แยฆชอลที่เก็บน้ำแข็งโบราณ(ตู้เย็นโบราณ)ที่ทำงานในลักษณะเครื่องทำความเย็นแบบระเหย
แยฆชอล ที่เก็บน้ำแข็งโบราณ(ตู้เย็นโบราณ)ที่ทำงานในลักษณะเครื่องทำความเย็นแบบระเหย
นี้คือภูมิปัญญาของคนในสมัยโบราณที่รู้จักคิดประดิษฐ์ขึ้นมาเป็นอะไรที่มหัศจรรย์มากๆเลยนะครับ
แยฆชอล (เปอร์เซีย: یخچال, yaxčāl; แปลว่า "หลุมน้ำแข็ง", یخ แปลว่า "น้ำแข็ง" และ چال แปลว่า "หลุม") เป็นที่เก็บน้ำแข็งโบราณที่ทำงานในลักษณะเครื่องทำความเย็นแบบระเหย
แยฆชอลประกอบด้วยโครงสร้างรูปคล้ายโดมสูงเหนือจากพื้นดินและพื้นที่ใต้ดินสำหรับเก็บของ โดยทั่วไปใช้เก็บน้ำแข็งและอาหารอื่น ๆ พื้นที่เก็บของใต้ดินจะหุ้มด้วยวัสดุฉนวนกันการเสียความร้อนที่ทำให้สามารถเก็บความเย็นได้ตลอดปี โครงสร้างโบราณเหล่านี้พบได้ในประเทศอิหร่านปัจจุบัน
แยฆชอลแห่งโคว์แซร์ในจังหวัดโฆรอซอเนแรแซวี ประเทศอิหร่าน
ตู้เย็นสมัยใหม่
แยฆชอลทำงานโดยที่โครงสร้างรูปกรวย/โดมสูงเหนือพื้นดินจะช่วยไล่อากาศร้อนออกไปทางรูเปิดด้านบน กระบวนการนี้เกิดขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้อากาศภายในมีความเย็นลง
แยฆชอลสร้างขึ้นจากปูนสอกันน้ำที่เรียกว่าซอรูจ ทำมาจากทราย ดินเหนียว ไข่ขาว หินปูน ขนแพะ และขี้เถ้าผสมกันในสัดส่วนเฉพาะ มีลักษณะเป็นฉนวนป้องกันการสูญความร้อนและกันน้ำ โดยในฐานของแยฆชอลจะก่อซอรูจไว้หนาอย่างน้อยสองเมตรเพื่อกันการสูญความร้อน
ในปัจจุบัน อิหร่าน อัฟกานิสถาน และทาจิกิสถานยังใช้ ศัพท์ แยฆชอล เรียกตู้เย็นไฟฟ้าสมัยใหม่เช่นกัน