การวางแผนภาษีเงินได้ ได้เงินคืนภาษีเต็มเม็ดเต็มหน่วย แค่วางแผนลดหย่อนภาษีให้ดี
การวางแผนภาษีเงินได้ ได้เงินคืนภาษีเต็มเม็ดเต็มหน่วย แค่วางแผนลดหย่อนภาษีให้ดี
ได้เงินคืนภาษีเต็มเม็ดเต็มหน่วย แค่วางแผนลดหย่อนภาษีให้ดี
ในทุกๆวันเราจากกันตั้งใจทำงานให้เต็มที่ เพื่อแลกกับความก้าวหน้าและรายได้ที่จะได้รับแล้ว อีกหน้าที่สำคัญ ที่คนมีรายได้คนทำงานไม่ควรละเลยก็คือ การเสียภาษีตามกฎหมาย
การเสียภาษีตามกฎหมายในเพดานอัตราการเสียภาษีตามจำนวนรายได้ของคุณเอง ซึ่งแต่ละคนนั้นก็มีโอกาสที่จะเสียภาษีและได้เงินคืนภาษีไม่เท่ากัน
แต่ในกรณีที่คุณมีรายได้และมีการวางแผนลดหย่อนภาษีอย่างรอบคอบ ก็มีโอกาสที่สิทธิ์ลดหย่อนภาษีต่างๆที่รัฐบาลกำหนดไว้ จะช่วยแบ่งเบาการจ่ายภาษีและเพิ่มโอกาสได้เงินคืนภาษีแบบเต็มเม็ดเต็มหน่วยอีกด้วย
เช็ครายได้ต่อปีเสียเงินภาษีกันเท่าไหร่
เงินได้สุทธิสูงถึง 100,000 บาท อัตราภาษี 0% จำนวนเงินได้สุทธิ 100,000 บาท เสียภาษี 0%
เงินได้สุทธิ 100,000 บาท ถึง 300,000 บาท อัตราภาษี 5% จำนวนเงินได้สุทธิ 100,000 บาท เสียภาษี 7,500 บาท
เงินได้สุทธิ 30,001 บาทถึง 500,000 บาท อัตราภาษี 10% จำนวนเงินได้สุทธิ 200,000 บาท เสียภาษี 20,000 บาท
เงินได้สุทธิ 500,000 บาทถึง 700,000 บาท อัตราภาษี 15% จำนวนเงินได้สุทธิ 250,000 บาท เสียภาษี 37,500 บาท
เงินได้สุทธิ 750,001 บาทถึง 1,000,000 บาทอัตราภาษี 20% จำนวนเงินได้สุทธิ 250,000 บาท เสียภาษี 5,000 บาท
ซึ่งกรณีที่คุณต้องการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สามารถคิดอัตราภาษีได้ง่ายๆด้วยตัวเอง โดยการนำ (รายได้ - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน) x อัตราภาษี ก็จะได้ภาษีที่ต้องจ่าย แต่อย่าลืมว่ารายได้แต่ละประเภท หักค่าใช้จ่ายได้ต่างกัน ซึ่งมีทั้งหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาตามจำนวนที่กฎหมายกำหนดไว้และหักค่าใช้จ่ายตามจริง แต่ถ้าคุณอยู่ในกลุ่มคนที่มีรายได้ มนุษย์เงินเดือนที่มีรายได้ทางเดียวสามารถใช้วิธีหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาในอัตราที่กำหนดไว้คือ 50% ของรายได้แต่ต้องไม่เกิน 100,000 บาท และใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีอื่นๆได้ เพื่อให้เหลือจำนวนเงินได้สุทธิ
โดยสิทธิ์ลดหย่อนภาษีปี 2561 แบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลักๆได้แก่
1. ค่าลดหย่อนส่วนตัว ได้แก่ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท ค่าลดหย่อนคู่สมรส 60,000 บาท (ในกรณีที่คู่สมรสไม่มีรายได้) ค่าลดหย่อนเลี้ยงดูบิดามารดาอายุ 60 ปีขึ้นไป ทั้งของตัวเองและคู่สมรสคนละ 30,000 บาท แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท ค่าเบี้ยประกันสุขภาพของบิดามารดา คนละไม่เกิน 15,000 บาท ค่าลดหย่อนกรณีเลี้ยงดูคนพิการคนละไม่เกิน 60,000 บาท
