นาซาค้นพบ“หลุมดำ”ประหลาดกำลังกลืนดาวฤกษ์
ยานสวิตฟ์ (Neil Gehrel Swift Observatoty) ของ องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา หรือองค์การนาซา ซึ่งได้ปล่อยขึ้นสู่วงโคจรฯ สามารถตรวจพบหลุมดำประหลาดในกาแลกซีอันไกลโพ้น ซึ่งปรากฎว่าหลุมดำกำลังกลืนดาวฤกษ์คล้ายดวงอาทิตย์ทีละนิด โดยนักดาราศาสตร์ให้ความสนใจในกระบวนการทำลายดาวของหลุมดำ เพราะทุกครั้งที่มีดาวโคจรเคลื่อนตัวผ่านใกล้หลุมดำ ดาวจะโป่งพองอย่างมองเห็นได้ชัดแต่ดาวเหล่านี้จะรอดพ้นเงื้อมมือของหลุมดำ ยกเว้นดาวที่สูญเสียก๊าซเป็นจำนวนมาก
การค้นพบครั้งนี้ ถือว่าเป็นยุคใหม่ของ Swift ที่ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลจากเอ็กซ์เรย์ เทเลสโคป ( XRT ) โดยนักดาราศาสตร์ฟิสิกส์แห่งมหาวิทยาลัยเลสเตอร์ในสหราชอาณาจักรได้กล่าวว่า ขณะนี้ทีมวิจัยนานาชาติ ได้นำทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ของ Swift ดัดแปลงให้เข้ากับดาราศาสตร์ฟิสิกส์ นอกจากนี้นักดาราศาสตร์ฟิสิกส์ ยังเรียกการศึกษาเกี่ยวกับดาวฤกษ์เคราะห์ร้ายและหลุมดำที่หิวกระหายว่า SwiftJ023017.0+283603 และตีพิมพ์ลงในวารสาร เนเจอร์ แอสโทรโน เมื่อวันที่ 7 กันยายนที่ผ่านมาด้วย
ทั้งนี้ เมื่อปี 2022 เอ็กซ์เรย์ เทเลสโครบ ( XRT ) พบ Swift J0230 เป็นครั้งแรก ในกาแลกซีที่ห่างจากโลกราว 500 ล้านปีแสงในกลุ่มดาวสามเหลี่ยม โดยที่ยาน Swift นั้นเดิมถูกออกแบบมาให้ศึกษาเกี่ยวกับการระเบิดของรังสีแกมมาและติดตามแสงระยิบระยับในรังสีเอกซ์และแสงยูวีที่มองเห็นได้ ก่อนที่จะมาค้นพบ Swift J0230 ดังกล่าว
อ้างอิงจาก: https://pixabay.com/th/images/search/blackhole,
https://pixabay.com/th/photos/ดาราศาสตร์