หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ไทยจะสร้างทางด่วนใต้ดินแห่งแรก"ทางด่วนงามวงศ์วาน" ระบบความปลอดภัยครบครัน

เนื้อหาโดย LOVE

ไทยเราพัฒนาไปไกลกว่าหลายประเทศในอาเซียน

ล่าสุดผุดโปรเจคยักษ์

”ทางด่วนใต้ดินสายแรก”

*จัดเซฟตี้โซนทุก250เมตรมีบันได&ลิฟต์อพยพคน 

*ไทยประเดิมสร้าง3.6หมื่นล้านเป็นต้นแบบอาเซียน

*กว้าง16เมตร2ชั้นลึกสุด44เมตรลอด”งามวงศ์วาน”

              นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เป็นประธานจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นประชาชน ครั้งที่ 2 (สรุปผลการคัดเลือกแนวสายทาง) 

                 งานศึกษาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงิน และผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการระบบทางพิเศษ(ด่วน) ขั้นที่ 3 สายเหนือ ระยะที่ 2 ส่วนทดแทน (ตอน N1 ศรีรัช-ถนนประเสริฐมนูกิจ) 

                นายสุรเชษฐ์ เปิดเผยว่า จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่า ทางเลือกที่ 2.2 เหมาะสมที่สุดโดยเป็นอุโมงค์ใต้ดินทั้งหมด ระยะทาง 6.7 กม.มีจุดเริ่มต้นบริเวณทางด่วนศรีรัชตัดถนนงามวงศ์วาน 

                ไปตามแนวถนนงามวงศ์วาน ผ่านแยกพงษ์เพชร แยกบางเขนแยกเกษตร เข้าถนนประเสริฐมนูกิจ เชื่อมต่อโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ระยะที่ 1 (ตอน N2 ถนนประเสริฐมนูกิจ-ถนนวงแหวนรอบนอกฯ ด้านตะวันออก)

                

               นายสุรเชษฐ์ กล่าวต่อว่า จากการรับฟังความคิดเห็นเบื้องต้น ประชาชนส่วนใหญ่ยังห่วงกังวล 3 ประเด็นได้แก่ 1.ระบบความปลอดภัยในอุโมงค์ 2.การเยียวยาระหว่างการก่อสร้าง และ 3.ปัญหาการจราจร 

 

               ซึ่งขอบคุณทุกคนที่ตั้งประเด็นต่างๆ โดยจะนำไปพิจารณา และทำทุกวิถีทางในทุกราคา และทุกต้นทุนที่มี เพื่อให้ประชาชนมั่นใจว่าข้อห่วงใยต่างๆ ได้รับการแก้ไขที่ถูกต้อง และปลอดภัยแท้จริง 

 

              หลังจากนี้ยังต้องรับฟังความคิดเห็นประชาชนกันอีก คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 67 จากนั้นจะเสนอผลศึกษาต่อคณะกรรมการ(บอร์ด) กทพ. และคณะรัฐมนตรี(ครม.) ประมาณปี 68 คาดว่าเปิดประมูลปี 69 เริ่มก่อสร้างปี70 ใช้เวลาก่อสร้าง 5 ปี แล้วเสร็จ และเปิดบริการประมาณปี 75  

               นายสุรเชษฐ์ กล่าวอีกว่า อุโมงค์ทางด่วน N1 มี 4 ช่องจราจร จะสร้างเป็นอุโมงค์ใต้ดิน 2 ชั้นๆ ละ 2 ช่องจราจร โดยเส้นทางจากด่วนศรีรัชมุ่งหน้าถนนนวมินทร์จะอยู่ชั้นบน ส่วนเส้นทางจากถนนนวมินทร์ไปทางด่วนศรีรัช จะอยู่ชั้นล่างอุโมงค์มีความกว้างประมาณ 16 เมตร และลึกประมาณ 40 เมตร  

 

               บริเวณแยกมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.)อุโมงค์ทางด่วนจะสร้างอยู่เหลื่อมๆกับอุโมงค์ทางลอดแยก ม.เกษตรศาสตร์ ไม่ได้อยู่ซ้อนกัน ถือเป็นทางด่วนใต้ดินสายแรกของประเทศไทย และในอาเซียนยังไม่มีการก่อสร้าง ขณะที่ในเอเชียประเทศญี่ปุ่นอยู่ระหว่างการก่อสร้าง

                อุโมงค์จะลดผลกระทบความกังวลของ ม.เกษตร ความกว้าง 16 เมตรจะใหญ่กว่าอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดิน จุดที่ลึกที่สุดประมาณ 44 เมตร จากผิวดิน ใกล้ความลึกของอุโมงค์รถไฟฟ้าสีน้ำเงินช่วงลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา

