ปัทมานภสวามีมนเทียร (Padmanabhaswamy temple)
ปัทมานภสวามีมนเทียร (Padmanabhaswamy temple) เป็นโบสถ์พราหมณ์ในเมืองติรุวนันตปุรัม เมืองหลวงของรัฐเกรละ ประเทศอินเดีย ชื่อเมืองนั้น เป็นภาษามลยาฬัม [มะ-ละ-ยา-ลำ] แปลว่า "เมืองของพระอนันตะ" อันหมายถึงเทพเจ้า องค์ประธานของโบสถ์พราหมณ์แห่งนี้ การก่อสร้างนั้น ผสมผสานสถาปัตยกรรมเกรละ กับทราวิฑเข้าด้วยกันอย่างสวยงาม โคปุระของโบสถ์พราหมณ์นี้ สร้างขึ้นตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในขณะที่อนันถปุระมนเทียร (Ananthapura temple) ในกุมภละ นั้นถือว่า เป็นที่ประดิษฐานดั้งเดิมขององค์เทพ ซึ่งในเชิงสถาปัตยกรรมแล้ว เป็นการสร้างจำลอง มากจาก อาทิเกสวเปรุมัล (Adikesava Perumal temple) ในติรุวัตตาร์ (Thiruvattar) มากกว่า
เทพเจ้าองค์ประธานของวัดนี้คือ "พระปัทมานภสวามี" (Padmanabhaswamy) หรือพระวิษณุ ซึ่งประทับในปาง "อนันตศยน" ("Anantha Shayana") หรือโยคะนิทราตลอดกาล บนพญานาคเศษะ พระปัทมานภสวามี ทรงเป็นเทพเจ้าประจำราชสกุล ติรุวิตางกูร์ (Travancore)
ทั้งปัทมานภสวามีมนเทียร และทรัพย์สินทั้งปวงของมนเทียรนั้น เป็นของพระปัทมานภสวามี และอยู่ภายใต้การควบคุมดูแล ของคณะกรรมการทรัพย์สิน (trust) มาอย่างยาวนาน คณะกรรมการทรัพย์สินนั้น นำโดย ราชสกุลติรุวิตางกูร์ (Travancore royal family) อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน ศาลสูงสุดของอินเดีย ได้ปลดราชสกุลนี้ ออกจากการดูแลทรัพย์สิน การดำเนินคดีของที.พี. สุนทรราชัน (T P Sundararajan) ได้เปลี่ยนมุมมองของผู้คนต่อมนเทียรนี้ ไปตลอดกาล
เมื่อเดือนมิถุนายน 2011 ศาลสูง ได้มีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่จากฝ่ายโบราณคดี และเจ้าหน้าที่ดับเพลิงเข้าเปิดห้องลับทั้งหลายของมนเทียร เพื่อตรวจสอบวัตถุที่ถูกเก็บไว้ภายใน จนถึงปัจจุบัน มีการค้นพบห้องเก็บของใต้ดิน (vault) เรียกว่า นิลวร (nilavara) ของมนเทียรแล้ว 6 ห้อง ซึ่งได้ตั้งชื่อตามอักษรอังกฤษ A ถึง F ในขณะที่ห้อง B ไม่เคยถูกเปิดออกเลย เป็นเวลาหลายศตวรรษ เป็นไปได้ว่าห้อง A เคยถูกเปิดแล้วครั้งหนึ่ง ในทศวรรษ 1930s ส่วนห้อง C ถึง F นั้น มีการเปิดเข้าออกเป็นบางครั้ง ในช่วงปีที่ผ่านมา เปรียา นัมภิ (Periya Nambi) กับ เฐกเกธาตุ นัมภิ (Thekkedathu Nambi) นักบวชสององค์ เป็นผู้ดูแลห้อง C ถึง F ทั้งสี่ห้อง ศาลสูงได้กำกับให้ "ประกอบพิธีตามความเชื่อ" ของมนเทียร ในการเปิดห้องแต่ละห้อง และให้นำสมบัติต่าง ๆ ในทั้งสี่ห้อง ออกมาจัดการ และจัดเก็บอย่างเป็นระบบ ส่วนห้อง A และ B นั้น จะเปิดได้ ก็เพื่อการจัดเก็บสิ่งต่าง ๆ เท่านั้น แล้วให้ปิด การตรวจสอบห้องเก็บสมบัติใต้ดินนี้ เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการเจ็ดคน ซึ่งศาลสูงอินเดีย เป็นผู้แต่งตั้ง โดยมีหน้าที่ให้จัดเก็บ และจัดการสมบัติต่าง ๆ อย่างเป็นระบบระเบียบ อันนำไปสู่การจัดประเภทของสมบัติต่าง ๆ จำนวนมหาศาลนี้ รายละเอียดของสมบัติที่พบ ทั้งทองคำ อัญมณี และของมีค่าอื่น ๆ นั้น ยังไม่ได้มีการทำออกมาอย่างละเอียด ตลอดการจัดการนั้น ห้อง A, C, D, E และ F ได้ถูกเปิดเข้าออกเช่นเดียวกับห้องย่อย ๆ ในขณะที่มีเพียงห้อง B เท่านั้น ที่ยังคงไม่ถูกเปิดออก
รายการสมบัติที่พบเช่น เทวรูปพระมหาวิษณุทองคำ สูงสามฟุตครึ่ง พร้อมทั้งเพชรและทับทิมรวมถึงหินมีค่าอื่น ๆ นอกจากนี้ยังพบโซ่ทองคำแท้ยาว 18 ฟุต กองทองคำหนัก 500 กิโลกรัม ผ้าคลุมใบหน้าทองคำหนัก 36 กิโลกรัม สายเหรียญทองคำ 'Sarappalli' 1200 เหรียญ ที่ประดับขอบด้วยหินมีค่า ท่ามกลางกองโบราณวัตถุ, สร้อยคอ, มงกุฏ ซึ่งทำมาจากหรือตกแต่งด้วยทองคำ เพชร ทับทิม หินและเหล็กมีค่าอื่น ๆ
นอกจากนี้ ยังพบเครื่องทรงสำหรับพิธีกรรม ในการบูชาเทพองค์ประธานของมนเทียรนั้น เป็นชิ้นส่วนสำหรับสวมใส่ 16 ชิ้น ทำมาจากทองคำ และตกแต่งด้วยทับทิมกับมรกต หนักรวมกว่า 30 กิโลกรัม และเหรียญจากศตวรรษที่ 18 หรือราวยุคของนโปเลียน ต่อมาในช่วงต้นปี 2012 คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญได้ถูกแต่งตั้ง เพื่อตรวจสอบโบราณวัตถุต่าง ๆ
วิโนท ไร (Vinod Rai) อดีตเจ้าหน้าที่กรมบัญชีกลาง และผู้ตรวจสอบบัญชี (Comptroller-and-Auditor-General; CAG) แห่งชาติของอินเดีย ผู้เคยตรวจสอบบัญชีของมนเทียรบางส่วน จากปี 1990 ได้ระบุว่า เมื่อสิงหาคม 2014 ในห้อง A ได้พบกองเหรียญทองคำหนักรวม 800 กิโลกรัม อายุราว 200 ปี ก่อนคริสต์กาล มูลค่ารวมกว่า₹2.7 โคร (11.5 สิบล้านบาท) ผู้คนที่เคยได้เข้าไปมีส่วนร่วมกับการตรวจสอบนี้ระบุว่า มีโอกาสได้เห็นทั้ง บัลลังก์ทองคำ เพชรมากมาย ซึ่งบางเม็ดนั้น มีขนาดใหญ่เกือบเท่านิ้วโป้งของผู้ชายโตเต็มวัย ในหลายรายงานได้ระบุว่า พบมงกุฏอย่างน้อยแล้ว 3 อัน ซึ่งล้วนทำมาจากทองคำ และประดับด้วยอัญมณีมีค่า ในบางรายงาน ระบุถึงเก้าอี้ทองคำหลายร้อยตัส, ถ้วยไหทองคำเป็นพันใบ ท่ามกลางสมบัติอีกมาก เกินความคาดหมายที่พบในห้อง A
การเปิดเผยครั้งนี้ เป็นการยืนยันสถานะ ให้กับปัทมานภสวามีมนเทียรว่า เป็นศาสนสถานที่ร่ำรวยที่สุดในโลก มีการประมาณมูลค่ารวมของวัตถุชิ้นใหญ่ ๆ ไว้ที่เกือบ ₹1.2 lakh crore หรือ ₹1.2 ล้านล้าน (510.5 แสนล้านบาท) แต่หากรวมมูลค่าทางโบราณคดี วัฒนธรรม และความเก่าแก่เข้าไปแล้ว มูลค่านั้น อาจสูงกว่ามูลค่าตลาดที่ประเมินไว้ได้ ถึงสิบเท่า
