โรคซึมเศร้าอันตรายในวัยเด็กและทุกวัยที่ไม่อาจมองข้าม
โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่อันตรายชนิดหนึ่งก็ว่าได้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้เกิดได้จากหลายสาเหตุและอายุยังน้อยก็สามารถเป็นโรคนี้ได้เกิดขึ้นได้กับทุกคนไม่ว่าจะเป็นชายหรือเป็นหญิง และผู้ปวยโรคนี้ต้องรักษาอาการอย่างต่อเนื่อง
สาเหตุของการที่ทำให้ผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า มันเกิดจากความผิดปกติทางอารมณ์มันจะส่งลต่อความคิดและความรู้สึกของผุ้ป่วยที่เป็นดรคซึมเศร้าจะทำให้เกิดภาวะอารมณ์หมนหมองในใจ ทำให้บางทีไม่ค่อยสนใจสิ่งต่างๆ มีความคิดว่าชีวิตนี้อยู่ยากลำบากและรู้สึกว่าตัวเองนั้นไม่มีคุณค่า สภาวะแบบนี้ไม่ได้มีอาการเจ็บหรือป่วยกาย แต่เป็นสภาวะในจิตใจนั้นเอง
ซึ่งถ้าหากว่าตัวเองหรือคนใกล้ชิดรู้สึกถึงอาการเหล่านี้ควรพาเข้าบแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่าต่อเนื่องในการรักษาโรคนี้จะค่อนข้างใช้เวลานานคนป่วยอย่าพึ่งถอดใจจากการรักษาการรักษาจะมีอยู่2แบบคือการรักษาแบบทานยาและการรักษาแบบบำบัดจิตใจ
อาการของคนเป็นโรคซึมเศร้า
รู้สึกว่าชีวิตตัวเองว่างเปล่าและผิดหวังในชีวิต
พบปัญหาในการนอน เช่น นอนมากเกินไป หรือ นอนน้อยเกินไป
รู้สึกว่าเหนื่อยล้า ไม่มีความกระตื้อรื้อล้นในชีวิต
รู้สึกชีวิตไร้ค่าและโทษแต่ตัวเอง
คิดถึงแต่เรื่องความตาย และพยายามฆ่าตัวตายบ่อยๆ
ผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้านี้จะมีผลกระทบอย่างมากในการใช้ชีวิต และในสังคมการทำงานหรือสังคมในโรงเรียน
ภาวะซึมเศร้าที่เกิดขึ้นในเด็กหรือวัยรุ่นนั้นจะส่งมกระทบในด้านของอารมณ์อย่างรุ่นแรงละอาการซึมเศร้าของช่วงสองวัยนี้จะคล้ายๆกันแต่จะแตกต่างกันไปตามช่วงวัยนั้นเอง ในส่วนอาการซึมเศร้าของวัยเด็กนั้น จะมีอาการดังต่อไปนี้
มีอาการเศร้า มีอาการติดพ่อแม่ กังวน น้ำหนักตัวน้อย และไม่อยากไปโรงเรียนมีอาการปวดตามตัว
ส่วนอาการซึมเศร้าในวัยรุ่นนั้นก็จะมีอาการดังต่อไปนี้ รำคาญ หงุดหงิดง่าย และมองโลกในแง่ลบรู้สึกถึงความไร้ค่าในชีวิตนี้ รู้สึกว่าบนโลกใบบิดๆเบี้ยวๆนี้ไม่มีใครสักคนที่จะเข้าใจตัวเอง ขี้น้อยใจ นอนหรือกินอาหารมากจนเกินไป ชอบทำร้ายตัวเองอยู่บ่อยครั้ง
ส่วนสภาวะซึมเศร้าในวัยสูงอายุนั้น จะพบได้บ่อยมากในวัยสูงอายุ จะเป็นภาวะที่น่าเป็นห่วงมากที่สุด และควรได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีแต่โดยส่วนมากล้วผู้ป่วยในวัยนี้จะไม่ยอมเข้ารับการตรวจรักษา จึงทำให้การวินิจฉัยโรคในผู้ป่วยวัยนี้อาจจะไม่ค่อยชัดเจนนักได้แก่ ความจำเริ่มถดถอยลง มีอาการเจ็บปวดตามร่างกาย เบื่ออาหาร และมักจะมีปัญหาด้านการนอนบ่อยๆและจะมีความคิดฆ่าตัวตายสูงมากในวัยนี้โดยเฉพาะเพศชายสูงอายุ
ถ้าเกิดว่ารู้สึกว่าตัวเองหรือคนใกล้ชิดมีอาการเหล่านี้ควรให้เข้าพบแพทย์โดยเร็ว
สาเหตุของโรคซึมเศร้านี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น
พันธุกรรม ความเสี่ยงที่จะป่วยเป็นโรควึมเศร้านั้นจะสูงขี้นถ้าหากมีสมาชิกในครัวเรือนนั้นป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามาก่อน
การเปลี่ยนแปลงทางฮอโมน ในระดับของฮอโมนไม่สมดุงจึงเป็นตัวกระตุ้นภาวะซึมเศร้าการเปลี่ยนแปลงนี้อาจจะเกิดได้จากหญิงที่อยู่ในระหว่างการตั้งท้อง หรือ เกิดจากหลังที่คลอดลูกแล้ว
แต่จะว่าไปความเสี่ยงของโรคซึมเศร้านี้ก็มีอยู่สูงมากเหมือนกันนะ เพราะโรคซึมเศร้านี้มักจะเกิดขึ้นในวัยรุ่น และมีอาการปัจจัยเสี่ยงดังนี้
เกิดจากลักษณะนิสัยบางประการ เช่น มองโลกในแง่ร้าย ชอบทำร้ายตัวเองหรือโทษตัวเองอยู่บ่อยครั้ง
เจอเหตุการณ์ที่กระทบต่อจิตใจอย่างรุ่นแรง เช่น ถูกทำร้ายร่างกาย ถูกทารุณทกรรมทางเพศ เกิดการสูนเสียคนที่รัก เป็นต้น
ภาวะแทรกช้อนในโรคซึมเศร้า
มีอาการแพนิค กลัวสังคม โรควิตกกังวน
แยกตัวออกจากสังคม
คิดหรือพยามฆ่าตัวตาย
ทำร้ายตัวเอง
การป้องกันโรคซึมเศร้า
พุดคุยกับคนในครอบครัวหรือเพื่อนฟูงเพื่อระบยอารมณ์และความรู้สึก
ความคุมอารมณ์หรือความเครียด
นับถือตัวเองและชื่นชมตัวเองรู้จักให้อภัยตัวเอง
เข้ารับการรักษาอย่างสม่ำเสมอเพื่อที่จะไม่กลับไปเป็นซ้ำอีกรอบ