โดนค่าปรับค่าที่จอดวันละ 1000 กฎหมายที่จอดรถคอนโดที่ผู้มีคอนโดต้องรู้ จะได้ไม่โดนปรับ
ผู้ใช้ เฟสบุ๊ค “Jannira Pornpid” ได้โพสต์ตั้งคำถาม และเพื่อเป็นอุทาหรณ์สำหรับตัวเองและคนอื่นๆ ที่พักอาศัยในคอนโดหรือหอพักนะคะ คือเรื่องมีอยู่ว่าเรากลับต่างจังหวัดนาน แล้วจอดรถไว้ที่คอนโด คิดว่าปลอดภัยแหละ เพราะจอดในที่จอดได้ 1 เดือนผ่านไป พอกลับมา เจอใบแจ้งหนี้ที่ต้องชำระค่าล๊อกล้อ เพราะจอดนานเกิน 15 วัน ปรับวันละ 1,000 บาท
เราแจ้งทางนิติไปว่าไม่ทราบว่ามีกฎนี้ด้วย เค้าบอกว่าประกาศไปในแอพพลิเคชันของคอนโดแล้ว ซึ่งแอพนั้นเราแทบจะไม่ได้เข้าใช้เลย เลยไม่ทราบประกาศ สรุปขอเขียนคำร้องขอยืดหยุ่นลดค่าปรับไป รอผลตอบกลับว่าจะได้จ่ายเท่าไหร่
เรื่องนี้ไม่แน่ใจว่าที่อื่นมีเหมือนกันไหมน๊า สำหรับเรามันเป็นเรื่องใหม่ที่ไม่ทราบมาก่อน คนอื่นๆอาจจะรู้อยู่แล้วไหมน๊า ระวังน๊า ไปไหนนานๆเช็คกฎระเบียบหอพักของตัวเองให้ดีนะคะ เดี๋ยวจะเป็นเหมือนเรา
ปล.ค่าปรับแอบแพง น่าจะโทรมาแจ้งนิดนึง นี่ถ้าไม่ไปเช็คบล๊อกคงไม่รู้เรื่องเลย”
กฏหมายที่จอดรถในคอนโด ที่ผู้ซื้อคอนโดควรรู้ไว้ รู้ดีกว่าไม่รู้นะ....
หนึ่งสิ่งสำคัญที่เป็นตัวตัดสินการเลือกซื้อคอนโด รวมถึงเป็นสิ่งแสดงถึงความสะดวกสบายและคุณภาพชีวิตสำหรับคนมีรถ นั่นคือพื้นที่จอดรถ ในคอนโด แต่จะรู้ได้ยังไงว่าพื้นที่จอดรถคอนโดพอเพียงหรือไม่อย่างไร แบบไหนดีแบบไหนไม่ดี
กฏหมายที่จอดรถกับคอนโดมิเนียม
จำนวนพื้นที่จอดรถจะต้องมีการพิจารณา 2 กรณี คือ....
1. กฏหมายที่จอดรถในคอนโดที่คำนวณตามพื้นที่การใช้สอย
ตามกฏกระทรวงฉบับที่ 7 และพรบ.ควบคุมอาคารพ.ศ.2544 คอนโดมิเนียม
จัดอยู่ในประเภทของ ”ที่อยู่อาศัยรวม” หรือ ”อาคารชุด” อีก 2 กรณีคือ ตั้งอยู่ในเขต กทม.
1.1 ในเขตพื้นที่กทม. ห้องที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 60 ตร.ม.ขึ้นไป จะต้องมีที่จอดรถ 1 คัน / 1 ห้อง 1.2 นอกเขตพื้นที่กทม. ห้องที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 60 ตร.ม.ขึ้นไป จะต้องมีที่จอดรถ 1 คัน / 2 ห้อง
2. กฏหมายที่จอดรถในคอนโดที่คำนวณตามขนาดของอาคาร (อาคารที่พื้นที่ก่อสร้างมากกว่า 1000 ตร.ม. และ สูง 15 เมตรขึ้นไป หรือ อาคารที่มีพื้นที่ก่อสร้างเกิน 2000 ตร.ม.)
