การรักษาสุดแปลก..เป่าลมเข้าทวารหนักเพื่อรักษาอาการป่วย!
หนึ่งในรายงานแรกสุดของการกระทำดังกล่าวเกิดขึ้นในอังกฤษในปี 1746 เมื่อผู้หญิงคนหนึ่งหมดสติหลังจากจมน้ำ สามีของเธอได้รับคำแนะนำให้สวนยาสูบเข้าทวารเพื่อช่วยชีวิตเธอ ซึ่งเป็นวิธีปฏิบัติที่ได้รับความนิยมในขณะนั้น
เมื่อเหลือทางเลือกเพียงเล็กน้อย ชายคนนั้นก็หยิบไปป์ที่บรรจุยาสูบ สอดก้านเข้าไปทางทวารหนักของภรรยา แล้วก็เป่าควันเข้าไป แม้จะฟังดูแปลกแต่ก็มีรายงานว่าได้ผล ควันที่ร้อนจัดของใบยาสูบทำให้ภรรยาเขารู้สึกตัว
ชนพื้นเมืองอเมริกันซึ่งใช้พืชชนิดหนึ่งในการรักษาโรคต่างๆ ได้คิดค้นสิ่งที่เราเรียกว่าการสวนยาสูบ แพทย์ชาวอังกฤษ Nicholas Culpeper จึงเอาวิธีนี้มาใช้เพื่อรักษาความเจ็บป่วยต่างๆ รวมถึงเพื่อรักษาอาการอักเสบที่เกิดจากอาการจุกเสียดหรือไส้เลื่อน
หลายปีต่อมา Richard Mead แพทย์ชาวอังกฤษเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนกลุ่มแรกๆ ของการใช้วิธีสวนสมุนไพรเข้าทวารเป็นแนวทางปฏิบัติที่ได้รับการยอมรับ
ในช่วงปลายทศวรรษ 1700 มันจึงกลายเป็นกระบวนการทางการแพทย์ที่ใช้เป็นประจำ ส่วนใหญ่ใช้เพื่อชุบชีวิตผู้คนที่คิดว่าเกือบจะเสียชีวิตแล้ว ซึ่งมักจะเป็นผู้ที่จมน้ำ กระบวนการนี้ดูเป็นเรื่องธรรมดามากในยุคนั้น อันที่จริงหน่วยกู้ภัยทางน้ำหลายแห่งก็จะมีเครื่องมือนี้ไว้ ซึ่งประกอบด้วยเครื่องเป่าลมและท่ออ่อนไว้ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินดังกล่าว
เชื่อกันว่าควันบุหรี่จะช่วยเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจของผู้ป่วยและกระตุ้นการทำงานของระบบทางเดินหายใจ รวมทั้ง ทำให้ภายในของผู้ป่วยที่เปียกน้ำนั้นแห้ง ทำให้วิธีการนี้เป็นที่ต้องการมากกว่าการหายใจเอาอากาศเข้าปอดโดยตรงผ่านทางปาก
ก่อนที่จะมีการนำเครื่องมือนี้ไปใช้สวนทวารนั้นมักใช้ไปป์ยาสูบธรรมดาแต่ก็ใช้งานได้ไม่ค่อยดีนักเนื่องจากก้านของไปป์สั้นเกินไป ทำให้ทั้งการแพร่กระจายของโรคเช่นอหิวาตกโรคและอาจมีการสูดกลิ่นจากทวารของผู้ป่วยโดยไม่ตั้งใจ
อย่างไรก็ตาม ยาสวนทวารมีการพัฒนาที่ดีขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 18 และยังเอาไปใช้เพื่อรักษาโรคอื่นๆ เช่น ไทฟอยด์ ปวดศีรษะ และตะคริวในกระเพาะอาหาร แต่ด้วยการค้นพบในปี ค.ศ. 1811 ว่ายาสูบเป็นพิษต่อระบบหัวใจ จึงทำให้ความนิยมของการใช้ยาสูบสวนทวารลดน้อยลงอย่างรวดเร็วจนกระทั่งเลิกใช้ไปในที่สุด
ให้ภาพมันเล่าเรื่อง