10 อันดับขนมหวานไทยยอดฮิต ที่คนนิยมซื้อกินจากตลาดมากที่สุด
เมื่อเราไปเดินตลาด ไปซื้อกับข้าว ไปซื้อของกิน สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ ขนมหวาน ขนมไทยที่มีสีสันชวนล่อตาล่อใจ จนต้องซื้อติดไม้ติดมือกลับมาบ้าน
ดังนั้น ขนมไทย ที่พ่อค้าแม่ค้าส่วนมากเลือกทำมาขาย ได้แก่
1. ลอดช่อง ขนมพื้นบ้านที่ใช้แป้งข้าวเจ้าเป็นวัตถุดิบ เชื่อกันว่ามีต้นกำเนิดมาจากอินโดนีเซีย
ในประเทศไทย บางครั้งเรียกลอดช่องว่า ลอดช่องสิงคโปร์ มีที่มาจาก ชื่อร้านสิงคโปร์โภชนาที่เยาวราช กรุงเทพมหานคร
2. สาคูเปียกรวมมิตร เป็นขนมไทยที่จัดอยู่ในประเภท " เปียก " ส่วนประกอบหลักคือแป้งมันสำปะหลัง ที่ถูกแปรรูปมาเป็นเม็ดสาคู นอกจากมะพร้าวอ่อน เราสามารถใส่ข้าวโพด ลำไย หรือแม้กระทั่งเผือก ความอร่อยอยู่ที่ความหวานและมันของกะทินั่นเอง
3. ข้าวเหนียวถั่วดำ การทำข้าวเหนียวถั่วดำนั้น การต้มถั่วดำเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะถ้าถั่วต้มไม่สุกดี ขนมก็จะเสียรสชาติไปเลย
4. วุ้นกะทิ เป็นขนมไทยโบราณที่ได้รับอิทธิพลมาจากขนมโปรตุเกส ในบันทึกชาววังกล่าวไว้ว่า คุณท้าวทองกีบม้า หัวหน้าห้องเครื่องต้นในสมัยอยุธยา ได้นำสูตรขนมโปรตุเกสมากมายมาดัดแปลงจนกลายเป็นขนมสูตรชาววัง หนึ่งในนั้นมีเมนูขนมวุ้นชาววังรวมอยู่ด้วย ด้วยความหอมหวาน ประกอบกับขั้นตอนการทำไม่ยุ่งยาก ทำให้วุุ้นชาววังหรือวุ้นกะทิ ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
5. ขนมเปียกปูน เป็นขนมไทยประเภทกวน มักมีสีดำ ซึ่งได้จากกาบมะพร้าวเผาไฟ และ สีเขียวเข้มที่ได้จากน้ำใบเตยคั้น
6. บัวลอยไข่หวาน เป็นขนมไทยโบราณที่อยู่คู่กับคนไทยมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ด้วยความหมายที่เป็นมงคลของ ขนมบัวลอย ที่สื่อความหมายดีๆ ให้คนในครอบครัวกลมเกลียวเหนียวแน่น ยังส่งผลให้ ขนมบัวลอย ได้รับความนิยมนำมาทำรับประทานในงานบุญและงานมงคลต่างๆ เพื่อให้ผู้ที่รับประทานรักใคร่กลมเกลียวกัน เหมือนความหมายดีๆ ของขนมหวานถ้วยนี้อีกด้วย
7. ข้าวต้มมัด สมัยก่อนคนโบราณยกให้ข้าวต้มมัดเป็นสัญลักษณ์ของคนที่มีคู่ เพราะข้าวต้มมัดจะมีลักษณะการนำขนม 2 ชิ้น มามัดคู่กัน และเชื่อกันว่า ถ้าหนุ่มสาวได้ทำบุญวันเข้าพรรษาด้วยข้าวต้มมัด ความรักจะดี ชีวิตคู่ครองจะคงอยู่นานตลอดกาล เหมือนกับข้าวต้มมัดที่ผูกติดกัน คนโบราณสมัยก่อนเลยนิยมทำข้าวต้มมัดไปถวายพระในวันเข้าพรรษา
8. กล้วยทอด เกิดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งชาวอิสลาม หรือที่บ้านเราเรียกเขาว่า แขก เป็นศาสตราจารย์เกี่ยวกับอาหารประเภททอดทุกชนิด และในช่วงนั้น สยามประเทศยังไม่เคยทำอาหารชนิดใดให้สุก และไม่สามารถกินได้จากการทอดมาก่อนเลย พอมีคนทำสูตรเอาแป้งมาผสมกับน้ำ และใส่เครื่องเทศลงไป และนำกล้วยของไทยไปชุบและนำไปทอด จึงเรียกว่า กล้วยแขก เพราะการทำอาหารให้สุกจากการทอด มาจากคนอิสลาม หรือบ้านเราเรียกว่า แขก นั่นเอง
9. ขนมชั้น ในอดีตนิยมใช้ขนมชั้นในงานฉลองยศ เพราะมีความหมายถึงลำดับชั้นยศถาบรรดาศักดิ์ คนโบราณนิยมทำกันถึง 9 ชั้น เพราะถือเคล็ดเสียงของเลข " 9 " ว่าจะได้ " ก้าวหน้า " ในหน้าที่การงาน
นอกจากนี้ ขนมชั้น ยังจัดอยู่ ในชุดของขนมแต่งงานซึ่งในพิธีขันหมาก เนื่องจากมีชื่อที่เป็นสิริมงคล
10. ครองแครงกะทิสด เป็นขนมไทยมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย มีต้นกำเนิดจากประเทศโปรตุเกส โดย " มารี กีมาร์ " ซึ่งเธอเติบโตที่ไทย มีอายุเพียง 16 ปี เธอเรียนรู้การทำขนมไทยมามากมาย และได้ถ่ายทอดการทำขนมจากโปรตุเกสด้วย ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ ครองแครงกะทิสดนั่นเอง