2. ค่าลดหย่อนกระตุ้นเศรษฐกิจ ตามรัฐบาลกำหนด การลงทุนใน startup ได้ไม่เกิน 100,000 บาท ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อการอยู่อาศัยพักตามจริงไม่เกิน 100,000 บาท ค่าใช้จ่ายท่องเที่ยว 55 เมืองรองหักตามจริงไม่เกิน 15,000 บาท ค่าธรรมเนียมการชำระเงินด้วยบัตรเดบิตคูณ 1 เท่าจากที่จ่ายจริง
3. ค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิต การลงทุน เบี้ยประกันชีวิต เงินฝากแบบมีประกันชีวิตไม่เกิน 100,000 บาท เบี้ยประกันสุขภาพของตนเองไม่เกิน 15,000 บาท เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ 15% ของเงินได้พึงประกันแต่ไม่เกิน 200,000 บาท กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช) ไม่เกิน 13,200 บาท กองทุนรวมหุ้นระยะยาว LTF 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีแต่ไม่เกิน 500,000 บาท กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ RMF 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีแต่ไม่เกิน 500,000 บาท เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กบข กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีแต่ต้องไม่เกิน 5 แสนบาท เงินประกันสังคมตามจริงแต่ไม่เกิน 9,000 บาท
4 ลดหย่อนภาษี เงินบริจาคทั่วไป เงินบริจาคเพื่อการศึกษา กีฬา สังคม x 2 เท่า ตามที่บริจาคจริงแต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนทั้งหมดแล้ว เงินบริจาคทั่วไปหักลดหย่อนได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ของรายได้
จะเห็นได้ว่า มีสิทธิ์ลดหย่อนภาษีมากมายที่สามารถนำมาหักและช่วยแบ่งเบาภาระการจ่ายภาษีของคุณให้น้อยลง แต่ถ้าไม่มีการวางแผนค่าใช้จ่าย บริหารเงินและมองหาตัวช่วยสำหรับลดหย่อนภาษีติดตัวไว้เลย ก็มีโอกาสที่คุณจะต้องเสียภาษีแบบเต็มขั้น ซึ่งวิธีง่ายๆที่จะช่วยให้คุณจ่ายภาษีน้อยกว่าปีก่อนหรือได้เงินคืนเต็มขั้นมากขึ้นก็คือ คุณสามารถเลือกใช้จ่ายไปกับสิทธิ์ลดหย่อนภาษีเพื่อช่วยประหยัดภาษีได้เช่นวางแผนซื้อแบบประกันคุ้มครองชีวิต ให้คุณจ่ายเบี้ยประกันคงที่ตลอดสัญญาชำระเบี้ยระยะสั้นรับความคุ้มครองโรคร้ายแรง 70 โลกและสามารถนำเบี้ยประกันภัยในส่วนคุ้มครองชีวิตไปลดหย่อนภาษีสูงสุด 100,000 บาทตามเงื่อนไขสรรพากรร่วมกับการซื้อ LTF และ RMF ควบคู่กันไปทุกปี
เมื่อถึงเวลาต้องยื่นภาษี คุณก็สามารถนำรายได้รวมของตนเองมาหักค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายกำหนด รายการหักลดหย่อนภาษีที่คุณมีสิทธิ์เพื่อให้เหลือรายได้สุทธิก่อนจะนำไปตรวจสอบกับช่วงอัตราภาษีที่ต้องจ่าย รวมถึงการนำเงินภาษีที่บริษัทหักภาษีไว้ ภาษีหัก ณ ที่จ่ายมาหักออกจากภาษีที่ต้องจ่ายทั้งหมดด้วย ซึ่งถ้าคุณมีจ่ายภาษีเกินกว่าที่คำนวณได้ ก็สามารถยื่นเรื่องภาษีคืนต่อไป แต่ทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นได้ถ้าคุณมีการวางแผนใช้จ่ายมาตั้งแต่ต้นและมีตัวช่วยลดหย่อนภาษีอื่นๆที่สอดคล้องกับเป้าหมายชีวิตของตนเอง