เทคนิควิธีการตัดเล็บขบที่ถูกต้อง
วิธีตัดเล็บไม่ให้เกิดเล็บขบ
มารู้จักปัญหากันก่อนนะค่ะ
เชื่อหรือไม่ว่า ส่วนเล็ก ๆ ของเล็บ เมื่อเกิดความผิดปกติขึ้น มักจะนำความเจ็บปวด ไม่สวยงาม แถมยังส่งผลกระทบให้การทำกิจกรรมประจำวัน
ในยุคสมัยที่สาว ๆ มักนิยมเข้าร้านทำเล็บหรือสปาเล็บ เพื่อรับบริการตัดแต่งเล็บแบบสุดประทับใจ เพื่ออวดความหลากหลายของแฟชั่นที่สร้างสีสรรค์สวยงามขึ้นบนปลายนิ้วงามนั้น อวัยวะเล็ก ๆ ที่เรียกว่าเล็บ เปรียบเสมือนปราการด่านหนึ่งที่ช่วยปกป้องผิวหนังชั้นใต้เล็บ และทำหน้าที่สำคัญในการหยิบจับสิ่งของ การมีเล็บสุขภาพดีย่อมบ่งบอกถึงสุขภาพร่างกายที่ดีและแข็งแรงด้วย ในขณะเดียวกันเล็บที่มีลักษณะ ผิดปกติ ก็ถือเป็นอาการอย่างหนึ่งที่ร่างกายพยายามจะบอกเราว่า ถึงเวลาดูแลเล็บได้แล้วนะ โดยเฉพาะสาวๆ ที่ชอบต่อเล็บ ทาสีเล็บ ล้างมือบ่อย ๆ หรือทำงานบ้านที่ทำให้เล็บแช่น้ำเป็นประจำ ต้องระวังให้มากเป็นพิเศษ สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย จึงขอฝากคำแนะนำ การดูแลสุขภาพเล็บที่ดี เพื่อให้หมั่นสังเกต และดูแลสุขภาพของตัวเองเป็นสำคัญ
พญ.ชินมนัส ตั้งจาตุรนต์รัศมีหัวหน้ากลุ่มงานเส้นผมและเล็บ สถาบันโรคผิวหนัง กล่าวว่า เล็บ เป็นอวัยวะเล็กๆ ตรงปลายนิ้ว ที่แม้จะมีพื้นที่ไม่มากนัก แต่ก็มีความสำคัญและบ่งบอกถึงความเอาใส่ใจตัวเองของผู้เป็นเจ้าของได้ไม่แพ้ส่วนอื่นใดในร่างกาย แล้วเราจะสังเกตได้อย่างไรว่าเล็บแบบไหนที่เรียกว่าสุขภาพดี
“เล็บที่มีสุขภาพดี คือ เล็บที่มีสีผิวของเนื้อข้างใต้เล็บเป็นสีชมพูอ่อนๆ พื้นผิวเล็บเรียบไม่ขรุขระ ผิวหนังรอบเล็บไม่ถอยร่น เป็นขุยหรือมีผื่น เนื้อเล็บมีความหนาพอดีๆ ไม่มากหรือน้อยไป และแข็งแรงพอที่จะใช้ หยิบจับของได้ ส่วนเล็บที่ผิดปกตินั้น ต้องสังเกตว่าเป็นที่ตัวเล็บหรือผิวหนังรอบๆ เล็บ เนื่องจากผิวหนังรอบเล็บ อาจมีส่วนทำให้ผิวเล็บเกิดความผิดปกติได้เช่นกัน ปัญหาที่พบบ่อย คือปลายเล็บบาง แตกเปราะ ง่าย ซึ่งมักเกิดกับคนที่ทำเล็บเป็นประจำ ล้างมือบ่อยหรือผู้ที่มีการใช้เล็บกับน้ำมากเกินไป อีกกรณีคือผิวหนังรอบเล็บมีอาการบวมแดง เล็บจึงดูเปลี่ยนแปลงไป เช่น เป็นขุย มีสีเขียว รอบเล็บขรุขระเหมือนเป็น เชื้อรา แต่ไม่ใช่เชื้อรา อาการดังกล่าวมักเจอในแม่บ้านหรือคนที่ทำงานบ้านเอง เมื่อเล็บโดนน้ำยาทำความสะอาด ก็จะทำให้ผิวหนังรอบเล็บเปื่อย พอโดนสารเคมีซ้ำๆ จึงทำให้เกิดการอักเสบและบวมแดงได้”