โดยแยกออกเป็นอีก 2 กรณีเช่นกัน
2.1 ในเขตพื้นที่กทม. ทุกๆพื้นที่ก่อสร้าง 120 ตร.ม. จะต้องมีที่จอดรถ 1 คัน
2.2 นอกเขตพื้นที่กทม. ทุกๆพื้นที่ก่อสร้าง 240 ตร.ม. จะต้องมีที่จอดรถ 1 คัน
เมื่อคิดทั้ง 2 กรณีแล้ว ให้ก่อสร้างตามกรณีที่ได้จำนวนมากที่สุด ถ้าหากเรานำจำนวนที่จอดรถมาเทียบกับจำนวนยูนิตห้อง
คอนโดมิเนียมปัจจุบัน ห้องที่มีขนาด 60 ตร.ม.ขึ้นไปจะเป็นห้องแบบ 2 ห้องนอน และยูนิตส่วนใหญ่จะมีขนาดเล็กกว่า 60 ตร.ม. อีกทั้งราคาก่อสร้างพื้นที่จอดรถนั้นต้องนำไปคิดรวมกับราคาขายต่อตารางเมตร เพราะฉะนั้นเราอาจจะคาดการณ์จากขนาดของห้องและราคาได้ว่า
“ ห้องยิ่งกว้าง ที่จอดรถยิ่งมาก ราคาก็จะยิ่งสูงขึ้น ”
รูปแบบและขนาดของที่จอดรถ
ตามกฏหมายแล้วที่จอดรถ 1 คัน จะมีขนาดประมาณ 2.4 x 5 เมตร โดยลักษณะการวางที่จอดรถนั้นจะมีอยู่ 4 รูปแบบด้วยกัน คือ
เวลาที่สถาปนิกจะวางที่จอดรถ มักจะใช้แบบที่จอดรถองศาตั้งฉาก และวางจำนวนให้สัมพันธ์กับแนวเสา เช่น ระยะห่างระหว่างเสา 8 เมตร จะจอดรถประมาณได้ 3 คัน ซึ่งระยะห่างของเสาก็จะส่งผลกับรูปแบบห้องภายในโครงการอีกด้วย
การแก้ปัญหาที่จอดรถไม่พอของโครงการคอนโด
1. ที่จอดรถอัตโนมัติ
โครงการที่ต้องการมีที่จอดรถให้เพียงพอในพื้นที่จำกัด ก็มักจะเลี่ยงการก่อสร้างพื้นที่ทางเดินรถที่กฏหมายบังคับ โดยการทำที่จอดรถอัตโนมัติเพื่อให้ได้จำนวนที่จอดรถมากขึ้น
2. เก็บค่าจอดรถในคอนโด
โครงการทั่วไปจะถือว่าพื้นที่จอดรถนั้นเป็นพื้นที่ส่วนกลาง ใครมาก่อนได้จอดก่อน พอไม่มีที่จอดแก้ปัญหาโดยการให้จอดซ้อนคัน หรือบางที่อาจเก็บค่าสมาชิกที่จอดรถเป็นรายเดือน
3. โฉนดที่จอดรถคอนโด
สำหรับห้องคอนโดมิเนียมที่มีราคาสูงๆ ก็มักจะมีโปรโมชั่นที่ขายห้องพร้อมโฉนดที่จอดรถ เพื่อให้ผู้ที่ซื้อห้องในราคาสูง จะได้ที่จอดรถประจำเป็นจองตนเอง แต่ก็ต้องจ่ายค่าส่วนกลางเพิ่มขึ้นมาด้วย
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก : www.thaihometown และ Facebook : คุณ Gamyui.indyzii
เป็นอย่างสูงครับ
อ้างอิงจาก: https://www.thaihometown.com/knowledge/10438/
https://www.facebook.com/Gamyui.indyzii
ภาพจาก manager Online