มันไซ..การแสดงตลกในญี่ปุ่น โบราณ ซึ่งสามารถเปรียบได้เหมือนการแสดงสแตนด์อัพคอมเมดี
มันไซ..การแสดงตลกในวัฒนธรรมญี่ปุ่น โบราณ ซึ่งสามารถเปรียบได้เหมือนการแสดงสแตนด์อัพคอมเมดี
มันไซ (ญี่ปุ่น: 漫才; โรมาจิ: Manzai) เป็นการแสดงตลกในวัฒนธรรมญี่ปุ่น ซึ่งสามารถเปรียบได้เหมือนการแสดงสแตนด์อัพคอมเมดี
คู่ผู้แสดงมันไซในงานเฉลิมฉลองขึ้นปีใหม่ โดยคนขัดจังหวะ (สึกโกมิ) อยู่ด้านหน้า และคนใสซื่อ (โบเกะ) อยู่ด้านหลัง (ไม่ทราบศิลปิน ภาพวาดญี่ปุ่นช่วงศตวรรษที่ 19)
โดยทั่วไปแล้ว มันไซจะประกอบไปด้วยผู้แสดงสองคน (ญี่ปุ่น: 漫才師; โรมาจิ: Manzaishi) ได้แก่ คนขัดจังหวะ (ญี่ปุ่น: 突っ込み; โรมาจิ: Tsukkomi; ทับศัพท์: สึกโกมิ; สอดเข้า, ขัดจังหวะ) และ คนใสซื่อ (ญี่ปุ่น: ボケ; โรมาจิ: Boke; ทับศัพท์: โบเกะ (มาจากคำว่า 呆ける ซึ่งหมายถึงเติบโตอย่างไร้เดียงสา)) รับและส่งมุกตลก (เปรียบเสมือนการชง-ตบ) ด้วยความเร็ว ส่วนใหญ่จะเป็นมุกตลกที่เล่าถึงสถานการณ์การที่ต่างคนต่างเข้าใจผิด พูดไร้สาระ หรือคำพูดสองแง่สองง่าม
ในปัจจุบัน มันไซจะถูกเล่นในแถบโอซากะและผู้แสดงมันไซจะใช้สำเนียงคันไซในระหว่างการทำการแสดง
ในปี ค.ศ. 1933 โยชิโมโตะ โคเกียว บริษัทความบันเทิงขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ในโอซากะ ได้เริ่มมีการนำเสนอการแสดงมันไซในแบบโอซากะและการเขียนคำว่า 'มันไซ' โดยใช้อักษรคันจิ "漫 (man)" และ "才 (zai)" (เป็นหนึ่งในวิธีเขียนหลายแบบของ 'มันไซ' ในภาษาญี่ปุ่น (ดู § ชื่อเรียก ด้านล่าง) แก่ผู้ชมชาวโตเกียวได้รู้จัก ในปี 2015 นวนิยายมันไซของมาโตโยชิ นาโอกิ สปาร์ค (ญี่ปุ่น: 火花; โรมาจิ: Hibana) ได้รับรางวัลวรรณกรรมอากูตางาวะ และถูกดัดแปลงเป็นละครชุด ฮิบานะ: สปาร์ค บนเน็ตฟลิกซ์ในปี 2016 นอกจากนี้ภาพยนตร์เรื่อง เด็กอาซากุสะ ที่เล่าเรื่องราวของนักแสดงมันไซ ทาเกชิ คิตาโนะ ได้เผยแพร่บนเน็ตฟลิกซ์ในปี 2021 ด้วยเช่นกัน
ประวัติ
พบหลักฐานการแสดงมันไซเป็นครั้งแรกในเทศกาลตรุษญี่ปุ่นช่วงยุคเฮอัง ผู้แสดงมันไซสองคนที่ตอบโต้กันด้วยคำพูดที่มาจากเหล่าเทพ โดยผู้แสดงคนหนึ่งมีท่าที่หรือแสดงปฏิกิริยาตรงกันข้ามกับอีกฝ่ายหนึ่ง รูปแบบนี้ยังคงมีให้เห็นอยู่จวบจนถึงปัจจุบันในบทบาทของคนใสซื่อ (โบเกะ) และ คนขัดจังหวะ (สึกโกมิ)
ภาพพิมพ์แสดงนักแสดงมันไซสองคนในฉากปีใหม่ (ราว 1825)
ต่อมาในยุคเอโดะ การให้ความสำคัญกับอารมณ์ขันได้เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ภูมิภาคต่าง ๆ ในประเทศญี่ปุ่นได้ออกแบบวิธีการแสดงมันไซที่แตกต่างกันไป เช่น โอวาริ มันไซ (ญี่ปุ่น: 尾張万歳; โรมาจิ: Owari Manzai) มิกาวะ มันไซ (ญี่ปุ่น: 三河万歳; โรมาจิ: Mikawa Manzai) และ ยาโมโตะ มันไซ (ญี่ปุ่น: 大和万歳) การมาถึงของยุคเมจิ ทำให้เกิด โอซากะ มันไซ (ญี่ปุ่น: 大阪万才; โรมาจิ: Ōsaka Manzai) ที่ได้เริ่มสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีกว่าในเชิงความนิยมเมื่อเทียบกับมันไซในยุคก่อน ๆ
