ดินในประเทศไทยมีกี่ประเภท?
ดินเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถจำแนกได้เป็นดินประเภทต่างๆ แต่ละชนิดก็จะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปซึ่งให้ประโยชน์และข้อจำกัดในการปลูก การที่เรารู้จักประเภทของดินจึงมีความจำเป็นและสำคัญมาก เพราะจะเป็นตัวกำหนดว่าพืชชนิดใดเหมาะกับดินประเภทไหน
สำหรับประเทศไทยสามารถแบ่งประเภทของดิน ได้ดังนี้ ดินทราย (Sandy Soil) ดินเหนียว (Clay Soil) และดินร่วน (Loam Soil) ซึ่งดินแต่ละชนิดก็จะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้
- ดินทราย (Sandy Soil)
ดินทรายจะประกอบไปด้วยอนุภาคขนาดเล็กของหินผุกร่อน มีแนวโน้มที่จะเป็นกรดและมีสารอาหารต่ำ ดินทรายมักถูกเรียกว่า ดินเบา เนื่องจากมีน้ำหนักเบา ระบายน้ำได้อย่างรวดเร็วและมีแร่ธาตุที่พืชต้องการต่ำเนื่องจากถูกฝนชะล้างออกไป เป็นดินที่ไม่เหมาะกับการปลูกพืชเพราะมีธาตุอาหารต่ำมาก และมีความสามารถในการกักเก็บน้ำที่ค่อนข้างต่ำ ทำให้รากพืชดูดซับน้ำได้ยาก ดินประเภทนี้จะดีต่อระบบระบายน้ำมาก ดินทรายมักเกิดจากการแตกตัวของหิน เช่น หินแกรนิต หินปูน และควอตซ์
- ดินเหนียว (Clay Soil)
ดินเหนียวเป็นดินที่ประกอบด้วยอนุภาคแร่ที่ละเอียดมากและมีสารอินทรีย์ไม่มากมีช่องว่างระหว่างอนุภาคดินไม่มากทำให้ระบายน้ำได้ไม่ดีเลย แต่ดินประเภทนี้มีคุณสมบัติในการกักเก็บน้ำได้ดีมาก ทำให้ความชื้นและอากาศซึมผ่านเข้าไปได้ยาก ดินประเภทนี้จะเหนียวมากเมื่อเปียกน้ำ แต่จะเรียบและแตกร้าวเมื่อแห้ง ดินเหนียวเป็นดินประเภทที่หนาแน่นและหนักที่สุด
- ดินร่วน (Loam Soil )
ดินร่วนเป็นดินประเภทที่สามเป็นส่วนผสมของทราย ตะกอนและดินเหนียวในสัดส่วนที่เหมาะสมซึ่งรวมคุณสมบัติที่เป็นประโยชน์จากแต่ละอย่างไว้ด้วย เช่น มีคุณสมบัติในการกักเก็บความชื้นและสารอาหารจึงเหมาะสำหรับทำการเกษตร ดินนี้เรียกอีกอย่างว่าดินเกษตร ดินร่วนเป็นดินที่เหมาะกับการปลูกพืชเพราะเป็นดินที่มีส่วนผสมที่ลงตัวของดินเหนียว ทราย และตะกอน เนื่องจากมีความสมดุลของดินทั้งสามประเภท และยังมีซากพืชอีกด้วย นอกจากนั้น ยังมีระดับแคลเซียมและ pH ที่สูงขึ้นเนื่องจากมีแหล่งกำเนิดอนินทรีย์