"ฟ้อนขันดอก" การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ
ฟ้อนขันดอก อีกหนึ่งศิลปะการรำของนาฏศิลป์ล้านนา เอกลักษณ์ที่โดดเด่นของการฟ้อนชนิดนี้คือ การถือพานไม้ด้านในพานจะใส่ดอกไม้นานาชนิด โดยส่วนใหญ่จะเป็นดอกไม้เพื่อตบแต่งบูชา พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
การแสดงชุด “ฟ้อนขันดอก” เป็นการแสดงที่พ่อครูมานพ ยาระนะ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดงพื้นบ้าน ปี พ.ศ. 2548 เป็นผู้ประดิษฐ์ท่าขึ้น โดยมีจุดประสงค์ในการแสดงเพื่อเป็นการฟ้อนรำต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง เพื่อให้บังเกิดความสงบร่มเย็นให้แก่บ้านเมือง
และไฮไลท์ของการฟ้อนขันดอก คือการโปรยดอกไม้ขึ้นเหนือศรีษะ ที่ชมแล้วสามารถสร้างความเพลิดเพลิน อีกทั้งเป็นการสร้างลูกเล่นให้การฟ้อนนั้นไม่น่าเบื่ออีกต่อไป
สำหรับการแต่งกาย การฟ้อนของภาคเหนือจะเห็นว่า ผู้หญิงจะนุ่งผ้ามีเชิงยาวถึงเท้า สวมเสื้อเกาะอก พร้อมห่มสไบ ยาวคล้องคลุมปล่อยชายลงมาถึงเข่า การแต่งกายแบบนี้เนื่องจาก อากาศทางภาคเหนือมีอากาศเย็นสบาย ประชาชนสมัยก่อนจึงนิยมใส่เกาะอก และห่มสไบ ผมเกล้าสูงทัดดอกไม้แล้วห้อยอุบะ ดอกไม้โลหะ ดอกไม้สด เพราะทางภาคเหนือมีอากาศดี ดอกไม้จึงสวยงาม โดยเฉพาะดอกเอื้อง หรือดอกกล้วยไม้มีมาก นำมาประดับผมทำให้สวยงามทั้งผู้ฟ้อนและลีลาการฟ้อนนั่นเอง
https://www.comdept.cmru.ac.th/59143428/show
https://www.pinterest.com/lankumdesign101/lanna-dance-ฟอนลานนา/