เปิดตำนาน"ทุ่งกุลาร้องไห้"สถานที่แห้งแล้งที่สุดในประเทศไทย
เป็นตำนานเล่าขานสืบต่อกันมาเนิ่นนานว่าเป็นสถานที่แห้งแล้งที่สุดในประเทศไทย กินพื้นที่ทั้งหมด5จังหวัดในเขตภาคอีสานของไทย ได้แก่
เป็นที่ราบขนาดใหญ่ในภาคอีสาน มีพื้นที่ประมาณ 2 ล้านไร่ มีที่ตั้งติด แม่น้ำมูล และลำน้ำสาขาของแม่น้ำมูล เช่น ห้วยทับทัน ลำทับทันหรือคลองทับทัน ห้วยเสียว ลำพลับพลา และบางส่วนที่ติด แม่น้ำชี ครอบคลุมพื้นที่ 13 อำเภอ 5 จังหวัด ได้แก่ อำเภอ
พยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม; อำเภอชุมพลบุรีและอำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์; อำเภอปทุมรัตต์ อำเภอเกษตรวิสัย อำเภอสุวรรณภูมิ อำเภอโพนทราย และอำเภอหนองฮี จังหวัดร้อยเอ็ด; อำเภอศิลาลาด อำเภอราษีไศล และอำเภอยางชุมน้อย บางส่วนของ อำเภออุทุมพรพิสัย อำเภอห้วยทับทัน อำเภอบึงบูรพ์ ที่มีที่ตั้งติดห้วยทับทัน ลำทับทันหรือคลองทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ อำเภอค้อวัง และอำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร
ทุ่งกุลาร้องไห้ มีเรื่องเล่าสืบกันมาว่า ชนเผ่ากุลาซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยจากเมืองเมาะตะมะประเทศพม่า ได้เดินทางมาค้าขายผ่านทุ่งแห่งนี้ ปกติแล้วชนเผ่ากุลาเป็นชนเผ่าที่มีความอดทนสูงมาก สู้งาน สู้แดด ลม ฝน แต่เมื่อได้เดินทางผ่านทุ่งแห่งนี้ ที่มีพื้นที่กว้างขวางเหลือประมาณ ต้องใช้เวลาเดินทางหลายวัน ไม่พบหมู่บ้านใด ๆ เลย น้ำก็ไม่มีดื่ม ต้นไม้ก็ไม่มีที่จะให้ร่มเงา มีแต่ทุ่งหญ้าเต็มไปหมด พื้นดินก็เป็นทราย เดินทางยากลำบากเหมือนอยู่กลางทะเลทราย ทำให้คนพวกนี้ถึงกับร้องไห้ ดังนั้น จึงได้ชื่อว่า "ทุ่งกุลาร้องไห้"
ในอดีตทุ่งกุลาที่มีภูมิประเทศเป็นแอ่งกระทะขนาดใหญ่ กินพื้นที่5จังหวัดของภาคอีสานของไทยในหน้าแล้งจะแล้งหนักมากและในหน้าฝนฝนก็ท่วมหนักมากเช่นเดียวกันพื้นดินลึกลงไปเป็นดินเค็มจากสภาพดังกล่าว ทำให้รัฐบาลขณะนั้นตระหนักในแก้ปัญหาและพัฒนาทุ่งกุลาร้องไห้อย่างเร่งด่วนจึงได้ประสานขอความร่วมมือจาก
ออสเตรเลียโดยการพัฒนาชนบทโดยมุ่งเน้นการช่วยเหลือการศึกษาวิจัยได้กำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาทั้งเรื่องการปรับปรุงที่นาพัฒนาแหล่งน้ำการพัฒนาพื้นที่ดอนแห่งนี้และให้กรมพัฒนาที่ดิน
เข้าไปสำรวจดินร่วมกันแก้ใขดินเค็มเพื่อทำเกษตรกรรมในระยะยาวและปรับปรุงแหล่งน้ำชลประทานให้สามารถมีปริมาณที่เพียงพอและควบคุมปริมาณน้ำให้อยู่ในเกณฑ์ที่พอดีในหน้าฝน และแก้ปัญหาในหน้าแล้งอย่างมีระบบรวมทั้งยังแก้ปัญหาดินเค็มในบางพื้นที่กรมพัฒนาที่ได้เข้ามามีส่วนแก้ใขปัญหาดังกล่าวจนเป็นที่น่าพอใจ และสามารถจัดสรรค์พื้นที่ทำกินให้ประชาชนรวมถึงผลักดันด้านเกษตรกรรมให้สามารถปลูกข้าวปลูกพืชไร่ชนิดอื่นๆอย่างมีประสิทธิภาพจนเป็นที่มาของพื้นที่อีสานเขียวในเวลาต่อมาและสามารถพูดได้เต็มปากว่าพื้นที่แห่งนี้ปลูกข้าวหอมมะลิได้ดีหอมอร่อยที่สุดในโลกอีกด้วย
อ้างอิงจาก: ประวัติศาสตร์ชาติไทย