เชื่อหรือไม่ว่า ส่วนเล็ก ๆ ของเล็บ เมื่อเกิดความผิดปกติขึ้น มักจะนำความเจ็บปวด ไม่สวยงาม แถมยังส่งผลกระทบให้การทำกิจกรรมประจำวันเป็นไปด้วยความยากลำบาก สำหรับความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับเล็บ นั้นขอแนะนำให้สาว ๆ สังเกตได้เองจาก 3 กรณี คือ เล็บหนาผิดปกติหรือไม่ เช่น หนาบริเวณปลายเล็บ สันนิษฐานได้ว่าอาจเป็นโรคเชื้อราหรือโรคสะเก็ดเงิน โดยทั้งสองโรคนี้ มีความคล้ายคลึงแต่ต่างกันตรงที่ โรคเชื้อรามักเกิดขึ้นเพียงไม่กี่เล็บ แต่สะเก็ดเงินมักเป็นหลายเล็บหรือเป็นหมดทั้งเล็บ นอกเหนือจากนี้ คืออาการเล็บบางและมีรูปร่างผิดปกติ เช่น มีลักษณะแอ่นเหมือนช้อน สันนิษฐานว่าอาจมีภาวะโรคเลือด จางหรือขาดธาตุเหล็ก และเล็บมีสีที่ผิดปกติหรือไม่ เช่น เล็บขาวครึ่งเล็บ (หมายถึง ผิวหนังใต้เล็บมีสีผิดปกติ) เป็นลักษณะที่พบได้ในผู้มีภาวะไตวายเรื้อรัง และบวมน้ำ ซึ่งหากเป็นสีขาว 2 ใน 3 ของเล็บ มักเป็น อาการของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคตับแข็งหรือโรคหัวใจวาย สำหรับบางคนที่พบจุดขาว ๆ ปรากฏบนเล็บ โดยเฉพาะหากเป็นหลาย ๆ เล็บ อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าร่างกายของคุณกำลังอยู่ในภาวะขาดสาร อาหารบางอย่าง สำหรับวิธีที่ดีที่สุดคือการไปพบแพทย์เฉพาะทาง เพื่อให้การรักษาที่ถูกต้องและถูกกับโรค
สำหรับสาว ๆ ที่คลั่งไคล้การตกแต่งและต่อเล็บอยู่เป็นประจำ บางครั้งอาจทำให้คุณมองข้ามการบำรุงเล็บหรือไม่เคยปล่อยให้เล็บได้หยุดพักหายใจ ซึ่งในระยะยาวอาจส่งผลให้สุขภาพเล็บอ่อนแอลง ส่วนระยะ สั้นปลายเล็บอาจมีอาการแตกหรือเป็นขุยลอก ซึ่งล้วนแต่เป็นสัญญาณเตือนว่า ถึงเวลาต้องพักเล็บบ้างแล้ว การทาสีเล็บบ่อยๆ อาจส่งผลให้สีเล็บเปลี่ยนแปลงได้ง่าย
เล็บที่ขาดวิตามิน
ปัญหาของจมูกเล็บที่พบบ่อย
ปฏิเสธไม่ได้ว่าปัญหาของจมูกเล็บที่ได้บ่อยที่จุด คือ จมูกเล็บลอก (Hangnail) เป็นปัญหาผิวหนังเหนือโคนเล็บหรือขอบเล็บลอกเป็นเส้นแนวตั้งเข้าหาตัว สามารถเกิดขึ้นกับนิ้วใดก็ได้หรือเกิดพร้อมกันหลายนิ้วในเวลาเดียวกัน และอาการลอกของผิวหนังพบได้ตั้งแต่ 1 จุดและหลาย ๆ พร้อมกัน
