"ปลาค้างคาวดอยอินทนนท์" พบได้เพียงแห่งเดียวเท่านั้นในโลก ที่ลำธารน้ำไหลแรงบนทิวเขาอินทนนท์
วันนี้เราก็มีปลาแปลกๆมานำเสนออีกนะครับแถมยังมีแห่งเดียวที่ไทย
พบได้เพียงแห่งเดียวเท่านั้นในโลก ที่ลำธารน้ำไหลแรงบนทิวเขาอินทนนท์ และอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่
มันชื่อว่าปลาค้างคาวดอยอินทนนท์
ปลาค้างคาวดอยอินทนนท์
ปลาค้างคาวดอยอินทนนท์ (อังกฤษ: Siamese freshwater batfish, Siamese bat catfish; ชื่อวิทยาศาสตร์: Oreoglanis siamensis) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กในอันดับปลาหนังชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาแค้ (Sisoridae)
ปลาค้างคาวดอยอินทนนท์,
ลักษณะ
มีลักษณะที่แตกต่างไปจากปลาหนังชนิดอื่น ๆ ตรงที่ครีบหลังและครีบอกไม่มีก้านแข็ง ลำตัวเรียวยาว หัวและอกแบนราบ มีหนวด 4 คู่ ปากมีขนาดเล็กอยู่ด้านล่าง ครีบอกและริมฝีปากมีลักษณะคล้ายถ้วยดูด ใช้สำหรับดูดเกาะติดกับกรวดหินในน้ำ ครีบหางปลายมนกลม ครีบอกใหญ่ ครีบก้นมีขนาดเล็ก ลำตัวมีสีน้ำตาลอมเขียว หลังมีแต้มสีจาง ๆ กินอาหารจำพวก แมลงน้ำและสัตว์น้ำขนาดเล็ก มีพฤติกรรมวางไข่ใต้ก้อนหิน ไข่มีขนาดเล็ก และคอยดูแลไข่
มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร
ที่อยู่
พบได้เพียงแห่งเดียวเท่านั้นในโลก ที่ลำธารน้ำไหลแรงบนทิวเขาอินทนนท์ และอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ โดยจะพบที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,200 เมตร
การค้นพบ
ปลาค้างคาวดอยอินทนนท์ ถูกค้นพบและทำการศึกษาโดย ดร.ฮิวจ์ แมคคอร์มิค สมิธ นักมีนวิทยาชาวอเมริกันที่เข้ามาศึกษาพันธุ์สัตว์น้ำในประเทศไทย โดยได้ตัวอย่างมาจากชาวกะเหรี่ยง ที่จับได้จากลำธารบนดอยอ่างกาหรือดอยอินทนนท์ ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1928 ต่อมาได้มีการสำรวจพบอีกหลายแห่งตามลำธารที่เป็นสาขาของแม่น้ำปิงในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งได้ถือเป็นชนิดต้นแบบของปลาสกุลนี้ด้วย
ชื่ออื่น
เป็นปลาที่ถูกใช้ทำเป็นอาหารบริโภคของชาวเขาในท้องถิ่น โดยมีชื่อเรียกในภาษาถิ่นว่า "แต๊กหิน" หรือ "แม๊ะหิน" เป็นต้น ปัจจุบันมีสถานะใกล้สูญพันธุ์แล้ว เพราะสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงและการที่ถูกจับเป็นจำนวนมาก
และถือเป็นปลาน้ำจืดคุ้มครองชนิดหนึ่งของกรมประมงร่วมกับปลาชนิดอื่นอีก 3 ชนิด (ปลาตะพัด (Scleropages formosus), ปลาเสือตอลายใหญ่ (Datnioides pulcher) และ ปลาหมูอารีย์ (Yasuhikotakia sidthimunki))
ปัจจุบันมีความพยายามจากภาครัฐโดย กรมประมง ในการเพาะขยายพันธุ์ ซึ่งจะกระทำได้เฉพาะบนภูเขาสูงเท่านั้น
อ้างอิงจาก:วิกิพีเดีย, web.archive.org/web/