ซึ่งถึงแม้จะเป็นเช่นนั้น รากูโกะ ยังคงเป็นที่นิยมเสียมากกว่า[ต้องการอ้างอิง]
หลังสิ้นสุดยุคไทโช ในปี 1912 บริษัทโยชิโมโตะ โคเกียว ที่ก่อตั้งในช่วงต้น ๆ ของยุคได้คิดค้นมันไซที่ไม่มีการแสดงในเชิงเฉลิมฉลองเหมือนมันไซสมัยก่อน โดยมันไซรูปแบบใหม่ได้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากและความนิยมก็ได้แพร่กระจายไปทั่วประเทศญี่ปุ่น รวมถึงโตเกียวด้วยเช่นกัน และประกอบกับคลื่นเทคโนโลยีการสื่อสารใหม่ มันไซยังถูกแสดงบนเวทีโรงละคร วิทยุ โทรทัศน์ และวิดีโอเกม
การแสดงมันไซที่มีชื่อเสียง
ดาวน์ทาวน์
ทาเกชิ คิตาโนะ ผู้กำกับภาพยนตร์ พิธีรายการโทรทัศน์ และอดีตนักแสดงมันไซของ "ทู บีทส์"
ชื่อเรียก
คันจิสำหรับคำว่า 'มันไซ' สามารถเขียนได้หลายแบบ โดยดั่งเดิมแล้วเขียนแล้วมีความหมายว่า "หมื่นปี" (ญี่ปุ่น: 萬歳; โรมาจิ: Banzai; ทับศัพท์: บันไซ) ที่ใช้คันจิ 萬 (man) แทนที่จะใช้คันจิอีกตัวที่อ่านออกเสียงเหมือนกัน 万 และคันจิที่ง่ายกว่า 才 แทนที่ 歳 (สามารถเขียนเพื่อสื่อความหมาย 'ความสามารถ') การมาถึงของ โอซากะ มันไซ ทำให้มีการเปลี่ยนคันจิตัวแรกเป็น 漫 ที่อ่านออกเสียงเหมือนกัน
โบเกะ และ สึกโกมิ
โบเกะ และ สึกโกมิ ถือว่าเป็นลักษณะเด่นที่สำคัญของมันไซ ซึ่งสามารถเปรียบเสมือนได้กับการชง-ตบของการแสดงตลกในประเทศไทย คนใสซื่อ (ญี่ปุ่น: ボケ; โรมาจิ: Boke; ทับศัพท์: โบเกะ) มาจากคำกริยา โบเกรุ (ญี่ปุ่น: 惚ける/呆ける; โรมาจิ: Bokeru) ที่มีความหมายว่า "เติบโตอย่างไร้เดียงสา" ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการตีความที่ผิดพลาดและการลืมสิ่งที่พึ่งพูดออกไปในระยะเวลาอันรวดเร็วของผู้ที่รับบทเป็นโบเกะ และคำว่า สึกโกมิ (ญี่ปุ่น: 突っ込み; โรมาจิ: Tsukkomi) หมายถึงผู้แสดงมันไซที่มีหน้าที่ขัดจังหวะ พูดแทรก หรือแก้ไขข้อมูลที่ไม่ถูกต้องของโบเกะ โดยทั่วไปแล้วสึกโกมิจะตำหนิติเตียนโบเกะ และตีศีรษะด้วยพัดลมกระดาษพับที่เรียก ฮาริเซ็ง (ญี่ปุ่น: 張り扇; โรมาจิ: Harisen) นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์ประกอบการแสดงมันไซอื่น ๆ เช่น กลองเล็กที่มักจะถือและใช้โดยโบเกะ ไม้ไผ่ญี่ปุ่น หรือร่มกระดาษ
เป็นต้น[ต้องการอ้างอิง] อุปกรณ์ประกอบการแสดงเหล่านี้จะใช้ในการแสดงมันไซที่ไม่มีความจริงจังเท่านั้น เนื่องจากการแสดงมันไซแบบดั้งเดิมหรือการแข่งขันจะบังคับไม่ให้มีการใช้อุปกรณ์ประกอบการแสดง
อีกทั้งยังทำให้การแสดงตลกนี้เป็นเหมือนกับ คนโตะ (การแสดงตลกที่ให้ความสำคัญกับอุปกรณ์และฉากประกอบการแสดง) มากกว่าการแสดงมันไซ
อ้างอิงจาก: gov-online.go.jp/eng/publicity/book/hlj/,วิกิพีเดีย