ทำไมคนเวียดนามถึงไม่เอาระบบกษัตริย์ ?
เมื่อพูดถึงการสิ้นสุดของสถาบันกษัตริย์ของเวียดนาม หลายคนอาจจะมองว่าเป็นการกำจัดโดย โง ดิญ เดี่ยม โดยใช้ประชามติเป็นเครื่องมือในการล้มล้างสถาบันกษัตริย์ ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่คนจำนวนมากรู้ ซึ่งมันไม่ถูกต้องเพราะต่อให้ไม่มีการประชามติ หรือผู้นำไม่ได้ชื่อ โง ดิญ เดี่ยม สถาบันกษัตริย์เวียดนามก็ไม่สามารถอยู่ต่อไปได้แล้ว
หากย้อนว่าทำไมสถาบันกษัตริย์เวียดนาม ถึงมีแต่คนเกลียด มีแต่คนชัง คงต้อนย้อนไปในปี 2459 อันเป็นปีที่สมเด็จพระจักรพรรดิไคดิ่ญขึ้นครองราชย์ สถาบันกษัตริย์เวียดนามนั้นแม้ว่าจะเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส แต่พวกเขานั้นพยายามสู้ขัดขืนมาโดยตลอด ทำให้ผู้คนชาวเวียดนามให้ความเคารพมาตลอด แต่ไม่ใช่กับจักรพรรดิพระองค์ใหม่องค์นี้
ในตอนขึ้นครองราชย์จักรพรรดิไคดิ่ญ พร่ำบอกว่าจะพยายามสู้กับฝรั่งเศสเพื่อนำเอาความยิ่งใหญ่ของชาวเวียดนามกลับมา แต่ว่าการกระทำของเขานั้นสวนทางกับคำพูดทั้งหมดทั้งสิ้น เขาทั้งพยายามกำจัดชาวเวียดนามที่เห็นต่าง และทำตัวเป็นหุ่นเชิดที่ดีของทางการฝรั่งเศส ในการปกครองพื้นแผ่นดินเวียดนาม
การยอมทำตัวเป็นหุ่นเชิดที่ดีของพระองค์ทำให้ผู้คนเวียดนามไม่พอใจเป็นอย่างมาก ด้วยความชาตินิยมที่ฝังแน่นในชาวเวียดนามทำให้พระองค์ไม่เป็นที่นิยม และนักชาตินิยมจำนวนมากก็กล่าวโจมตีจักรพรรดิอยู่ตลอดเวลา
แต่แล้วฟางเส้นสุดท้ายก็ขาดลง เมื่อจักรพรรดิไคดิ่ญได้เก็ยภาษีชาวบ้านเพื่มขึ้นเพื่อนำไปสร้างสุสานของพระองค์อันใหญ่โตหรูหรา ร่างกฎหมายเก็บภาษีนี้ยินยอมโดยฝรั่งเศสและนั่นก็ทำให้การเก็บภาษีนี้มีความชอบธรรม ขุนนางขูดรีดเงินชาวบ้านเพื่อมาสร้างสุสานให้กับจักรพรรดิ แม้ว่าชะตาของชาวบ้านนั้นจะไม่ค่อยมีเงินใช้อยู่แล้ว พวกเขายังต้องถูกขูดรีดจนได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก ประชาราษฎร์ไม่มีความสุขในการดำเนินชีวิต นักชาตินิยมจำนวนมากออกมาโจมตีพระองค์ว่าเป็น "ทรราช" ที่ทำให้ประชาชนลำบากยากแค้น ในขณะที่พวกตัวเองเสวยสุขในพระราชวัง
ความโกรธแค้นเพิ่มขึ้นอย่างมากในหมู่ชาวเวียดนาม พวกเขาอยากกำจัดพระจักรพรรดิพระองค์นี้ไปจากราชบัลลังก์ แต่อย่างไรนั้นโดยการหนุนหลังของฝรั่งเศส ทำให้บรรดานักชาตินิยมที่ขาดการสนับสนุนไม่สามารถเอาชนะได้ นั่นทำให้กระแสต่อต้านในหมู่ชาวบ้านได้แสดงออกทางสัญลักษณ์ต่างๆ ขึ้น