                นายสุรเชษฐ์ กล่าวด้วยว่า สำหรับโครงการตอน N2 ถนนประเสริฐมนูกิจ-ถนนวงแหวนรอบนอกฯ ด้านตะวันออก) ระยะทาง 11.3 กม. ซึ่งมีจุดเริ่มต้นบริเวณเลยแยกเกษตรฯไปนั้น มีวงเงินประมาณ 16,960 ล้านบาทเป็นทางด่วนที่สร้างเสาตอม่อเตรียมไว้อยู่บริเวณกึ่งกลางถนนเกษตร-นวมินทร์ ประมาณ 281 ต้น มานาน 25 ปี 

 

                ขณะนี้เสนอโครงการไปกระทรวงคมนาคมแล้วเตรียมเสนอครม.ชุดใหม่พิจารณา หากผ่านความเห็นชอบ คาดว่าจะเปิดประกวดราคาได้ประมาณปลายปี 66 ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 3 ปี คาดว่าจะแล้วเสร็จและพร้อมเปิดให้บริการประมาณปี 70

               ด้านนายประเทือง อินคุ้ม วิศวกรเชี่ยวชาญด้านอุโมงค์ กล่าวว่า อุโมงค์ทางด่วน N1 ให้บริการเฉพาะรถยนต์4 ล้อ ไม่อนุญาตให้รถบรรทุกใช้งาน การทำอุโมงค์ทางด่วนได้ศึกษา และเปรียบเทียบของต่างประเทศ อาทิ ตุรกี และสหรัฐอเมริกา 

 

              ไม่ต้องกังวลเรื่องความปลอดภัย ภายในอุโมงค์มีระบบระบายอากาศ, ไฟฟ้าแสงสว่าง, ระบบหนีไฟ, ระบบป้องกันน้ำท่วม และมีปล่องระบายอากาศ 4 ช่วง 

                เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินอพยพคนได้ทันที มีจุดให้ออกผนังด้านข้างจัดไว้เป็นเซฟตี้โซนทุกๆ 250 เมตร มีบันไดและลิฟต์อพยพคน ปัจจุบันอุโมงค์รถยนต์ทั่วโลกมี 395 อุโมงค์ มีระยะทาง 5-30 กม. อุโมงค์ N1 เป็นอุโมงค์กลุ่มเล็กๆของอุโมงค์ทั่วโลก มีระยะทาง 6-7 กม. มีความลึกเทียบได้ประมาณตึก 15 ชั้น 

                นายประเทือง กล่าวต่อว่า อุโมงค์ทางด่วน N1 มีทางเข้าออกแค่ตรงหัว และท้ายอุโมงค์ จะไม่มีทางเข้าออกระหว่างทาง ติดตั้งเราเตอร์ (Router) และเดินไฟเบอร์ออฟติกในอุโมงค์ 

                เพื่อให้สามารถใช้งานโทรศัพท์มือถือได้ตามปกติ แม้จะให้รถยนต์ใช้อุโมงค์ N1 ได้เท่านั้น แต่เราได้ออกแบบความสูงไว้ที่ 4.50 เมตร เพื่อให้รถดับเพลิง หรือรถฉุกเฉินสามารถเข้าไปช่วยเหลือเมื่อเกิดอุบัติเหตุ หรือเหตุฉุกเฉินได้

 

                ผู้สื่อข่าวรายงานว่า อุโมงค์ทางด่วนN1 มีมูลค่าลงทุน 36,000 ล้านบาท ปรับจากเดิมเป็นทางยกระดับเพื่อลดการต่อต้านจากม.เกษตร ค่าก่อสร้างสูงกว่าทางด่วนแบบยกระดับประมาณ 5 เท่า 

                การประชุมครั้งนี้ประชาชนส่วนใหญ่แสดงความห่วงใยเรื่องความปลอดภัยในการใช้งานอุโมงค์ 

การป้องกันน้ำท่วม การขนย้ายดินระหว่างก่อสร้าง ผลกระทบการจราจร การเวนคืนที่ดินและคุณภาพอากาศที่ระบายออกมาจากอุโมงค์ นอกจากนี้อยากให้มีทางเข้าออกอุโมงค์ระหว่างทางด้วย.

                   

ขอบคุณข้อมูลภาพ

เนื้อหาโดย: LOVE
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
LOVE's profile


โพสท์โดย: LOVE
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
เหตุผลสำคัญ ที่ทำให้ประเทศไทยมีอากาศร้อนยาวนานตลอดทั้งปีเช็คเลย!! คุณ“เป็นลูกน้อง” สไตล์ไหน?เปิดสูตรลับแบบบ้านๆ! ทำยังไงให้พริกลูกดกลุงผวา!กรีดยางเช้ามืด เจองูเห่าตัวเขื่องชูคอแผ่แม่เบี้ยพร้อมฉก
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
กระทู้อื่นๆในบอร์ด ถามตอบ พูดคุย
ทุกคนใส่คอนแทคเลนส์ของอะไรกันคะวิธีใส่คลิปที่ต้องการแชร์จากเฟสบุ๊คในโพสจังฆ่านกยูงอินเดียก่อนนกยูงไทยสูญพันุธ์กลุ้มใจมาก ในแต่ละวันแม่เราทานน้อยมากค่ะ
ตั้งกระทู้ใหม่