ชมดาวหาง"นิชิมูระ"เข้าใกล้โลกและดวงอาทิตย์ช่วงเดือนกันยายาน
ลุ้นชมดาวหาง"นิชิมูระ"โคจรใกล้ดวงอาทิตย์และโลกมากที่สุดในเดือนกันยายน 2566 นี้ ถ้าหากพลาดคราวนี้ ต้องรออีก 400 ปีข้างหน้าเลยทีเดียว
ปรากฏการณ์ที่นักวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ พาชมปรากฏการณ์"ดาวหางนิชิมูระ"ซึ่งโคจรเฉียดโลก วันนี้เรามาสังเกตุดาวหางนี้ไปด้วยกัน หากท้องฟ้าอำนวย
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์กรมหาชน)กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม เผยข้อมูลช่วงวันที่ 8-17 กันยายน 2566 มีโอกาสเห็น ดาวหางนิชิมูระ ซึ่งอาจสังเกตได้ชัดเจน เพราะอยู่ใกล้โลกและสว่างมาก หากฟ้าโปร่งไร้เมฆฝน
ในพื้นที่มืดสนิทมีโอกาสมองเห็นด้วยตาเปล่า และสามารถชมดาวหางนิชิมูระได้ทุกพื้นที่ จังหวัดของไทย
"ดาวหางนิชิมูระ"ถูกค้นพบครั้งแรกโดย ฮิเดโอะ นิชิมูระ นักดาราศาสตร์สมัครเล่นชาวญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2566 โดยใช้กล้องโทรทรรศน์ถ่ายภาพท้องฟ้าในช่วงรุ่งเช้า
ดาวหางนิชิมูระ จัดเป็นดาวหางคาบยาว มีแหล่งที่มาจากเมฆออร์ต(Oort Cloud) คาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 437 ปี ขณะนี้กำลังโคจรเข้าใกล้โลกและดวงอาทิตย์ และจะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดในวันที่ 17 กันยายน 2566
ระยะห่าง 34 ล้านกิโลเมตร มีความสว่างมากขึ้น อยู่ทางทิศตะวันตกช่วงหัวค่ำหลังดวงอาทิตย์ตก ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นมุม 10 องศา มีเวลาสังเกตเกือบ 1 ชั่วโมง ก่อนที่จะตกลับขอบฟ้าตามดวงอาทิตย์ไป
หลังจากนี้ ดาวหางจะค่อยๆโคจรออกห่างจากดวงอาทิตย์ และสว่างลดลงเรื่อยๆจนไม่สามารถสังเกตเห็นได้อีก และจะกลับมาเฉียดโลกใหม่ในอีก 400 ปีข้างหน้า
สำหรับใครที่ชื่นชอบปรากฏการณ์ดังกล่าว ขอให้ได้เห็นสมความตั้งใจครับ