การแสดงออกทางสัญลักษณ์แห่งความเกลียดชังพระจักรพรรดิไคดิ่ญ ที่ได้รับการกล่าวถึงมากที่สุดคงต้องยกให้กับการวาดภาพ "มังกรในม่านหมอก" ภาพจิตรกรรมฝาผนังในสุสานของจักรพรรดิไคดิ่ญ โดยภาพวาดนี้เป็นภาพวาดมังกรที่งดงาม แต่ผู้วาดกลับใช้ "ตีน" ในการวาดภาพ และแม้ว่าจักรพรรดิจะรุ้เรื่องนี้ก็ไม่อาจทำอะไรได้ เพราะถ้าประหารจิตรกรผู้นั้นก็จะไม่มีคนวาดรูปต่อ ภาพวาดที่วาดด้วย"ตีน"จึงคงแสดงอยู่ในสุสานของพระองค์ตลอดมานั้นเอง
ในปี 2469 ราชบัลลังก์ตกมาเป็นของพระโอรส ผู้ซึ่งขึ้นเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิบ่าว ดั๋ย จักรพรรดิพระองค์ใหม่ไม่ได้มีทีท่าว่าจะต่อต้านฝรั่งเศสเหมือนพระบิดาของเขา เป็นเหตุทำให้กระแสความนิยมของเขาในหมู่ผู้คนไม่ได้ดีขึ้นเลย แต่อย่างไรนั้นในสมัยของพระองค์ก็มีปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่การสิ้นสุดของราชวงศืเกิดขึ้น
การเข้ามาของจักรวรรดิญี่ปุ่นในอินโดจีน ได้ทำให้ขบวนการเวียดมินห์เข้มแข็งขึ้น ญี่ปุ่นใช้นักชาตินิยมในการต่อต้านฝรั่งเศส และสนับสนุนพวกเขาทุกทางจนผู้คนจำนวนมากหันไปเข้าร่วมกับขบวนการเวียดมินห์
แต่ว่าเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ใกล้จะจบลงด้วยความปราชัยของญี่ปุ่น ญี่ปุ่นใช้โอกาสนี้ปลดอาวุธทหารฝรั่งเศส และควบคุมเวียดนามในฐานะรัฐหุ่นเชิด (Puppet State) ของญี่ปุ่น (สถานะเดียวกับแมนจูกัว) โดยมีสมเด็จพระจักรพรรดิบ่าว ดั่ยเป็นประมุขแห่งรัฐของเวียดนาม
ขบวนการเวียดมินห์มีจุดประสงค์คือ ต้องการให้เวียดนามเป็นเอกราชอย่างแท้จริง การกระทำของญี่ปุ่นเปรียบเสมือนแค่ว่าทำให้เวียดนามหลุดพ้นจากฝรั่งเศสมาขึ้นตรงกับญี่ปุ่นแทน ขบวนการเวียดมินห์จริงทำการลุกฮือเข้ายึดสถานที่ราชการต่างๆ เกิดเป็น "การปฏิวัติสิงหาคม" เพื่อทำลายกาปกครองของญี่ปุ่น
ในช่วงการปฏิวัติสิงหาคม จักรพรรดิบ่าว ดั่ยได้แสดงบทบาทสำคัญของพระองค์ด้วยการสละราชสมบัติ และมอบอาณัติสวรรค์ให้โฮจิมินห์ สร้างความชอบธรรมให้กับโฮจิมินห์ในการปกครองประเทศต่อ การกระทำนี้ขององค์จักรพรรดิในการมอบอำนาจความชอบธรรมให้กับเวียดมินห์ได้ใจประชาชนเป็นอย่างมากโดยเฉพาะฝั่งเวียดมินห์ พระองค์ได้รับความเคารพสูงสุด แม้ว่าราชวงศ์เหงียนของพระองค์จะถึงกาลสิ้นสุดก็ตาม
ทว่าเมื่อสงครามสิ้นสุด แต่ความขัดแย้งนั้นไม่ได้สิ้นสุดลงไปด้วย ฝรั่งเศสต้องการเข้ามาปกครองอินโดจีนอีกครั้งในฐานะเจ้าอาณานิคม ฝรั่งเศสใช้จักรพรรดิบ่าว ดั่ยอีกครั้งให้กลับมาครองราชย์ในฐานะประมุขของประเทศ และจักรพรรดิบ่าว ดั่ยก็ตอบตกลงกลับมาเป็นประมุขของรัฐบาลใต้อาณานิคม