บางครั้งจมูกเล็บก็อาจหมายถึงเศษผิวหนังที่เกินออกมาตรงซอกเล็บ ซึ่งอาการจมูกเล็บลอกทั้งสองแบบนี้ มักสร้างความรำคาญให้กับผู้ที่เป็น และหลายคนก็อาจเลือกที่จะดึงเศษจมูกเล็บออกจนทำให้แผลขนาดใหญ่ขึ้น เจ็บมากขึ้น มีเลือดออก และเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากขึ้น ทั้งบริเวณผิวหนังโคนเล็บและซอกเล็บ ซึ่งควรไปพบแพทย์และรักษาอย่างถูกต้อง
แม้ปัญหาเกี่ยวกับจะจมูกเล็บจะพบได้น้อย แต่บางปัจจัยก็อาจส่งผลต่อสุขภาพของจมูกเล็บได้ เช่น
- ผิวแห้งจากสาเหตุต่าง ๆ
- การสัมผัสกับอากาศเย็นจัดหรือร้อนจัด
- การสัมผัสกับสารเคมี อย่างน้ำยาล้างจานและผงซักฟอก
- มือเปียกหรือแช่น้ำนาน
- ล้างมือบ่อยเกินไปหรือใช้สบู่ที่มีฤทธิ์แรง
- พฤติกรรมแกะเล็บและพฤติกรรมดูดนิ้ว
- ขาดสารอาหารประเภทโปรตีน
- ตัดเล็บไม่ถูกวิธี ตัดขอบเล็บ
- ทำเล็บหรือตกแต่งเล็บมากเกินไป
วิธีดูแลจมูกเล็บให้สุขภาพดี
แม้จมูกเล็บจะเป็นผิวหนังส่วนเล็ก ๆ แต่ก็ไม่ควรละเลย ซึ่งวิธีต่อไปนี้อาจช่วยดูแลจมูกเล็บให้แข็งแรง สุขภาพดี และลอกน้อยลง
- ดูแลเล็บให้สะอาดอยู่เสมอ
- ทาครีมหรือสารให้ความชุ่มชื้นทุกครั้งหลังล้างมือหรืออาบน้ำ
- ตัดเล็บให้สั้นพอดี และไม่ตัดขอบเล็บเพื่ออาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้
- สวมถุงมือเมื่อต้องล้างจาน ทำสวน หรือใช้สารเคมีเพื่อป้องกันจมูกเล็บและผิวหนังบริเวณมือระคายเคืองและแห้ง
- ไม่ควรดึงจมูกเล็บที่ลอกออกมา ให้ใช้วิธีในข้างต้นเพื่อดูแล
- ลดและงดพฤติกรรมดูดนิ้ว กัดเล็บ และแกะเล็บ
- ทำเล็บอย่างเหมาะสม ไม่บ่อยเกินไป และเลือกช่างทำเล็บที่มีความชำนาญ
ขอบเล็บอักเสบ
โรคขอบเล็บอักเสบ เกิดจากการที่เนื้อเยื่อและผิวหนังบริเวณโคนเล็บติดเชื้อ เกิดได้ทั้งที่นิ้วมือและนิ้วเท้า
โรคขอบเล็บอักเสบแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่
- โรคขอบเล็บอักเสบเฉียบพลัน (Acute Paronychia) อาการของโรคจะเกิดขึ้นภายในหนึ่งชั่วโมงหรือภายใน 2-3 วัน การติดเชื้อจะเกิดแค่บริเวณขอบเล็บ แต่ไม่ขยายลึกลงไปด้านในนิ้วมือหรือนิ้วเท้า อาการอักเสบจะเกิดไม่เกิน 6 สัปดาห์
- โรคขอบเล็บอักเสบเรื้อรัง (Chronic Paronychia) คือขอบเล็บอักเสบที่จะค่อย ๆ แสดงอาการออกมา และเกิดการอักเสบมามากกว่า 6 สัปดาห์ อาจเกิดพร้อมกันหลายเล็บได้
- อาการของโรคขอบเล็บอักเสบ
- มีอาการปวด บวม บริเวณขอบเล็บ
- ผิวรอบขอบเล็บจะอักเสบจนเปลี่ยนเป็นสีแดง เมื่อจับจะรู้สึกร้อน
