ลดอาหารและเครื่องดื่มประเภทไหนจะช่วยป้องกันภาวะอาการนอนไม่หลับ
กาเฟอีนทำให้การหายใจและการเต้นของหัวใจเร็วขึ้น กระตุ้นระบบประสาท ลดการหลั่งเมลาโทนิน และยังกดการหลั่งอะดีโนซีน (adenosine ซึ่งเป็นตัวนำสัญญาณประสาทที่เกี่ยวข้องกับการหลับสนิท ดังนั้นอาหารที่มีกาเฟอีนจึงทำให้ประสาทตื่นตัว หรือพูดอีกอย่างคืออาหารที่มีกาเฟอีนรบกวนการนอนหลับนั่นเอง สิ่งที่เรารับประทานเป็นประจำอย่างชา กาแฟ ช็อกโกแลต ยาบางชนิด ล้วนมีกาเฟอีน บางคนไวต่อกาเฟอีนเป็นพิเศษถึงขั้นที่ว่ารับประทานช็อกโกแลตตอนบ่าย ตกกลางคืนจะนอนไม่หลับ ดังนั้นจึงมีคำแนะนำว่าตอนบ่ายควรงดเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน นอกจากนี้กาเฟอีน ยังมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน พอตอนเข้าก็ต้องรีบลุกขึ้นมาปัสสาวะอีก เป็นการรบกวนการนอนหลับ
เคล็คลับในการลดกาเฟอีน
ควรจำกัดปริมาณกาเฟอีนอย่างเข้มงวด วันหนึ่งไม่เกิน 200 มก.
- หันไปดื่มกาแฟที่ไม่มีกาเฟอีน
- ใช้กาแฟที่ไม่มีกาเฟอีนผสมกับกาแฟธรรมดาในอัตราสวน 1:1 เพื่อลดปริมาณกาเฟอีนที่รับเข้าสู่ร่างกาย
- เวลาในการต้มกาแฟ จะช่วยลดปริมาณกาเฟอีน
- เวลาซงชา ไม่ควรดื่มน้ำแรกที่ได้ เพราะน้ำแรกนั้นมีกาเฟอีนมากที่สุด
- กาเฟอีนมีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาท ส่งผลต่อการนอน สำหรับผู้ที่นอนและไวต่อกาเฟอีนเป็นพิเศษ ทางที่ดีควรงคกาแฟ 6 ชั่วโมงก่อนนอน
ตรวจปริมาณกาเฟอีนในเครื่องดื่มประจำวัน ปริมาณกาเฟอีน (มก.)
- กาแฟผงแบบหยด ( 150 ซีซี) ปริมาณกาเฟอีน 115 (มก.)
- กาแฟผงแบบกรอง (150 ซีซี) ปริมาณกาเฟอีน 80 (มก.)
- กาแฟสำเร็จรูป (150 ซีซี) ปริมาณกาเฟอีน 65 (มก.)
- กาแฟสกัดกาเฟอีน (150 ซีซี) ปริมาณกาเฟอีน 2 – 5 (มก.)
- ชาแบบชง ปริมาณกาเฟอีน 40 (มก.)
- ชาแคงจากต่างประเทศ (180 ซีซี) ปริมาณกาเฟอีน 65 (มก.)
- น้ำอัดลม (กระป้องขนาค 350 ซีซี) ปริมาณกาเฟอีน 45 (มก.)