เมื่อประชาชนทราบข่าวก็ไม่พอใจเป็นอย่างมาก ที่จักรพรรดิที่น่าชื่นชมคนนั้นกลับกลอกมาเข้าร่วมกับฝรั่งเศส ดึงเวียดนามให้กลับมาเป็นอาณานิคมอีกครั้ง ความโกรธแค้นและเกลียดชังในฐานะคนขายชาติ และทรยศชาติถูกพูดถึงเป็นอย่างมากตลอดการปกครองของฝรั่งเศสครั้งที่ 2 เพราะชาวเวียดนามนั้นต้องการมีเอกราช ไม่ใช่การมีกษัตริย์โดยที่ฝรั่งเศสคุมหางเสือการปกครองเอาไว้
บัลลังก์ของพระองค์ยังคงมั่นคงตลอดการปกครองของฝรั่งเศส เพราะฝรั่งเศส Suppot พระองค์อย่างเต็มที่ แม้ว่าเสียงด่า เสียงสาปแช่งจะมาจากชาวบ้านไม่เว้นวันก็ตาม
แต่แล้วก็ถึงจุดพลิกผันอีกครั้งเมื่อฝรั่งเศสยอมออกไปโดยดีตามข้อตกลงเจนีวาในปี 2497 ส่งผลให้แผ่นดินเวียดนามแบ่งออกเป็นสองฝั่ง ฝั่งเหนือที่ปกครองด้วยระบบคอมมิวนิสต์ และฝั่งใต้ที่ปกครองด้วยระบบประชาธิปไตย โดยที่จักรพรรดิบ่าว ดั่ย ยังคงเป็นประมุขฝ่ายใต้
แต่การออกไปของฝรั่งเศสทำให้จักรพรรดิบ่าว ดั่ย ขาดคนหนุนหลัง และสหรัฐอเมริกาผู้เป็นคนอุปถัมภ์เวียดนามใต้คนใหม่ ก็ไม่สนับสนุนจักรพรรดิอย่างที่เคยเป็น แต่ไปสนับสนุนรัฐสภาที่นำโดยโง ดิญ เดียม นายกรัฐมนตรี
เมื่อไร้ซึ่งฝรั่งเศส ผู้คนจำนวนมากจึงแสดงความคิดเห็นเชิงลบต่อองค์จักรพรรดิ "คนขายชาติ" และ "คนที่ทำให้คนในชาติแตกแยก" ถูกปลุกระดมจำนวนมากต่อองค์จักรพรรดิบ่าวดั่ย ที่มีส่วนในการแบ่งแยกเวียดนามเป็นเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้ ความเกลียดชังรุนแรงมากหนังสือพิมพ์จำนวนมากขุดข่าวฉาวตั้งแต่สมัยอาณานิคมขึ้นมาโจมตีพระองค์ไม่เว้นวัน โปสเตอร์จำนวนมากที่สื่อถึงความโหดร้ายของจักรพรรดิผุดขึ้นทุกที่ และไม่มีทีท่าว่ากระแสความนิยมที่ตกต่ำถึงขีดสุดของสถาบันพระมหากษัตริย์ จะฟื้นขึ้นมาดีเลยแม้แต่นิดเดียว
ในที่สุด โง ดิญ เดียม ก็ตัดสินใจทำประชามติในการถอดบ่าว ดั่ยออกไปจากราชบัลลังก์ในปี 2498 และแน่นอนว่าเมื่อประชาชนรู้ข่าวการทำประชามตินี้ก็ยินดีกับโง ดิญ เดี่ยมที่ตัดสินใจถูก พวกเขามาร่วมลงคะแนนอย่างมืดฟ้ามัวดินเพื่อกำจัด "คนขายชาติ" ให้พ้นไปจากบัลลังก์ ซึ่งผลคะแนนประชามตินั้นก็ถ่วมท้นด้วยคะแนนเสียงสนับสนุนสาธารณรัฐมากกว่าระบบกษัตริย์ โง ดิญ เดี่ยมตั้งตัวเป็นประธานาธิบดีส่วนจักรพรรดิบ่าวดั่ยก็ต้องลี้ภัยไปฝรั่งเศส และเสียชีวิตที่นั้นในปี 2540