ทำไมบ้างคนเกิดมาพร้อมปานแดงปานดำ
ทำไมบ้างคนเกิดมาพร้อมปานแดงปานดำ
*คนสมัยก่อนเชื่อว่าใครเกิดมาพร้อมปานแดงปานดำตั้งแต่กำเนิดตามความเชื่อคนโบราณเล่ากันว่าหากทารกใดที่เกิดมาพร้อมปานแดงหรือปานดำบนร่างกายแสดงว่าเด็กคนนั้นได้เคยเกิดเป็นคนมาแล้วชาติหนึ่ง แต่มีเหตุอันทำให้ต้องเสียชีวิตก่อนวัยอันควรถ้าเป็นปานแดงแสดงว่าผู้เป็นพ่อหรือแม่ได้ทำสัญลักษณ์โดยการป้ายด้วยปูนแดง แต่หากเป็นปานดำแสดงว่าถูกป้ายด้วยถ่านเพราะมีความหวังว่าลูกของตนจะได้กลับมาเกิดเป็นคนอีกครั้งหากไปเจอเด็กที่ไหนที่มีตำหนิเหมือนกับที่ตนเคยทำเอาไว้ก็อาจเป็นไปได้ว่าลูกที่เสียชีวิตไปแล้วได้กลับชาติมาเกิดใหม่นั่นเองทำไมบางคนถึงเกิดมาพร้อมปานแดงปานดำ
แต่หากตามหลักวิทยาศาสตร์แล้ว ปาน คือ ความผิดปกติของสีผิว หรือ ความผิดปกติของความเรียบเนียนของผิวซึ่งสามารถพบในทารกแรกเกิดหรือในช่วงอายุขวบปีแรกต้องบอกว่าปานมีหลายชนิด และ เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ที่แตกต่างกันไป เช่น เซลล์ผิวหนัง หลอดเลือด ทางเดินน้ำเหลืองและกล้ามเนื้อ
สำหรับปานที่สามารถพบได้บ่อย ได้แก่ ปานแดงชนิด Port-wine stains , เนื้องอกหลอดเลือดในเด็ก (Hemangioma) , ปานสีกาแฟใส่นม (Café au lait) , ปานโอตะ (Nevus of Ota) , ปานมองโกเลียน (Mongolian)
1.ปานแดงชนิด Port-wine stains มีลักษณะเป็นปื้นแดงที่มักปรากฏอาการตั้งแต่แรกเกิดและคงอยู่ตลอดชีวิตไม่จางหายไป มักอยู่ซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย จะมีสีเข้มรวมทั้งนูนหนาขรุขระเพิ่มขึ้นตามอายุ
2.เนื้องอกหลอดเลือดในเด็ก (Hemangioma) พบความผิดปกติบ่อยที่สุดในเด็ก(ประมาณร้อยละ 5 ในทารกแรกเกิดและร้อยละ 5-10 ในเด็กอายุ 1 ปี) พบได้ในเพศหญิงมากกว่าเพศชายบางรายอาจมีจุดหรือเปื้อนสีแดงนำมาก่อนค่อยๆขยายใหญ่ขึ้นลักษณะของปานที่พบบ่อย จะเป็นก้อนนูนสีแดงสด ผิวขรุขระ เมื่อในช่วงอายุ6-9เดือนแรก ร้อยละ50 ปานชนิดนี้ก้อนจะค่อยๆ ยุบลงเองได้
3.ปานสีกาแฟใส่นม (Café au lait) มีลักษณะเป็นผื่นลาบสีน้ำตาลอ่อนปรากฏตั้งแต่แรกเกิดหรือภายในอายุ 2-3 เดือนมักจะมีรูปร่างวงกลมหรือรีขอบเขตค่อนข้างชัดเจนจะขยายขนาดขึ้นตามการเจริญเติบโตอยู่คงอยู่ตลอดชีวิต
4.ปานโอตะ (Nevus of Ota) เป็นปานแต่กำเนิดชนิดที่พบบ่อยในชาวเอเชีย มีลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาลเข้ม สีเขียว สีฟ้าเทา หรือสีน้ำเงินที่ค่อยขยายขนาดขึ้นตามอายุ จนกลายเป็นปื้นอยู่ซีกใดซีกหนึ่งบนใบหน้า ปานโอตะที่ผิวหนังตอบสนองต่อการรักษาด้วยเลเซอร์ดีมาก
5.ปานมองโกเลียน (Mongolian) พบบ่อยที่สุด มีลักษณะเป็นผื่นราบสีเขียว ฟ้าเทา หรือน้ำเงินเข้ม บริเวณก้นและสะโพก แต่อาจพบที่บริเวณอื่น ๆ ของร่างกายได้ เช่น แขน ขา หลัง ไหล่ หนังศีรษะ ปานชนิดนี้จะค่อย ๆ จางหายไปเมื่อเข้าสู่วัยเด็กตอนต้น ไม่มีความจำเป็นต้องทำการรักษา