เหตุผลที่คนมักจะกลัว AI
AI เป็นสิ่งที่มีประโยชน์อย่างมากสำหรับการพัฒนาด้านต่าง ๆ และยังสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม มีหลายคนที่ยังมีความกังวลเรื่อง AI อยู่ ครั้งนี้เราเลยจะมารวบรวมเหตุผลที่ทำให้คนกลัวการเข้ามาของ AI
1. AI อาจทำให้คนตกงานได้ - AI และระบบอัตโนมัติมีศักยภาพอื่น ๆ ถูกพัฒนาเพื่อมาช่วย(อาจมาแทน)ที่ในงานหลากหลายประเภท โดยเฉพาะงานที่มีลักษณะการงานซ้ำๆ หรือทำเป็นประจำ แน่นอนว่า AI ไม่ต้องพักผ่อนและสามารถทำงานได้ตลอดเวลา ทำให้งานหลายประเภทอาจถูกทดแทนด้วย AI ได้
2. AI กับความปลอดภัย - AI สามารถรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างง่ายดายและรวดเร็วแต่อาจไม่สามารถแยกแยะได้ว่าข้อมูลใดเป็นเรื่องส่วนตัว นอกจากนี้ ระบบ AI อาจถูกใช้ในทางที่ผิดและมีผลกระทบร้ายแรงต่อความปลอดภัยทางไซเบอร์ได้ด้วย
3. AI กับการเลือกปฏิบัติ - อัลกอริธึมของ AI อาจได้มีอคติจากแหล่งข้อมูลที่รวบรวมมา ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการเลือกปฏิบัติได้ เช่น แหล่งข้อมูลที่ได้มาจาก Website ที่มีข้อมูลเหยียดเชื้อชาติ เป็นต้น
4. AI กับอาวุธ - การพัฒนาอาวุธอัตโนมัติที่ขับเคลื่อนด้วย AI ทำให้เกิดความกังวลว่า AI จะตัดสินใจถูกต้องหรือไม่ หรืออาจตัดสินใจโดยไม่คำนึงถึงศีลธรรมก็เป็นได้
5. AI กับความรับผิดชอบ - คำถามที่มักเกิดขึ้นคือใครจะรับผิดชอบหาก AI ทำให้เกิดปัญหาขึ้นมา เพราะการกระทำเป็นการตัดสินใจของ AI ด้วยตนเอง ซึ่งไม่ได้อยู่ในการควบคุมของมนุษย์ ดังนั้น การหาผู้รับผิดชอบจากอาจเป็นไปได้ยาก
6. AI จะควบคุมไม่ได้ - เนื่องจากระบบ AI มีความซับซ้อนและเป็นอิสระมากขึ้นจนอาจจะควบคุมไม่ได้ ซึ่งอาจนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ไม่ได้ตั้งใจและยากต่อการคาดการณ์ได้
7. AI จะทำให้มนุษย์พึ่งพาเทคโนโลยีมากเกินไป - การพึ่งพา AI มากเกินไปอาจนำไปสู่การสูญเสียทักษะและความรู้ของมนุษย์ไป ทำให้สังคมต้องพึ่งพาเทคโนโลยีมากขึ้นและอาจได้รับผลกระทบอย่างมากหากไม่สามารถพึ่งพา AI ได้
สิ่งสำคัญคือความกลัวต่อ AI ไม่ควรนำไปสู่การปฏิเสธหรือหลีกเลี่ยงเทคโนโลยี AI โดยสิ้นเชิง แต่ควรกระตุ้นให้เกิดการพัฒนา AI อย่างมีความรับผิดชอบ การใช้อย่างมีจริยธรรม และการควบคุมดูแล AI อย่างรอบคอบ เพื่อบรรเทาข้อกังวลเหล่านี้และใช้ประโยชน์สูงสุด
อ้างอิงจาก: https://neurosciencenews.com/artificial-intelligence-fear-neuroscience-23519/#:~:text=The fear of AI often,popular%20media%20and%20science%20fiction.
อ้างอิงภาพจาก: Gordon Johnson และ Gerd Altmann from Pixabay