ประโยชน์ของมังคุด ราชินีผลไม้
มังคุดเป็นผลไม้ที่อยู่คู่คนไทยมานานแต่จะมีสักกี่คนที่รู้จักมังคุดได้เป็นอย่างดี ซึ่งมังคุดมีชื่อเรียกต่าง ๆและมีความเป็นมา ดังนี้
มังคุดชื่อภาษาอังกฤษคือ mangosteenมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Garcinia mangostana Linn. มีชื่อเรียกในภาษามลายูว่ามังกุสตาน manggustanภาษาอินโดนีเซียเรียกมังกีส ภาษาพม่าเรียกมิงกุทธี ภาษาสิงหลเรียกมังกุสเป็นพันธุ์ไม้ไม่ผลัดใบเขตร้อนชนิดหนึ่งเชื่อกันว่ามีถิ่นกำเนิดอยู่ที่หมู่เกาะซุนดาและหมู่เกาะโมลุกกะแพร่กระจายพันธุ์ไปสู่หมู่เกาะอินดีสตะวันตกเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 24 แล้วจึงไปสู่กัวเตมาลา ฮอนดูรัส ปานามา เอกวาดอร์ ไปจนถึงฮาวาย
ในประเทศไทยมีการปลูกมังคุดมานานแล้วเช่นกันเพราะมีกล่าวถึงในพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ในสมัยรัชกาลที่ 1 นอกจากนั้น ในบริเวณโรงพยาบาลศิริราชยังเคยเป็นที่ตั้งของวังที่มีชื่อว่า"วังสวนมังคุด"ในจดหมายเหตุของราชทูตจากศรีลังกาที่เข้ามาของพระสงฆ์ไทย ได้กล่าวว่ามังคุดเป็นหนึ่งในผลไม้ที่นำออกมารับรองคณะทูต
มังคุดมีพันธุ์พื้นเมืองเพียงพันธุ์เดียว แต่ถ้าปลูกต่างบริเวณกันอาจมีความผันแปรไปได้บ้างในประเทศไทยจะพบความแตกต่างได้ระหว่างมังคุดในแถบภาคกลางหรือมังคุดเมืองนนท์ที่ผลเล็ก ขั้วยาว เปลือกบาง กับมังคุดปักษ์ใต้ที่ผลใหญ่กว่า ขั้วผลสั้นเปลือกหนา
น้ำหมักเปลือกมังคุดมีประโยชน์หรือโทษกันแน่
น้ำหมักเปลือกมังคุด คืออะไร มีประโยชน์หรือโทษอย่างไร มีการอธิบายไว้ ดังนี้
มังคุดเป็นผลไม้ที่เปลือกมีคุณประโยชน์สูงบางข้อมูลอ้างว่าหมักแค่เปลือกก็ได้คุณประโยชน์มหาศาลในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางก็นิยมนำเปลือกไปสกัดสารออกฤทธิ์เพื่อใช้ในการผลิตเครื่องสำอางแม้แต่น้ำมังคุดยังมีออกจำหน่ายเป็นบิวตี้ดริงค์ ในมังคุดมีสารที่เรียกว่าแซนโทน (xanthones) ซึ่งมีมากในเปลือก ผล และเมล็ด มีน้อยในเนื้อผลทำให้หลายคนที่มีความเชื่อเรื่องคุณประโยชน์ในเปลือกมังคุดนิยมทำน้ำหมักเปลือกมังคุดรับประทาน
ทั้งนี้อย.ได้มีการให้ข้อมูลว่า ในมังคุด มีสารแซนโทน (xanthones) ซึ่งมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ ลดการอักเสบ ลดความดันโลหิต ต้านมะเร็งและแก้แพ้อย่างไรก็ตาม ยังขาดข้อมูลการทดลองทางคลินิกที่สนับสนุนว่าการบริโภคมังคุดสามารถมีฤทธิ์รักษาโรคดังกล่าวได้จึงได้เตือนประชาชนผู้บริโภคว่า อย่าหลงเชื่อการโฆษณาโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง โดยเฉพาะการหวังผลในการบำบัดรักษา หรือบรรเทาอาการของโรค