9 เรื่องของปลากระป๋อง ที่คณอาจไม่เคยรู้มาก่อน!!!
นอกจากมาม่าแล้ว ‘ปลากระป๋อง’ ก็เป็นอีกหนึ่งอาหารที่คนไทยนิยมซื้อตุนไว้กันตาย ไม่ว่าจะตอนสิ้นเดือน ประสบภัยพิบัติ ตลอดจนช่วงล็อกดาวน์โควิด-19 ที่ผ่านมา เพราะด้วยมีรสชาติให้เลือกซื้อหลากหลาย กินง่ายไม่ต้องใช้ไฟ และที่สำคัญราคาไม่แพง วันนี้ผู้หญิงชอบเล่นจะมาเล่าสาระความรู้เกี่ยวกับ 10 เรื่องจริงของปลากระป๋องที่ คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน
1. ปลากระป๋องเกิดจาก ปลากระป๋อง เมื่อก่อนคือปลาขวดแก้วนะ
เดิมปลาถูกบรรจุลงขวดแก้วนะ แต่การใช้ ‘ขวดแก้ว’ เป็นภาชนะบรรจุอาหารนั้นยังสร้างปัญหาอยู่มาก ตัวอย่างเช่น การแตกหักของขวดแก้วระหว่างการเดินทาง เป็นต้น จึงได้เปลี่ยนมาเป็นกระป๋องแทน
2. ปลากระป๋องเกิดจาก
ปี 1795 ชาวฝรั่งเศสนามว่า Nicolas Appert ผู้ได้ชื่อว่าเป็น ‘บิดาผู้ให้กำเนิดวิธีการบรรจุกระป๋อง’ ได้พยายามทดลองเพื่อค้นหาวิธีถนอมอาหารด้วยการบรรจุปลาไว้ในขวดแก้วจากนั้นก็นำขวดแก้วไปไว้ในน้ำเดือด ในขณะนั้น ผลลัพธ์ที่ได้เป็นที่น่าพอใจ เพราะวิธีการดังกล่าวสามารถทำให้อาหารไม่เน่าเร็วและยืดอายุของอาหารไปได้นานพอสมควร แต่ถึงกระนั้น วิธีการนี้ก็ยังไม่แพร่หลายเท่าที่ควร ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นเพราะยังไม่มีใครรู้จัก Appert นั่นเอง
3. ทำไมได้มีปลากระป๋อง
สงครามนโปเลียน (1803–1815) เนื่องจากในช่วงต้นๆ ของสงคราม รัฐบาลฝรั่งเศสพยายามหาวิธีถนอมและลำเลียงอาหารไปยังกองทัพแนวหน้าที่มีประสิทธิภาพที่สุด รัฐบาลประกาศว่าหากใครสามารถเสนอวิธีการถนอมอาหารได้ ก็จะได้รับรางวัลเป็นเงินมูลค่า 12,000 ฟรังก์ Appert เห็นโอกาสในการเผยแพร่งานของตน จึงได้ส่งวิธีการถนอมอาหารที่ตนเองเพิ่งค้นพบไปเมื่อไม่กี่ปีก่อนให้กับรัฐบาล ปรากกฎว่ารัฐบาล ‘ซื้อ’ ไอเดียของ Appert ส่งผลให้วิธีการถนอมอาหารแบบบรรจุลงในขวด (canning) เป็นที่รู้จักมากขึ้น
4. ใครคือผู้บอกให้เลิกใช้ขวดแก้ว
นักประดิษฐ์และพ่อค้าชาวอังกฤษชื่อว่า Peter Durand ได้เสนอให้ใช้ภาชนะชนิดใหม่ในการบรรจุอาหาร ซึ่งก็คือ ‘กระป๋อง’ (tin can) เพื่อลดการแตกหักของขวดแก้วระหว่างการเดินทาง นั่นเอง
5. ปลากระป๋องอดีตคืออาหารของคนชั้นสูง
ตอนแรกต้นทุนการทำอาหารกระป๋องรวมถึงปลากระป๋องยังแพงอยู่ ทำให้มีแต่คนรวยเท่านั้นที่เข้าถึง แต่เมื่อเวลาผ่านไป ต้นทุนการผลิตเริ่มลดลง ประกอบกับชนิดของปลาก็เริ่มหลากหลายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน ปลาทูน่า หรือแม้กระทั่งปลาแม็คเคอเรล จึงทำให้ความนิยมในการกินปลากระป๋องแพร่กระจายไปทั่วยุโรป
6. ปลากระป๋องยี่ห้อแรกในประเทศไทย
เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2522 การกำเนิดปลากระป๋องเจ้าแรกในไทยชื่อว่า "ปลากระป๋องตราปุ้มปุ้ยหรือตรายิ้ม"
7. ปลากระป๋องยุคแรกคือซอสมะละกอ
ยุคแรก ๆ ของปลากระป๋องไทย เคยได้มีการทดลองทำปลากระป๋องในซอสมะละกอมาก่อน เพราะสมัยนั้นคนไทยไม่ได้มีพันธ์ุมะเขือเทศนั่งเอง
8. ไทยส่งออกเป็นอันดับ 2 ของโลก
ปัจจุบันไทยส่งออกเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากจีน และอันดับ 1 ของอาเซียน โดยในช่วง 5 เดือนแรก (ม.ค.-พ.ค. 2566) ไทยส่งออกปลากระป๋องและแปรรูปไปตลาดโลก มูลค่า 1,145.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นการส่งออกไปตลาดคู่ FTA (เขตการค้าเสรี) มูลค่า 351.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 15.7% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ตลาดคู่ FTA ที่ขยายตัวต่อเนื่อง อาทิ ญี่ปุ่น ขยายตัว 22.7% ชิลี ขยายตัว 96.7% เปรู ขยายตัว 183.1% จีน ขยายตัว 25.7% กัมพูชา ขยายตัว 11.9% และฟิลิปปินส์ ขยายตัว 138.1%
9. รายได้ของปลากระป๋อง 3 เจ้าดังของไทย
- สามแม่ครัว ปี 2565 มีรายได้รวมอยู่ที่ 3,275.55 ล้านบาท
- ปุ้มปุ้ย ปี 2565 มีรายได้รวมอยู่ที่ 1,468.45 ล้านบาท
- โรซ่า ปี 2565 มีรายได้รวมอยู่ที่ 4,636.43 ล้านบาท