ทั้ง ๆ ที่ยังมีบางห้อง และห้องย่อยที่ยังไม่ได้เปิด รวมอีก 3 ห้องจากจำนวนรวม 8 ห้อง สมบัติเท่าที่ค้นพบนี้นั้นถือว่า เป็นการเก็บรวบรวมวัตถุทองคำ และหินมีค่าที่ใหญ่ที่สุด ในประวัติศาสตร์ของโลก
เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ทีมผู้เชี่ยวชาญทั้งเจ็ดคน ได้ลงความเห็นว่า จะเลื่อนการเปิดค้นห้อง B ออกไปก่อน เนื่องด้วยห้อง B ยังไม่เคยถูกเปิดมาก่อนเลย เป็นที่เชื่อกันว่า การเปิดห้องนี้ออก จะถือเป็นโชคร้ายอย่างรุนแรง ราชสกุลผู้ดูแลทรัพย์สินกล่าวว่า มีตำนานมากมาย เกี่ยวกับมนเทียรนี้ และห้อง B ได้ทำประตูด้วยเหล็ก พร้อมรูปสลักของงูใหญ่สองตัว เพื่อเป็นการเตือน ถึงโชคร้ายอย่างรุนแรงที่จะเกิดขึ้น เมื่อเปิดห้องนี้ออก มีการประกอบพิธีอัษฏมงคล เทวปรัสนัม (Ashtamangala Devaprasnam) ขึ้น เพื่อทราบพระประสงค์ขององค์เทพเจ้า องค์ประธานของมนเทียร ต่อการเปิดห้อง B ซึ่งหลังการประกอบพิธี คณะกรรมการและนักบวชได้ระบุว่า การพยายามจะเปิดห้อง B ครั้งใดก็ตาม จะเป็นการสร้างความไม่พอพระหฤทัยแก่พระองค์ ในขณะเดียวกัน ผู้ที่จัดการสมบัติยังพบว่า สมบัติศักดิ์สิทธิ์ทั้งปวงในห้องอื่น ๆ ที่นำออกมาแล้วนั้น ก็ได้บังเกิดความโสโครกขึ้น ในกระบวนการจัดเก็บ ผู้ซึ่งฎีกาให้ศาลสูง ต้องสั่งให้มีการจัดเก็บสมบัติทั้งหมดที่กล่าวมานี้ขึ้น ที.พี. สุนทราชัน (T.P. Sundarajan) เสียชีวิตลงในเดือนกรกฎาคม 2011 การเสียชีวิตของเขา ทำให้ความเชื่อต่าง ๆ เรื่องโชคร้าย และคำสาปของสมบัติ ในมนเทียรนี้ มีมูลมากขึ้นไปกว่าเดิม
ห้อง B (ห้องเก็บสมบัติต้องห้าม) ในตำนานที่เป็นที่พูดถึงมากตำนานหนึ่ง เทวดาและฤาษีหลายองค์ ที่นับถือในพระพลราม ได้เดินทางมาเข้าเฝ้าพระองค์ ที่สระปัทมตีรฐัม (Padmateertham) ในเมืองฐิรุวานันถปุรัม (Thiruvananthapuram) แห่งนี้ และได้ขอพระอนุญาต ในการอยู่อาศัยในบริเวณนั้น เพื่อจะได้บูชาพระองค์ ซึ่งพระองค์ทรงอนุญาต เชื่อกันว่า บรรดาเทวดาและฤาษี ได้อยู่อาศัยภายในห้องเก็บสมบัติ B เพื่อถวายบูชาแด่พระองค์ เช่นเดียวกันกับนาคเทวดา ที่ศรัทธาในพระองค์ รวมทั้ง Kanjirottu Yakshi ผู้ซึ่งปรากฏในภาพเขียนฝาผนัง ในครรภคฤห์ของมนเทียร ก็สถิตอยู่ในกลลรนี้เพื่อบูชาพระนรสิงห์ด้วย วัตถุศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ เช่นศรีจักรัม (ศรีจักร; Sreechakram) ได้ถูกติดตั้งไว้ใต้กลลรนี้ เพื่อเสริมพลังให้แก่องค์เทพเจ้า องค์ประธานของมนเทียรนี้ เชื่อกันว่า พระอุครนรสิงห์ แห่งเฐกเกโดม (Ugra Narasimha of Thekkedom) เป็นผู้พิทักษ์ปกป้องกลลร B นี้ ในพิธีอัษฏมงคล เทวปรัสนัม (Ashtamangala Devaprasnam) ระยะเวลาสี่วัน ซึ่งประกอบเมื่อเดือนสิงหาคม 2011 ได้ประกาศให้กลลร B เป็น "เขตต้องห้ามเด็ดขาด"
ที่มา: wikipedia