ขุดพบเส้นบะหมี่ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก มีอายุกว่า 4,000 ปี
บะหมี่ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก มีอายุกว่า 4,000 ปี ถูกพบในจีน
นักโบราณคดีได้ขุดพบเส้นบะหมี่ที่เก็บรักษาไว้ในชามที่คว่ำและปิดสนิทที่แหล่งโบราณคดี Lajia ใกล้แม่น้ำเหลืองทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน
นี่คือภาพของเส้นบะหมี่สภาพสมบูรณ์ที่ถูกค้นพบลึกลงไปในพื้นดิน 3 เมตร ในแหล่งโบราณคดีล่าเจีย ตำบลหมิงเหอ อำเภอไห่ตง มณฑลชิงไห่ เมื่อปี 2005 บะหมี่ชามนี้มีอายุมากกว่า 4,000 ปี ยืนยันว่าจีนเป็นต้นกำเนิดเก่าแก่ที่สุดในการทำเส้นบะหมี่
ภาพแสดงการตรวจหาวัตถุตั้งต้นของเส้นบะหมี่ที่ค้นพบ
ก่อนหน้านี้นักโบราณคดีเชื่อกันว่าบะหมี่เป็นผมผลิตจากตะวันออกกลาง จากนั้นจึงค่อยเผยแพร่เข้ายุโรป รวมถึงอิตาลี ซึ่งในสมัยโบราณกว่า 2,000 ปีนั้น อาหารอิตาลีเป็นที่นิยมของชาวยุโรป ทำให้เส้นสปาร์เก็ตตี้และพาสต้าอันเป็นเอกลักษณ์ของอิตาลีรู้จักกันไปทั่ว และจีนก็อาจจะได้รับอิทธิพลในการผลิตเส้นนี้ไปด้วย
แต่เส้นบะหมี่ที่มีชามกระเบื้องเคลือบครอบไว้ถ้วยนี้ได้เป็นเครื่องยืนยันชั้นดีว่าบะหมี่เกิดขึ้นที่เมืองจีนมาช้านานขนาดไหน
สิ่งหนึ่งที่น่าตื่นใจเกี่ยวกับการค้นพบนี้ก็คือ คนจีนโบราณมีวิวัฒนาการด้านการทำอาหารที่น่าเหลือเชื่อ เพราะการทำบะหมี่ค่อนข้างใช้ทักษะฝีมือระดับสูงในการทำ และเส้นบะหมี่ที่ถูกค้นพบนี้ก็น่าจะทำให้จับเป็นเส้นได้ยาก เพราะนักโบราณคดีในทีมที่ค้นพบประกาศว่าทำจากข้าวฟ่างหางกระรอกผสมกับข้าว ฟ่างไม้กวาด เพราะถ้าใช้ข้าวฟ่างหางกระรอกเพียงชนิดเดียวแป้งไม่เหนียวพอที่จะยึดเกาะกัน เป็นเส้นได้ ซึ่งใน สมัยนั้นแป้งสาลีน่าจะยังไม่เข้ามาในจีน อย่างเช่นสูตรเส้นบะหมี่เหนียวนุ่มในปัจจุบัน
ศ.โฮหยวน ลู่ จากสถาบันธรณีวิทยาและธรณีฟิสิกส์แห่งประเทศจีนในฐานะหัวหน้าทีมการทำงานใน ครั้งนี้ระบุว่า ปัจจุบันชาวบ้านแถบนี้ยังกินบะหมี่ที่ทำจากแป้งข้าวฟ่างหางกระรอกกันอยู่เลย แม้จะแข็งไม่นุ่มนวลเหมือนเส้นที่ทำจากแป้งข้าวสาลี แต่ก็เหมาะแก่คนยากจนมาก นี่คือเครื่องยืนยันว่าบะหมี่ข้าวฟ่างสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน