จิตวิทยากับการเจอผี
การเจอผีหรือการสัมผัสกับเรื่องเหนือธรรมชาติ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อและศรัทธาในบางกรณี ความเชื่อที่เกี่ยวกับผีหรือจิตวิญญาณที่มีชีวิตหลังตายนั้นมีอยู่ในหลายวัฒนธรรมและศาสนาทั่วโลก แต่จริงๆ แล้วยังไม่มีหลักฐานวิทยาศาสตร์ที่สามารถพิสูจน์ความเป็นจริงของเรื่องเหล่านี้ได้ โดยการเจอผีหรือประสบการณ์เหนือธรรมชาติอื่นๆ อาจมีสาเหตุทางจิตวิทยา สำหรับบุคคลที่เคยประสบกับประสบการณ์ดังกล่าว อาจมีความเชื่อในเรื่องของผีหรือจิตวิญญาณ แต่สำหรับบุคคลที่ไม่เคยมีประสบการณ์เช่นนั้น อาจจะไม่เชื่อว่าสิ่งเหล่านี้มีอยู่จริง ทั้งนี้ บทความนี้ไม่มีเจตานหลบลู่ความเชื่อที่ว่า “ผี” มีจริงหรือไม่ เพียงนำเสนอมุมมองทางจิตวิทยากับการเจอ “ผี” เท่านั้น
อย่างไรก็ตามมีนักจิตวิทยาพยายามอธิบายลักษณะการเจอผีหรือการสัมผัสกับเรื่องเหนือธรรมชาติ เพื่อธิบายในลักษณะเชิงวิทยาศาสตร์ในในเจอพฤติกรรมของมนุษย์ เพราะศาสตร์ว่าด้วยจิตวิทยาเป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการความคิด พฤติกรรม และการรับรู้ของมนุษย์ ซึ่งเน้นการศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของจิตใจและสมอง ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมของบุคคล การศึกษาจิตวิทยามักจะใช้หลักการวิจัยทางวิทยาศาสตร์เพื่อเข้าใจปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมของมนุษย์ อาทิเช่น สภาวะจิตใจ การเรียนรู้ และการทำงานของสมอง การเจริญเติบโตทางสติปัญญา การเจริญเติมโตของร่างกายและการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวของมนุษย์เองที่ทำให้มนุษย์เกิดพฤติกรรมต่างๆ
ในทางปัจจัยทางจิตวิทยา การเห็นผีหรือประสบประสบการณ์เหนือธรรมชาติอาจเกิดจากสภาวะทางจิตใจ เช่น ภาวะสับสนทางความจริง (reality distortion) หมายถึง การพยายามหาเหตุผลมาสร้างความจริงจากการไม่มีอยู่จริง ที่ทำให้เห็นสิ่งที่ไม่มีอยู่ หรืออาจเกิดจากความเครียดหรือสภาวะทางจิตใจอื่นๆ ที่ส่งผลให้มีการรับรู้ที่ผิดพลาดได้
การเข้าใจว่าเจอผีในทางจิตวิทยาโดยมีนักจิตวิทยากลุ่มหนึ่งอธิบายว่า การเข้าใจว่าเจอผีเป็นสถานการณ์ที่มนุษย์รับรู้สิ่งที่ไม่มีอยู่จริงและพยายามยามอธิบายว่ามีอยู่ หรือเกิดขึ้นในสภาวะที่ผิดปกติของภาวะสุขภาพจิต สภาวะเช่นนี้สามารถเกิดจากหลายปัจจัยทางจิตวิทยา ตัวอย่างที่บอกถึงสาเหตุความผิดปกติทางสุขภาพจิตและทำให้เกิดการเข้าใจว่าเจอผีได้แก่:
- ภาวะความเครียดและสภาวะวิตกกังวล (Anxiety and Panic States): ผู้ที่อยู่ในสภาวะความเครียดหรือวิตกกังวลอาจมีการรับรู้ที่ผิดพลาด หรือมองเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นในจินตนาการเอง เช่นต้นไม้ไหว ได้ยินเสียงที่ผิดปกติจากที่เคยได้ยินทำให้เข้าใจว่านั้นคือ “ผี”
- สภาวะการทำงานของประสาททำงานผิดปกติชั่วคราว (Neurological Conditions): บางครั้งสภาวะนี้ส่งผลต่อปัญหาสุขภาพจิตที่ผิดปกติอาจส่งผลให้เกิดการรับรู้ที่ผิดปกติจากความเป็นจริงเพราะทำให้เกิดอารมณ์ที่ผิดปกติส่งผลให้เกิดอคติต่อการรับรู้มาตีความในทางไม่ดีและเหมาร่วมขณะภาวะอารมณ์นั้นว่าคือ “ผี”
- สภาวะสับสนทางความจริง (Reality Distortion) คือ การพยายามหาเหตุผลมาสร้างความจริงจากการไม่มีอยู่จริง ในบางครั้งมนุษย์ที่ภาวะความเครียดทำให้เกิดอาการหูแว่ว หรือเห็นภาพลวงตาทำให้ การตัดสินใจจะเข้าใจในสภาวะขณะนั้นกับสิ่งที่เกิดขึ้นขณะเครียดว่ามีอยู่จริง จึงเรียกว่าเห็นหรือสัมผัสกับ “ผี”
- ความเชื่อทางวัฒนธรรมและศรัทธา: ในทางจิตวิทยาบางครั้งมนุษย์หาเชื่อในเรื่องใด เรื่องหนึ่งไปแล้วว่ามีอยู่จริง จะทำให้เปลี่ยนแปลงความเชื่อนั้นได้ยาก นักจิตวิทยาเรื่องว่า “การมีความคิดอคติ” การอธิบายความเชื่อในผีหรือจิตวิญญาณที่มีชีวิตหลังตาย ก็เช่นกัน การเชื่อลักษณะนี้อาจทำให้บุคคลมองเห็นหรือรับรู้สิ่งที่เป็นผลจากความเชื่อนั้น โดยไม่ได้พิจารณาจากมุมมองวิทยาศาสตร์หรือเหตุผลโต้แย้งในลักษณะอื่นๆ การเชื่อแบบนี้เมื่อสัมผัสบางสิ่งจริงเข้าใจว่ามี “ผี”
ตัวอย่างการเจอผีในลักษณะการอธิบายทางจิตวิทยา
เรื่องของ ผีอำเป็นเรื่องที่มีความเชื่อ ซึ่งอาจจะยังไม่มีหลักฐานวิทยาศาสตร์ที่รองรับหรือพิสูจน์ความเป็นจริงของลักษณะของผีอำหรือสิ่งเหล่านี้อย่างชัดเจน ดังนั้นเรื่องนี้อาจถูกมองเป็นเรื่องที่เข้าสู่ด้วยความเชื่อส่วนตัวและมุมมองวิธีต่างๆ ตามบุคคลและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันไป
ในการอธิบายทางจิตวิทยา สิ่งที่บุคคลรายใดรายหนึ่งรับรู้ประสบการณ์การผีอำ อาจอธิบายได้ดังนี้:
- Sleep Paralysis (อาการเคลื่อนไหวน้อย): นี่เป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อคุณตื่นขึ้นจากสถานะการหลับลึก แต่ร่างกายยังคงอยู่ในสถานะการหลับบางส่วน (หมายถึงสมองอาจทำงานไม่สัมพันธ์กับร่างกายเพื่อสมองยังไม่ตื่นตัว) นี่อาจทำให้คนนั้นรู้สึกไม่สามารถเคลื่อนไหวหรือพูดคุยได้ และมีประสบการณ์ที่คล้ายคลึงกับการมีผีอำหรือมีคนมาอยู่บนตัวคนคนนั้น
- Hypnagogic/Hypnopompic Hallucinations (การมีภาพเห็นและเสียงต่างๆ ในขณะที่กำลังกึ่งหลับหรือตื่น): นี่เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะที่คุณกำลังเข้าสู่สถานะการกึ่งหลับกึ่งตื่น คุณอาจเห็นภาพเห็นหรือเสียงต่างๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งตรงนี้ หรือกลางคืนที่เงียบมากและเสียงมาจากที่ไกลๆ แต่เราได้ยินขณะสภาวะร่างกายเป็นอยู่ดังกล่าว ซึ่งอาจทำให้คุณรู้สึกเหมือนมีผีหรือสิ่งอื่นๆ อยู่ในห้อง และทำให้บุคคลนั้นกลัวจนไม่กล้าขยับตัว
- Perceptual Illusions (ระบบสายตาและการรับรู้): ความเชื่อว่ามีผีอำ อาจเกิดจากการรับรู้ที่ผิดพลาด อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางระบบสายตาหรือการรับรู้ที่ไม่เป็นปกติที่มำให้เกิดภาพลวงตา
- Mental Health Factors (ปัจจัยทางสุขภาพจิต): ปัจจัยทางสุขภาพจิตเช่น ความเครียด วิตกกังวล หรือความรู้สึกเหนื่อยล้าอาจส่งผลให้เกิดการรับรู้ที่ผิดปกติ และมีผลต่อสมองในการประมวลผลแต่เกิดการรับรู้ที่ผิดพลางจากสภาวะอารมณ์ที่ผิดปกติ
สรุปได้ว่า การเข้าใจว่าเจอผีเป็นสถานการณ์ที่สามารถเกิดขึ้นจากหลายปัจจัยทางจิตวิทยา เช่น สภาวะความเครียด สภาวะประสาทเสีย สภาวะสับสนทางความจริง และความเชื่อทางวัฒนธรรมและศรัทธา การใช้หลักวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาเพื่อเข้าใจปัจจัยเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญในการวิเคราะห์เหตุผลและการแก้ไขปัญหาทางจิตวิทยา