ทำไมรัชกาลที่ 3 จึงได้ครองราชก่อนรัชกาลที่ 4 ?
ทำไมรัชกาลที่ 3 จึงได้ครองราชก่อนรัชกาลที่ 4 ทั้งที่ มิได้ประสูตรจากสมเด็จพระบรมราชินีในรัชกาลที่ 2
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
(ประสูติ พ.ศ. 2330 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2367 - พ.ศ. 2394)
มีพระนามเดิมว่า พระองค์ชายทับ
พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยองค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และสมเด็จพระศรีสุราลัย ( เจ้าจอมมารดาเรียม ) ประสูติ ณ วันจันทร์ เดือน 4 แรม 10 คํ่า ปีมะแม ตรงกับวันที่ 31 มีนาคม พุทธศักราช 2330 มีพระนามเดิมว่า "พระองค์ชายทับ"
พ.ศ. 2365 พระองค์ชายทับ ได้รับสถาปนาเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์กํากับราชการกรมท่า กรมพระคลังมหาสมบัติ กรมพระตํารวจว่าการฎีกา นอกจากนี้ยังได้ทรงรับพระกรุณาให้แต่งสําเภาหลวงออกไปค้าขาย ณ เมืองจีน พระองค์ทรงได้รับพระสามัญญานามว่า "เจ้าสัว"
ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชการที่ 2 ทรงพระประชวรและเสด็จสวรรคต โดยมิได้ตรัสมอบราชสมบัติให้แก่พระราชโอรสองค์ใด พระบรมวงศานุวงศ์ และบรรดาเสนาบดีผู้เป็นประทานในราชการจึงปรึกษากัน เห็นควรถวายราชสมบัติแก่พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ อันที่จริงแล้วราชสมบัติควรตกแก่ เจ้าฟ้ามงกุฎ ( พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ) เพราะเจ้าฟ้ามงกุฎ เป็นราชโอรสที่ประสูติจากสมเด็จพระบรมราชินีในรัชกาลที่ 2 โดยตรง ส่วนกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ เป็นเพียงราชโอรสที่เกิดจากเจ้าจอมเท่านั้น โดยที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งพระราชหฤทัยไว้แล้วว่าเมื่อสิ้นรัชกาลพระองค์แล้วจะคืนราชสมบัติ ให้แก่สมเด็จพระอนุชา ( เจ้าฟ้ามงกุฎ) ดังนั้นพระองค์จึงไม่ทรงสถาปนาพระบรมราชินี คงมีแต่เจ้าจอมมารดา และเจ้าจอม
แต่อดีตมาการที่ใครจะรับราชสมบัติได้นั้นก็ต้องมีอิทธิพลต่อขุนนางพอสมควร ต้องมีอำนาจที่จะทำให้เหล่าขุนนางและเชื้อพระวงศ์ยอมรับได้
เพราะในอดีตไม่ได้มีระบบการสืบทอดชัดเจน หลังการสวรรคตของกษัตริย์องค์ก่อน
ถ้าไม่มีเชื้อพระวงศ์ที่ทรงอำนาจพอจะขึ้นสู่บัลลังก์ได้เลย รึมีผู้อยู่ในตำแหน่งรัชทายาทอยู่แล้ว อย่างวังหน้า พระมหาอุปราช
ก็มีหลายครั้งที่เหล่าขุนนางและเชื้อพระวงศ์ต้องมาประชุมเลือกกษัตริย์องค์ใหม่
ถ้าสังเกตการสืบราชสมบัติในไทยจริงๆจะมีอยู่ 2 รูปแบบ คือตามกฎและตามความเหมาะสม
ซึ่งถ้าถูกต้องทั้งกฎและมีความเหมาะสมอย่างรัชกาลที่ 2 ก็ไม่มีปัญหาอะไร
แต่กรณีที่หาผู้ที่มีคุณสมบัติพร้อมไม่ได้ ก็ต้องเลือกอย่างหนึ่งอย่างใด
ในครั้งเปลี่ยนแผ่นดินรัชกาลที่ 2 นั้น รัชกาลที่ 3 มีอายุถึง 37 แล้ว จัดว่ามีวัยวุฒิที่เหมาะสม
และยังได้ช่วยบริหารบ้านเมืองมาตลอด มีประสบการณ์ในทางราชการและการปกครองคน
ส่วนรัชกาลที่ 4 พึ่งอายุเพียง 20 และไม่มีประสบการณ์ทางราชการอะไรนัก หลักๆมีเพียงเคยนำกองทัพไปรับครัวมอญมา
ในกรณีนี้เมื่อรัชกาลที่ 2 ไม่ได้แต่งตั้งผู้ใดอยู่ในฐานะรัชทายาท (วังหน้า) เหล่าขุนนางและเชื้อพระวงศ์ก็ต้องมาประชุมกันเพื่อคัดเลือกกษัตริย์องค์ใหม่
และจากกระประชุมก็เลือกรัชกาลที่ 3 ที่ความเหมาะสมเป็นหลัก
ข้ามกฎไปเพราะหากยึดกฎอาจไม่เป็นผลดีต่อแผ่นดิน เนื่องจากรัชกาลที่ 4 ยังขาดประสบการณ์และฐานกำลังหนุนหลัง
แต่กระนั้นรัชกาลที่ 3 เองก็ยังยึดมั่นเสมอ ว่าตามความชอบธรรมราชสมบัติควรเป็นของรัชกาลที่ 4
จึงได้ไม่แต่งตั้งพระอัครมเหสี ยังผลให้โอรสธิดาทั้งหมดมีแต่พระองค์เจ้าม่มีเจ้าฟ้าเลย
และยังเคยพูดเป็นนัยบอกแนวทางไว้ วิจารณ์เชื้อพระวงศ์ต่างๆว่ามีข้อเสียไม่เหมาะสม แต่กับรัชกาลที่ 4 กลับกล่าวข้อเสียที่เล็กน้อยมากๆ
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นครองราชย์ในวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 ขึ้น 7 คํ่า เดือน 9 ปีวอกฉศก มีพระชนมายุได้ 37 พรรษา