูย(กวย) ลาว และจีน โดยภาษาที่ใช้ ได้แก่
ภาษาไทย ภาษาไทยอีสาน ภาษาถิ่นเขมร
คำขวัญจังหวัดศรีสะเกษ
แดนปราสาทขอม หอมกระเทียมดี มีสวนสมเด็จ
เขตดงลำดวน หลากล้วนวัฒธรรม เลิศล้ำสามัคคี
จังหวัดศรีสะเกษตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
ของประเทศไทยหรือที่เรียกกันทั่วไปว่าภาคอีสานใต้
ศรีสะเกษมีพื้นที่ติดกับชายแดนประเทศกัมพูชา
และยังเป็นพื้นที่มีการปลูกเงาะ ทุเรียนที่มีชื่อเสียงของจังหวัดศรีสะเกษอีกด้วย
ประชากรส่วนมากประกอบอาชีพเกษตรกรรมโดยเฉพาะทำนาปลูกข้าหอมมะลิ
ปลูกมันสำปะหลัง ที่ได้คุณภาพสูงคือแหล่งปลูกหอมแดง เป็นส่วนใหญ่ของประเทศ
บางปีน้ำท่วม บางปีฝนก็ไม่ตก ด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้เกษตรกรศรีสะเกษ
กลายเป็นจังหวัดที่ “มีรายได้ต่อหัวประชากรน้อยที่สุด”
หลายคนน่าจะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าภาคอีสาน
ภูมิภาคขนาดใหญ่ที่สุดของไทยที่มีปัญหาเรื่องภัยแล้ง
หรือความทุรกันดานมาอย่างยาวนาน และในบรรดาจังหวัดมากมายในแดนอีสานนี้
ก็ยังมีจังหวัดหนึ่ง ซึ่งเคยดำรงตำแหน่ง "จังหวัดที่จนที่สุดในไทย" มาแล้ว
ซึ่งปัจจุบันได้พัฒนาขึ้นจนเสียตำแหน่งให้จังหวัดอื่นไปแล้ว
จังหวัดศรีสะเกษแบ่งการปกครองเป็น 2,557 หมู่บ้าน 206 ตำบล 22 อำเภอ
จำนวนประชากร (พ.ศ. 2565)โดยประมาณ1,454,730คน
ประชากรมีรายได้เฉลี่ยมากที่สุดประมาณ 61,932.86 บาทต่อคนต่อปี
โดยมีอำเภอที่มีรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีสูงสุดคือ
อำเภอยางชุมน้อย รายได้เฉลี่ยประมาณ75,343.98 บาทต่อคนต่อปี
และอำเภอที่มีรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีต่ำสุด คือ
อำเภอวังหิน รายได้เฉลี่ยประมาณ 54,067.71 บาทต่อคนต่อปี
แม้จังหวัดศรีสะเกษจะยังไม่ถือเป็นจังหวัดรายได้สูง แต่นี่ก็ถือเป็นสัญญาณที่ดี
ที่ชี้ให้เห็นว่ามีการพัฒนาขึ้นอย่างเห็นได้ชัดโดยภาพรวม