- มีหนองไหลออกมาจากบริเวณที่มีการอักเสบ อาจเป็นหนองสีขาวหรือสีเหลือง หากเป็นหนอง แพทย์จะพิจารณาใช้ยาปฏิชีวนะหรือเจาะระบายหนองเพื่อการรักษา
สาเหตุที่ทำให้เกิดขอบเล็บอักเสบมีอะไรบ้าง
- เกิดแผลที่เล็บ เช่น เล็บถูกกระแทกหรือถูกของหนักหล่นใส่
- เกิดจากการตกแต่งเล็บ เช่น ตัดเล็บผิดวิธี ทำเล็บหรือต่อเล็บปลอม
- เกิดจากการที่มือเท้าเปียกชื้นเป็นประจำ
- เล็บมือพิการแต่กำเนิด
- เกิดจากการกัดเล็บหรือแทะเล็บเป็นประจำ
วิธีป้องกันไม่ให้เกิดขอบเล็บอักเสบ
- ทาโลชั่นให้ความชุ่มชื้นหลังล้างมือเสมอ
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารที่ทำให้ระคายเคือง เช่น ผงซักฟอกและสบู่
- รักษามือและเท้าให้แห้งอยู่เสมอ ไม่ควรให้เปียกชื้นเป็นเวลานาน
- หลีกเลี่ยงการทำให้เล็บเกิดบาดแผล ไม่ควรแคะเล็บหรือกัดเล็บ
- ไม่ควรตกแต่งเล็บด้วยการขูดเนื้อเยื่อรอบเล็บออกบ่อย ๆ
- ดูแลเล็บมือและเท้าให้สะอาด ไม่อับชื้น
วิธีรักษาขอบเล็บอักเสบ
เเต่ถ้าคุณเป็นเล็บขบละคุณจะรักษาอย่างไร
ตัดเล็บขบ จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป เพราะมีทริคดี ๆ เด็ด ๆ มาแนะนำสำหรับคนเป็น เล็บขบ โดยเฉพาะ เนื่องจากคนเป็นเล็บขบจะต้องแก้ไขปัญหานี้อย่างเร่งด่วน แต่สามารถแก้ไขในเบื้องต้นได้ง่าย ๆ เพียงแค่ตัดเล็บ และวิธีการตัดเล็บไม่ได้ยุ่งยากหรือซับซ้อนแต่อย่างใด ดังนั้นมาดูกันว่าหากจะจบปัญหาเล็บขบควรตัดเล็บอย่างไร
สำหรับขั้นตอนการ ตัดเล็บขบ ไม่ใช่เรื่องยากแน่นอน แถม วิธีการตัดเล็บขบ ง่ายสุด ๆ เรียกได้ว่าเป็นวิธีที่ช่วยลดปัญหาเจ็บเท้าจากปัญหาเล็บขบได้อย่างง่ายดาย โดยมาดูกันต่อว่าวิธีการ แก้ปัญหาเล็บขบ ด้วยการตัดเล็บสามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเองและเป็นวิธีที่ถูกวิธีดังต่อไปนี
1.เริ่มต้นด้วยการแช่มือหรือเท้าในน้ำอุ่น
ขั้นตอนแรกของการ ตัดเล็บขบ เริ่มต้นด้วยการแช่มือและเท้าที่เป็นเล็บขบ เพื่อให้เล็บอ่อนนุ่มซึ่งข้อดีคือช่วยให้ตัดเล็บง่ายมากขึ้น และจะทำให้เล็บไม่ฉีกขาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่มีเล็บแข็งซึ่งการตัดเล็บจะต้องใช้เวลาพอสมควร แต่หากเริ่มต้นด้วยการแช่น้ำอุ่นก่อนจะช่วยให้การตัดเล็บเป็นเรื่องง่ายมากขึ้นนั่นเอง
2.ทำความสะอาดอุปกรณ์ก่อนลงมือตัด
มาต่อกันที่ขั้นตอนที่ 2 ในส่วนของการเริ่มต้น ตัดเล็บขบ ลำดับต่อมาคือระหว่างรอเล็บอ่อนนุ่มเริ่มล้างทำความสะอาดอุปกรณ์ทุกอย่างที่จะใช้ตัดเล็บ เพราะเล็บขบจะมีเชื้อโรคสะสมอยู่ โดยควรฆ่าเชื้อด้วยแอลกอฮอล์หรืออาจจะใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ และทิ้งไว้ให้แห้งก่อนนำมาใช้
3.ทำความสะอาดบริเวณเล็บ
จากนั้นใช้แอลกอฮอล์เช็ดบริเวณเล็บและบริเวณเล็บให้สะอาดก่อนเริ่ม ตัดเล็บขบ เพราะในช่วงที่เป็นเล็บขบอาจจะมีโอกาสติดเชื้อได้ ดังนั้นเพื่อป้องกันโอกาสติดเชื้อจึงจำเป็นต้องทำความสะอาดรอบ ๆ ให้ทั่วบริเวณเสียก่อน
4. ใช้กรรไกรตัดเนื้อและเล็บบางส่วนออกก่อน
จากนั้นเมื่อเล็บอ่อนนุ่มเรียบร้อยแล้วและทำความสะอาดรวมถึงฆ่าเชื้อบริเวณเป็นเล็บขบเรียบร้อยแล้ว เริ่มขั้นตอน ตัดเล็บขบ ด้วยการตัดเนื้อบริเวณใกล้ ๆ บางส่วนออกก่อน จากนั้นเริ่มตัดเล็บบริเวณสีขาวออกก่อน โดยกะความยาวประมาณ 1-2 มิลลิเมตร รวมถึงอย่าลืมตัดเล็บในส่วนเกินที่ไม่รู้เจ็บและไม่ใช่เล็บขบออกบางส่วน ซึ่งเน้นเฉพาะในส่วนที่มีโอกาสอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดการอักเสบ รวมถึงมีโอกาสติดเชื้อจากสิ่งสกปรกหรือเศษผงบริเวณเล็บ
5. เริ่มตัดเล็บจริง ๆ อย่าลืมสำลี
มาถึงขั้นตอนการตัดเล็บอย่างจริงจังสำหรับขั้นตอนการ ตัดเล็บขบ ลำดับต่อมาคือเริ่มใช้สำลีก้อนเล็ก ๆ สอดเข้าใต้เล็บที่ต้องการตัด จากนั้นค่อย ๆ ตัดปลายเล็บที่เป็นเล็บขบออก
6. ทำความสะอาดเล็บ
จากนั้นเริ่มทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอล์หรือน้ำยาล้างแผลหรือใช้ทำความสะอาดหลังจาก ตัดเล็บขบ เรียบร้อยแล้วอีกครั้ง จากนั้นให้ทายาแก้อักเสบลงไปในบริเวณที่เป็นเล็บขบ เพื่อป้องกันอาการอักเสบ นอกจากนั้นอย่าลืมป้องกันทานยาแก้ปวดเพื่อป้องกันอาการปวด หลังจากตัดเล็บเรียบร้อยแล้ว
✅ การดูแลรักษาเล็บป้องกันโรคเล็บขบได้ดี
ทั้งนี้นอกจาก ตัดเล็บขบ จะเป็นการแก้ปัญหาเล็บขบได้แล้ว แต่วิธีการที่ดีที่สุดคือ การดูแลรักษาเล็บ ให้สะอาดและหมั่นตรวจตราเล็บเท้าบ่อย ๆ เพื่อป้องกันโอกาสเกิดปัญหาเล็บขบขึ้นมา เพราะการป้องกันจะเป็นวิธีที่จะทำให้เราห่างไกลจากเรื่องเล็บขบได้ดีที่สุด แถมยังไม่ต้องเสียเวลาและทนเจ็บในช่วงที่ต้องตัดเล็บอีกด้วย เพราะคนที่เคยเป็นต่างรู้ดีว่าเมื่อเกิดปัญหาเล็บขบจะต้องเจอกับความเจ็บปวดระดับไหน
การดูเเลเเละใส่ใจเล็บก็จะช่วยเสริมสร้างความมั่นใจให้กับเราได้ เเอดก็ได้เเชร์วิธีการดูเเลรักษา
ขอบคุณที่รับชมคะ